เนื้อเงิน ที่สุดของความหายาก เลขสวยด้วย
เหรียญรุ่นแรกครูบาแก้ว เนื้อเงิน พิมพ์ครึ่งองค์ ปี 2518 วัดดอยโมคคลาน อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ เนื้อเงินสร้างน้อยมากหายากมาก ตอกโค๊ตและหมายเลขกำกับ เหรียญนี้หมายเลข 18 มาพร้อมเลี้ยมเงินงานมือชุปบทองพร้อมใช้ ครูบาแก้วท่านเป็นสหธรรมมิก หลวงปู่ตื่อ และ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ เหรียญจริงผิวกระจก สวยใส สวยแชมป์ แบ่งปันกันเบาๆ เน้นไว ทัก โทร 0979204119/ID Line 0979204119
หลวงปู่ครูบาแก้ว สุทโธ แห่งวัดดอยโมคคัลลาน์ ท่านเป็นหนึ่งในอริยสงฆ์แดนล้านนาที่มีฤทธิ์แก่กล้า เสียดายแต่คนรุ่นหลังหาคนรู้จักไม่มี หาคนสืบทอดเรื่องราวและประวัติของท่านไม่มี ย้อนไปสมัยก่อนหลวงปู่แก้วกับหลวงปู่แหวนได้เดินธุดงค์มาด้วยกันและมาพักปักกลดอยู่วัดบนยอดดอยโมคคัลลาน์ หลวงปู่แก้วเลยตัดสินใจอยู่พักสร้างวัดที่นี่ โดยหลวงปู่แหวนได้เดินธุดงค์ต่อไปคนเดียว วัดดอยโมคคัลลาน์อยู่ใกล้แม่น้ำปิง มีเหล่าพญานาคอาศัยอยู่มาก ครั้นต่อมาเมื่อหลวงปู่มาพำนักที่นี่ก็มักออกมาหาหลวงปู่แก้วบ่อยๆ โดยเลื้อยจากแม่น้ำปิงขึ้นไปสู่ยอดดอย ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้มีชาวบ้านในอดีตเห็นกันมานักต่อนัก โดยพญานาคนั้นชอบนั่งตักหลวงปู่ เพื่อให้หลวงปู่ป้อนกล้วยให้กิน นอกจากพญานาคแม่น้ำปิงแล้ว พญนาคาแห่งบ่อน้ำดอยเต่าก็ชอบมาหาหลวงปู่เช่นกัน โดยบ่อน้ำดอยเต่าในอดีตนั้นเป็นบ่อลึกลับ เหล่านาคชอบออกมาเล่นน้ำ ทำให้ผู้คนสมัยนั้นหวาดกลัวกันยิ่งนัก หลวงปู่แก้วมีความผูกพันธ์กับพญานาคมาก โดยครั้งหนึ่งมีรถขับผ่านเส้นทางจอมทอง – ฮอด เกิดไปทับพญานาคตนหนึ่งเข้า ทำให้ได้รับบาดเจ็บ ทุกข์เวทนายิ่งนัก ครั้นเมื่อได้สติก็เลื้อยขึ้นไปหาหลวงปู่แก้ว ซึ่งท่านก็ได้เมตตาเป่ามนต์รักษาให้นาคตนนั้นหายเป็นปรกติ เป็นต้น หลวงปู่แก้วนอกจากจะเป็นที่พึ่งให้กับญาติโยมแถวจอมทอง ฮอด เหล่าลูกศิษย์จากทุกสารทิศ ข้าราชการโดยเฉพาะทหารอากาศแล้ว ยังเป็นที่พึ่งให้เหล่าพญานาคอีกด้วย สำหรับพระเครื่องหรือเครื่องรางของขลังนั้นหลวงปู่สร้างไว้ไม่มาก ซึ่งจะมีแค่เหรียญไม่กี่รุ่น รูปถ่ายไม่กี่รุ่น ซึ่งปัจจุบันหาชมได้ยากยิ่ง พระเครื่องของหลวงปู่นั้นเหล่าทหารอากาศได้เคยนำไปทดลองใช้ มีครั้งหนึ่งเฮลิคอปเตอร์ระเบิดไปทั้งลำ ทหารที่อยู่ในนั้นไม่เป็นอะไรเพราะห้อยเหรียญหลวงปู่แก้ว
วัดโมคคัลลาน สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2475 โดยหลวงปู่แก้ว สุทโธ ได้ธุดงค์ผ่านมาและได้ตั้งสัจจะอธิษฐานขอสร้างพระธาตุขึ้นบนดอยโมคคัลลาน โดยได้แรงศรัทธาจากชาวบ้านร่วมกันสร้างจนสำเร็จและตั้งชื่อว่า พระธาตุดอยโมคคัลลาน แม้องค์พระธาตุจะตั้งอยู่บนดอยโมคคัลลาน แต่จุดสูงสุดของดอยแห่งนี้เป็นที่ตั้งของ อุทยานพุทธสถานสุทธิจิตต์ อันเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธมงคลประทานพร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางไสยาสน์ หรือองค์พระนอนที่ใหญ่ที่สุดของภาคเหนือ
ดอยโมคคัลลาน มีประวัติอันยาวนานจนไม่มีใครคนใดเกิดทัน แต่มีการค้นพบจารึกข้อความเกี่ยวกับดอยโมคคัลลาน อันมีเรื่องราวย้อนกลับไปในสมัยพุทธกาล เมื่อสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้ายังเสด็จออกโปรดเหล่าเวไนยสัตว์อยู่ในชมพูทวีป พร้อมด้วยพระอรหันตสาวกทั้งหลายที่ร่วมกันเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้ขจรขจาย คราวหนึ่งพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรวจตราหมู่สัตว์ผู้เข้ามาข้องเกี่ยวอยู่ในพุทธญาณตามพุทธประเพณี พระผู้มีพระภาคเจ้าทอดทัศนาเห็น “พญาอังครัฏฐะ” เจ้าผู้ครองนครอังครัฏฐะ (อำเภอจอมทอง) เป็นผู้ประกอบไปด้วยศรัทธาเลื่อมใสในบวรพุทธศาสนา บัดนี้พญาอังครัฏฐะมีความประสงค์จะถวายมหาทานแด่พระบรมศาสดา พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสสั่งให้องค์อัครสาวกเบื้องซ้าย “พระมหาโมคคัลลานะเถรเจ้า” กับพระอรหันต์อีก 4 รูป เหาะมาสู่นครอังครัฏฐะ เพื่ออนุเคราะห์แก่พญาอังครัฏฐะผู้มีศรัทธาแรงกล้า เมื่อพระเอกอัครสาวกเบื้องซ้าย พระมหาโมคคัลลานะเถรเจ้า พร้อมด้วยพระอรหันต์อีก 4 รูป มาถึงดอยแห่งนี้ อยู่ในอาณาเขตของนครอังครัฏฐะ จึงสำแดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ให้เป็นที่ประจักษ์ โดยก้าวลงมาจากอากาศเบื้องบน สู่พระบรมมหาราชวังของพญาผู้เป็นใหญ่ ณ นครแห่งนี้
เรื่องราวในสมัยพุทธกาล มีการกล่าวถึงพระพุทธเจ้า ซึ่งมีการใช้คำและศัพท์ที่เข้าใจยาก ไม่คุ้นชินกับคนในยุคปัจจุบันทำให้รู้สึกติดขัดไม่ลื่นไหลในการอ่าน กลับมายุคใกล้ๆ นี้หน่อยดีกว่า ครั้งสมัยที่หลวงปู่แก้ว สุทโธ กล่าวกับเพื่อนสหธรรมิกทั้ง 2 รูป คือหลวงปู่แหวน สุจิณโณ กับหลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม ว่าจะจำพรรษา ณ ดอยโมคคัลลานแห่งนี้ หลวงปู่แหวน กับหลวงปู่ตื้อ จึงแยกไปจาริกธุดงค์สู่ป่าแห่งอื่น ส่วนหลวงปู่แก้วซึ่งพักจำพรรษาอยู่ที่ดอยนี้ ได้ใช้เวลาร่วม 10 ปี ในการก่อสร้างพระธาตุเจดีย์ขึ้นบนดอยโมคคัลลาน ซึ่งหากผู้มีบุญได้มีโอกาสมาเยือนจะต้องขึ้นไปสักการะองค์พระประจำวัน องค์พระธาตุ พระพุทธบาทจำลอง พระพรหม พระโมคคัลลาน รูปเหมือนพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง หลวงพ่อเกษม เขมโก ครูบาอภิชัย สมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี หลวงปู่ทวด และครูบาศรีวิชัย บนยอดดอย ณ อุทยานพุทธสถานสุทธิจิตต์ เป็นแม่นมั่น
|