ผ้ายันต์ผืนนี้เป็นผ้ายันต์อิ่นม้าหรือม้าเสพนาง เขียนบนผ้าเช็ดหน้า เป็นของอาจารย์พรหมฤทธิ์ อ.ปัว จ.น่าน สมัยเมื่อ5-6ปีก่อน ตอนที่ท่านสึกออกมาใหม่ๆ ได้ลองวิชาสายเมตตา สายเสน่ห์ โดยได้เขียนผ้ายันต์อิ่นม้าให้กับทางร้านไปใช้ ตอนที่ท่านยังเป็นพระอยู่นั้น ท่านเน้นไปทางข่ามคง ไล่ผีสางนางไม้ จะมาทางเสน่ห์ก็จะดูไม่เหมาะ เมื่อท่านมานุ่งขาวห่มขาวจึงทำสายเสน่ห์ได้เต็มที่
ประวัติคร่าวๆ
โดยอาจารย์พรมฤทธิ์ท่านได้บวชเรียนตั้งแต่เป็นสามเณร ซึ่งในยุคนั้นที่บวชเรียนด้วยกันที่ดังๆในปัจจุบันคือครูบาน้อย วัดถ้ำเชตวัน อ.นาน้อย จ.น่าน (ปัจจุบันมรณะภาพ) ทั้งสองได้ศึกษาบาลีด้วยกัน และต่อมาครูบาน้อยท่านใฝ่ไปทางธรรมด้านวิปัสสนากรรมฐาน ส่วนอาจารย์พรหมฤทธิ์อยากศึกษาคาถาอาคมของล้านนา ว่ามีอยู่จริงหรือไม่ ท่านจึงได้เริ่มศึกษาวิชาอาคมตั้งแต่นั้นมา โดยท่านได้เรียนภาษาล้านนา ภาษาขอม ภาษาเงี้ยว(ไทใหญ่หรือไตใหญ่) พม่าบางส่วน เพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาวิชาอาคมสายต่างๆ ที่ต้องใช้ภาษานั้นๆ ในการศึกษาวิชาอาคมนั้น ท่านได้เดินทางไปเรียนหลายๆที่ ของล้านนา ทางภาคอีสานแถบๆติดเขมร ภาคกลางและใต้ ไทใหญ่ พม่า โดยเรียนจากพระและฆราวาส เพื่อให้รู้หลายๆด้าน การไปขอเรียนวิชาแต่ละที่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆเพราะอยู่ๆเราจะขอเรียน แล้วอาจารย์จะสอนให้เลยไม่มีทางเป็นไปได้ ต้องอดทนอยู่รับใช้ปรนนิบัตรจึงจะได้เรียน เมื่อท่านเรียนจากสำนักต่างๆที่กล่าวมาอยู่สิบกว่าปี จนท่านพอจะมีวิชาอาคมอยู่บ้าง ท่านจึงได้เริ่มทดลองวิชาที่เรียนมาโดยสร้างพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง ต่อมาท่านเริ่มมีชื่อเสียง ทำให้เริ่มมีลูกศิษย์ลูกหามากขึ้น และมาขอให้ท่านสักยันต์ให้ เมื่อท่านได้สักยันต์ให้กับลูกศิษย์ ผู้คนเริ่มรู้จักจึงมาขอสักยันต์ที่วัดมากขึ้น ทำให้วัดเกิดความวุ่นวายเพราะบางครั้งมีผู้หญิงมาขอสัก แต่ท่านเป็นพระสักให้ไม่ได้ ทำให้ชาวบ้านมองในทางไม่ดี และท่านได้สร้างวัดวาอารามที่ท่านจำพรรษาอยู่จนเรียบร้อย ท่านจึงได้ลาสิกขามานุ่งขาวห่มขาว ถือศีลและเปิดสำนักสักยันต์ขึ้น ช่วงที่ท่านนุ่งขาวห่มขาวก็ยังได้ไปเรียนวิชาเพิ่มเติมจากสมัยที่บวชเป็นพระ เนื่องจากว่าบางวิชาพระเรียนไม่ได้ ท่านจึงถือโอกาสไปเรียนเพิ่มเติม และช่วงเป็นพระท่านบอกว่า การเดินทางไปเรียนวิชาอาคมต่างๆค่อนข้างลำบากในการวางตัวเพราะเป็นพระทำอะไรก็ลำบาก เมื่อลาสิกขามาแล้วไปเรียนวิชาเพิ่มเติมได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ทางร้านจึงได้ให้ท่านเขียนยันต์บนผ้าเช็ดหน้าขึ้น การเขียนยันต์บนผ้าหรือวัสดุต่างๆ ท่านเป็นคนที่จดจำเลขยันต์คาถาได้ดี เวลาท่านเขียนจะไม่มีการมาเปิดตำราดูยันต์ทีละตัว ท่านจะจำเลขยันต์ที่จะเขียนทั้งหมดแล้วตั้งจิตเขียนทีเดียวเสร็จ ซึ่งเป็นวิธีการที่ถูกต้อง
ภาพแรกและภาพที่สอง เป็นผ้ายันต์อิ่นม้าลงสีสวยงามที่ท่านเขียนให้ โดยเป็นตัวหนังสือล้านนาแต่ว่าลายเส้นเหมือนตัวขอม
ภาพที่สาม สมัยท่านยังบวชอยู่ และได้ไปปลุกเสกเหรียญครูบาน้อยรุ่น1 (ซึ่งเหรียญรุ่นแรกครูบาน้อยที่สร้างครั้งที่1 มีเพียงพระ4รูปในภาพเท่านั้นที่ปลุกเสก
|