พระล้านนาดอทคอม แหล่งรวมพระเครื่องเมืองเหนือ

#17380เหรียญพระพุทธยอดฟ้าฯ วัดพระเชตุพน


#17380เหรียญพระพุทธยอดฟ้าฯ วัดพระเชตุพน

ใหม่ กลับหน้าร้าน
ชื่อพระ :
 #17380เหรียญพระพุทธยอดฟ้าฯ วัดพระเชตุพน
รายละเอียด :
 

#17380 เหรียญพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ รัชกาลที่ 1 วัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์) ปี 2510 พิธีเดียวกับพระกริ่งพระพุทธยอดฟ้าฯ หลวงปู่โต๊ะ หลวงพ่อเต๋ หลวงพ่อมุ่ย หลวงปู่ธูป ฯลฯ ปลุกเสก

พิธีเดียวกันกับพระกริ่งพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกวัดเชตุพน ปี 2510
ในปี พ.ศ.2508-2509 เจ้าอาวาสวัดเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือ วัดโพธิ์ท่าเตียน ในขณะนั้น คือ “สมเด็จพระวันรัต” ซึ่งต่อมาได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็น “สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชฯ” (ปุ่น ปุณณสิริมหาเถร) ก็ทรงรับรู้ปัญหาและความจำเป็นในการหาทุนมาสนับสนุนการบูรณะพระอารามอันดับหนึ่งของประเทศ จึงทรงมีพระดำริจัดตั้ง “มูลนิธิ” ขึ้นเพื่อนำดอกผลมาเป็นค่าใช้จ่ายในการบูรณะพระอารามต่อไป จึงดำเนินการขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต โดยความช่วยเหลือของ “พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าธานีนิวัต กรมหมื่นพิทยลาภพฤติยากร” ประธานองคมนตรีในขณะนั้น นำความขึ้นบังคมกราบทูลเกล้าถึงความจำเป็นซึ่ง “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช” ก็ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตและพราชทานนามมูลนิธิว่า “มูลนิธิพระพุทธยอดฟ้า” พร้อมทั้งรับไว้ในพระบรมราชูปถัมถ์อีกด้วย

“สมเด็จพระวันรัต” จึงจัดประชุมกรรมการหลายฝ่ายถึงเรื่องระดมทุนมาจัดตั้งเป็น “กองทุนมูลนิธิ” ผลการประชุมมีมติให้จัดงาน “ทอดผ้าป่ามหากุศล 84,000 องค์” พร้อมทั้งมีการจัดทำ “ของที่ระลึก” สมนาคุณแก่ผู้บริจาคเพราะจะทำให้ให้มีรายได้เข้ากองทุนมากขึ้น โดยสร้างเป็นวัตถุมงคลคือ “พระกริ่ง” และ “เหรียญ”

สำหรับ “พระกริ่ง” ที่ประชุมยังมีมติอีกว่า ควรจัดสร้างด้วย “เนื้อทองคำ” น้ำหนักไม่น้อยกว่า 2 บาท สำหรับสมนาคุณผู้บริจาคตั้งแต่ “5,000 บาท (ห้าพันบาท)” ขึ้นไป และควรสร้างจำนวนจำกัดคือ “1,250 องค์” อันเป็นจำนวนเท่ากับ “พระวิสุทธิสงฆ์” องค์อรหันต์ที่มาประชุมพร้อมกันเป็นมหาสันนิบาตในวันมาฆปุรณมีเพ็ญเดือนสาม ซึ่งเรียกว่า “วันจาตุรงคสันนิบาต” โดยขอบารมีธรรม ของพระอรหันต์เหล่านั้นมารวมไว้ที่ “พระกริ่ง” อันเป็น ปฏิมาของ “พระพุทธเจ้า” โดยตกลงกันว่าควรถวายพระนามว่า “พระกริ่งพระพุทธยอดฟ้า” ด้วยมูลเหตุที่มูลนิธินี้ได้รับพระราชทานนามว่า “มูลนิธิทุนพระพุทธยอดฟ้า” ดังนั้นเพื่อให้สมกับพระนามจึงสร้างด้วย “เนื้อทองคำ” เพียงเนื้อเดียว

ครั้นตกลงกันเป็นมติเอกฉันท์จึงจัดหาทองคำนำมารีดเป็นแผ่นบาง “108 แผ่น” สำหรับลงอักขระ “ยันต์ 108” และอีก “14 แผ่น” สำหรับลงอักขระ “นะปถมัง 14 นะ” ตามตำราของ “สมเด็จพระพนรัตน์วัดป่าแก้วกรุงเก่า” ที่ตกทอดมายัง “สมเด็จพระพนรัตน์” ปฐมอธิบดีสงฆ์องค์แรกของ “วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม” ผู้เป็นพระอาจารย์เจ้าใน “สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตโนรส” และมีการคัดลอกลงในสมุดไทยดำแล้วตกทอดไปยัง “วัดบวรนิเวศวิหาร วัดจักรวรรดิราชาวาส วัดสุทัศน์เทพวรารามและวัดเทพธิดาราม” เป็นต้น และหลังจาก “แผ่นทองคำ” ทั้งหมดทำการลงอักขระยันต์แล้วจึงนำมารวมกับทองคำอื่น ๆ ที่มีประชาชนร่วมบริจาคเพื่อหล่อพระไว้ในพระอุโบสถที่มีการจุดตั้ง “พระวัตรฉัตรธง” โดยมีพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ ตลอดเวลา 3 เดือน แห่ง “ปุริมเข้าพรรษา” ซึ่งท่านเจ้าคุณ “พระเทพวรมุนี” (ฟุ้ง ปุณณโก) เป็นหัวหน้าในการนำสวดพระพุทธมนต์บทต่าง ๆ อาทิ “ชินบัญชรคาถา ธรรมจักรกัปปวัตตนสูตร โพชฌงค์ปริตร เจ็ดตำนาน มงคลจักรวาล ฯลฯ”

จนกระทั้งถึงวันอาทิตย์ แรม 8 คำ เดือน 11 ซึ่งตรงกับ วันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ.2509 อันเป็นวันที่ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช” เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพระราชพิธีพระราชทานถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามเป็นโบราณราชประเพณีทุกปี ซึ่งวันนั้นได้เสด็จฯเป็น “วัดที่ 3” (วัดแรกคือวัดมกุฎฯ) ซึ่งในบันทึกพระนิพนธ์เรื่อง “มูลนิธิทุนพระทุทธยอดฟ้าในพระบรมราชูปถัมถ์” ของ “สมเด็จพระสังฆราช” (ปุ่น ปุณฺณสิริมหาเถร) ได้บันทึกความสำคัญในวันที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯเสด็จฯทรงประกบพิธีเททองหล่อพระกริ่งพระพุทธยอดฟ้าไว้ดังนี้

วันนี้เป็นวันที่ทรงเครื่องยศใหญ่ เสนามาตย์ราชบริพารแต่งตัวเต็มยกทุกคนที่มารับเสด็จฯ และจะหาวันไหนเป็นโอกาสสอนเป็นมงคลยิ่งเสมอวันนี้ยากนัก เพราะวันแรม 8 ค่ำเป็นวันอาทิตย์นั้น ได้รับความนิยมว่าเป็นมหามงคลยิ่งใหญ่ จะหาวันที่เป็นมิ่งมงคลเช่นนี้ไม่ง่ายนักในขวบปีหนึ่ง โบราณ จึงเขียนไว้เป็นแบบว่า

“จันทร์ตรีศรีสิทธิเก้า ภุมเมทร์
พุธทวัชอัฏฐสุรเยนทร์ เลศลัน
พฤหัสบดิ์จตุรเกณท์ ศุกร์ค่ำ หนึ่งนา
เสาร์ห้าสถาพรพัน โชคใช้ได้เสมอ”

((( รายนามพระอาจารย์ปลุกเสก..เหรียญพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก....๕-๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๐ )))

สมเด็จพระสังฆราช (ป๋า) เป็นองค์ประธาณ
พระครูอาคมสุนทร วัดสุทัศน์ กทม.
พระครูสุนทรสมาธิวัตร วัดสุทัศน์ กทม.
พระครูญาณาภิรัต วัดสุทัศน์ กทม.
พระครูพิบูลย์บรรณวัตร วัดสุทัศน์ กทม.
พระครูสุนทรศีลาจารย์ วัดสุทัศน์ กทม.
พระครูพิศาลสรกิจ วัดสุทัศน์ กทม.
พระมหาสวน วัดสุทัศน์ กทม.
พระมหาอำนวย วัดสุทัศน์ กทม.
พระปลัดสุพจน์ วัดสุทัศน์ กทม.
พระครูวิสิษฐ์วิหารการ วัดชนะสงคราม กทม.
พระสุธรรมธีรคุณ (วงษ์) วัดสระเกศ กทม.
พระอาจารย์สา วัดราชนัดดาราม กทม.
พระปลัดแพง วัดมหาธาตุ กทม.
พระวรเวทย์คุณาจารย์ วัดพระเชตุพน กทม.
พระครูฐาปนกิจประสาท วัดพระเชตุพน กทม.
พระอินทรสมาจารย์ วัดพระเชตุพน กทม.
พระครูวินัยธร (เฟื่อง) วัดสัมพันธวงศ์ กทม.
พระครูกัลญาณวิสุทธิ วัดดอนหวาย กทม.
พระอาจารย์พี วัดสวนพลู กทม.
พระหลวงวิจิตร วัดสะพานสูง กทม.
พระอาจารย์หุ่น วัดบางขวด กทม.
พระราชโมลี (นาค) วัดระฆัง กทม.
พระครูโสภณกัลญานุวัตร (เส่ง) วัดกัลญาณมิตร กทม.
พระครูภาวนาภิรัต (ผล) วัดหนัง กทม.
พระครูไพโรจน์วุฒิคุณ (ไพฑูรย์) วัดโพธินิมิตร กทม.
พระครูญาณสิทธิ์ วัดราชสิทธาราม กทม.
พระอาจารย์มา วัดราชสิทธาราม กทม.
พระอาจารย์หวน วัดพิกุล กทม.
พระมหาธีรวัฒน์ วัดปากน้ำ กทม.
พระอาจารย์จ้าย วัดปากน้ำ กทม.
พระอาจารย์อินทร์ วัดปากน้ำ กทม.
พระครูกิจจาภิรมย์ วัดอรุณราชวราราม กทม.
พระครูวินัยสังวร วัดประยุรวงศาวาส กทม.
พระสุขุมธรรมาจารย์ วัดหงษ์รัตนาราม กทม.
พระครูพรหมวินิต วัดหงษ์รัตนาราม กทม.
พระอาจารย์อิน วัดสุวรรณอุบาสิการ กทม.
พระครูวิริยกิจ (โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี กทม.
พระปรีชานนทมุนี (ช่วง) วัดโมลี นนทบุรี
พระครูปลัดแฉ่ง (หลวงพ่อแฉ่ง) วัดศรีรัตนาราม นนทบุรี
พระปลัดยัง (หลวงพ่อยัง) วัดบางจาก นนทบุรี
พระอาจารย์สมจิต วัดป่ากะเหรี่ยง ราชบุรี
พระอาจารย์แทน วัดธรรมเสน ราชบุรี,
พระครูบิน วัดแก้ว ราชบุรี
พระอินท์เขมาจารย์ วัดช่องลม ราชบุรี
พระธรรมวาทีคณาจารย์ (เงิน) วัดดอนยายหอม นครปฐม
พระครูสังฆวิชัย วัดพระปฐมเจดีย์ นครปฐม
.พระอาจารย์สำเนียง วัดเวฬุวัน นครปฐม
พระอาจารย์เต๋ วัดสามง่าม นครปฐม
พระอาจารย์แปลก วัดสระบัว ปทุมธานี
พระครูปลัดทุ่ง วัดเทียนถวาย ปทุมธานี
พระครูโสภณสมาจารย์ (เหรียญ) วัดหนองบัว กาญจนบุรี
พระมุจลินท์โมฬี (ดำ) วัดมุจลินท์ ปัตตานี
พระครูรอด วัดประดู่ นครศรีธรรมราช
พระครูวิศิษฐ์อรรถการ (คล้าย) วัดสวนขัน นครศรีธรรมราช
พระอาจารย์บุตร วัดใหม่บางปลากด สมุทรปราการ
พระอาจารย์แสวง วัดกลางสวน สมุทรปราการ
พระครูศิริสรคุณ (แดง) วัดท้ายหาด สมุทรสงคราม
พระครูสมุทรสุนทร วัดพวงมาลัย สมุทรสงคราม
พระอาจารย์อ๊วง วัดบางคณที สมุทรสงคราม
พระครูลักขิตวันมุนี (ถิร) วัดป่าเลไลยก์ สุพรรณบุรี
พระอาจารย์แต้ม วัดพระลอย สุพรรณบุรี
พระครูสัมฤทธิ์ วัดอู่ทอง สุพรรณบุรี
พระครูธรรมาวุฒิคุณ วัดเสม็ด ชลบุรี
พระครูธรรมธร (หลาย) วัดราษฎร์บำรุง ชลบุรี
พระอาจารย์บุญมี วัดโพธิ์สัมพันธ์ ชลบุรี
พระพรหมนคราจารย์ วัดแจ้งพรหมนคร สิงห์บุรี
พระครูศรีพรหมโศภิต (แพ) วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี
พระชัยนาทมุนี วัดบรมธาตุ ชัยนาท
พระอาจารย์เมือง วัดท่าแพ ลำปาง
พระครูอุทัยธรรมธารี วัดท้าวอู่ทอง ปราจีนบุรี
พระครูวิมลศีลาจารย์ วัดศรีประจันตคาม ปราจีนบุรี
พระครูสุนทรธรรมประกาศ วัดโพธิ์ปากพลี นครนายก
พระครูบาวัง วัดบ้านเด่น ตาก
พระครูสวรรควิริยกิจ วัดสวรรคนิเวศ แพร่
พระครูศีลกิติคุณ (อั้น) วัดพระญาติการาม อยุธยา
พระอาจารย์แจ่ม วัดวังแดงเหนือ อยุธยา
พระครูเล็ก วัดบางนมโค อยุธยา
พระอาจารย์มี วัดอินทราราม อยุธยา
พระอาจารย์หวาน วัดดอกไม้ อยุธยา
พระอาจารย์หน่าย วัดบ้านแจ้ง อยุธยา
พระครูประสาทวิทยาคม (นอ) วัดกลางท่าเรือ อยุธยา
พระอธิการเจาะ วัดประตูโลกเชษฐ์ อยุธยา
พระอาจารย์ศรี วัดสระแก อยุธยา
พระสุวรรณมุนี วัดมหาธาตุ เพชรบุรี
พระครูพิบูลย์ศีลาจารย์ วัดโพธิ์กรุ เพชรบุรี
พระครูทบ(หลวงพ่อทบ) วัดสว่างอรุณ เพชรบูรณ์
พระสวรรควรนายก วัดสวรรคาราม สุโขทัย
พระโบราณวัตถาจารย์ วัดราชธานี สุโขทัย
พระครูบี้ วัดกิ่งลานหอย สุโขทัย
พระครูวิบูลย์สมุทรกิจ วัดเสด็จ สมุทรสงคราม

ราคา 1000 บาท

ราคา :
 
โทรศัพท์ :
 0815688498, 0815688498
วันที่ :
 29/05/24 16:20:48
 
 
#17380เหรียญพระพุทธยอดฟ้าฯ วัดพระเชตุพน พระล้านนา.คอม เว็บ พระเครื่อง พระบูชา อันดับหนึ่ง ของภาคเหนือ ออกแบบเว็บไซต์โดย 2WinWeb design บริการรับทำเว็บไซต์
Copyright Pralanna.com All right reserved. © สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดย บริษัท พระล้านนาดอทคอม จำกัด.