พระกริ่งไฟดับหลวงพ่อทบ วัดตาล พิมพ์ใหญ่ ปี 2516 เนื้อทองผสม จ.เพชรบูรณ์ สุดยอดหายาก สร้างเพียง 1200 องค์ ยาขัดเดิมๆสวยเดิมๆ ***มาพร้อมบัตรรับรอง*** ท่านใดสนใจเชิญสอบาถามได้
สภาพสวย หายาก สุดยอดพิธี สร้างน้อย พระกริ่งหลวงพ่อทบ ออกวัดตาล ( องค์นี้พิมพ์ใหญ่ ) สภาพหูตากระพริบ พระเทหล่อได้สวยคมทุกรายระเอียด เนื้อหาจัดจ้าน ผิวหิ้งเดิมๆ เก่าเก็บ แท้ตาเปล่า สวยมากระดับประกวด ( ขนาดของกริ่งรุ่นนี้องค์จริง อยู่องค์ประมาณเท่ากับพระกริ่งรุ่นไตรมาส และกริ่งเพชรกล็บ หรือเทียบเท่ากับชินราชอินโดจีน ) พระกริ่งรุ่นนี้หลวงพ่อทบ วัดชนแดน เป็นเจ้าพิธี และมีเกจิดังๆยุคเก่าๆ เข้าร่วมประเสกอีกมากมายหลายท่าน พระกริ่งหลวงพ่อทบ รุ่นที่ออกวัดโบสถ์โพธิ์ทอง ราคาอยู่หลักแสนทุกรุ่น สำหรับกริ่งรุ่นนี้ราคายังไม่แรงถูกกว่าพระกริ่งรุ่นอื่นๆกันหลายเท่าตัว แต่ถ้าเน้นพุทธคุณราคาเบาๆ เป็นอีกทางเลือก ที่หน้าเก็บหน้าใช้มากๆครับสำหรับพระกริ่งรุ่นนี้
พระกริ่งรุ่นนี้หลวงพ่อทบ วัดชนแดน เป็นเจ้าพิธี และมีเกจิดังๆยุคเก่าๆ เข้าร่วมประเสกอีกมากมายหลายท่าน พระกริ่งหลวงพ่อทบ รุ่นที่ออกวัดโบสถ์โพธิ์ทอง ราคาอยู่หลักแสนทุกรุ่น สำหรับกริ่งรุ่นนี้ราคายังไม่แรงถูกกว่าพระกริ่งรุ่นอื่นๆกันหลายเท่าตัว แต่ถ้าเน้นพุทธคุณราคาเบาๆ เป็นอีกทางเลือก ที่หน้าเก็บหน้าใช้มากๆครับ สำหรับพระกริ่งรุ่นนี้ ที่สำคัญกริ่งรุ่นนี้มีประสพการณ์มาแล้วมากมาย ประวัติความเป็นมา การสร้างพระกริ่งรุ่นนี้ครับ ปี2516 พิมพ์ใหญ่ หลวงพ่อทบ วัดชนแดน ปลุกเษก สร้างและเททองกันที่วัด เมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ.2516 มีมวลสารศักดิ์สิทธิ์ และโลหะเก่ามากมาย อาทิเช่นเหรียญเก่าและวัตถุมงคลที่เป็นโลหะ ของเกจิทุกอาจารย์ที่มาเข่าร่วมปลุกเสก และมีเกจิอาจารย์มาร่วมพุทธาภิเษก จำนวน 16 องค์ เช่น หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง,หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม,หลวงพ่อเปรื่อง วัดบางคลาน,หลวงพ่อทบวัดช้างเผือก,หลวงพ่อกวยฯลฯ(…รายนามพระเกจิเพิ่มเติม 1. หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง 2. หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม . 3 หลวงพ่อทบ วัดช้างเผือก 4. หลวงพ่อพริ่งวัดโบสถ์ ลพบุรี 5. หลวงพ่อถม วัดธรรมปัญญาราม 6. หลวงพ่อไซ่ วัดจูงนาง พิษณุโลก 7. หลวงพ่อละมัย วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ 8. หลวงพ่อเปรื่องวัดบางคลาน 9. หลวงปู่จันทร์ วัดลานเขื่อน อุบลราชธารี 10. หลวงพ่อทองรักษ์ วัดพระธาตุพนม นครพนม 11. หลวงพ่อชัย วัดพระธาตุสามหมื่น จังหวัดชัยภูมิ )พิธียิ่งใหญ่มาก พระกริ่งพิมพ์ใหญ่ สร้างจำนวน 1200 องค์ พิมพ์เล็กสร้าง 2516 องค์เท่าพ.ศ.ครับ ส่วนที่ได้ชื่อว่า “กริ่งไฟดับ” นั้น น่าจะมาจากคำพูด ของหลวงพ่อ ที่พูดว่า “เออ! มึงคอยดู กูจะดับไฟไปสัก 3 ที” เท่านั้นแหละ พอพิธีพุทธาภิเษก ผ่านไปได้ประมาณ 5 นาที เท่านั้น ไฟฟ้าในพระอุโบสถที่ใช้จัดงานในครั้งนั้น ก็ดับวูบลง โดยไฟฟ้าดับเฉพาะภายในพระอุโบสถเท่านั้น ในบริเวณวัดส่วนอื่นๆตลอดจนนอกเขตวัดออกมาถึงบ้านของชาวบ้านรอบๆวัดกลับไม่ดับ ไฟดับได้สักครู่หนึ่ง จึงติดขึ้น ไฟดับครั้งที่2 และครั้งที่ 3 จะไม่ดับในทันทีทันใดเหมือนครั้งแรก คือ ไฟฟ้าค่อยๆหรี่ลงๆ แล้วจึงดับ พอถึงคราวที่ไฟฟ้าจะติดก็ค่อยๆ สว่างขึ้นๆ ทีละน้อย ไฟฟ้าดับและสว่างทั้งหมด ถึง 3 ครั้ง ช่างสมกับวาจาของท่าน ที่ได้กล่าวไว้ ก่อน พิธีพุทธาภิเษกเสียจริง ชาวบ้านจึงเรียกพระกริ่งรุ่นนี้ ว่า “กริ่งไฟดับ”
|