ปรอทกรอ (หน่วยบะป่อยล้านนา) เนื้อสัมฤทธิ์ ของกรุขุดได้ สภาพเหลือ ๑ ฝา แกนในของ ปรอทกรอ อายุราวๆยุคเชียงแสน ๕๐๐-๖๐๐ ปี ตัวจริงเสียงจริง ทางล้านนาโบราณ มีความเชื่อว่าปรอทกรอคือสุดยอดเครื่องรางที่หายากหนึ่งซึ่งจะฝังตามเมืองหลวงเก่า หรือ วัดหลวงที่สำคัญของเมือง หนึ่งวัดหนึ่งเมืองจะมีลูกบ่าปล่อยฝังไว้เเค่เพียงลูกเดียว คนสมัยก่อนว่ากันว่าลูกปรอทกรอ จะนำความร่มเย็นเป็นสุขมาให้ และป้องกันสิ่งอัปมงคลทั้งปวง เตือนเมื่อมีภัยปรอทกรอ หากมีภัยลูกบ่าปล่อยจะสั่นเพื่อให้ผู้ที่บูชาทราบ เป็นยุทโธปกรณ์ใช้ในการทำสงครามสมัยโบราณ สร้างไว้ให้สำหรับผู้นำทับระดับนายกอง หรือหัวหมู่ เวลานอนจะเอาปรอทกรอวางไว้บนดินแล้วนอนเอาหูแนบปรอทกรอไว้ ข้าศึกขี่ม้าหรือช้างเข้ามาใกล้ ปรอทกรอจะสั่นได้ยินเสียง จะได้รู้ตัวก่อน และใช้ทางด้านมหานิยม ในสมัยก่อนนั้นมักจะฝังไว้ตามจุดสำคัญของเมืองเช่น กลางเมือง หรือ วัดสำคัญๆเมืองใหญ่หรือวัดหลวง เพื่อช่วยด้านมหานิยมให้คนติด อยู่รวมกันมากจนกลายเป็นเมืองใหญ่ หรือวัดใหญ่คนเข้ามาทำบุญกันเยอะๆ ซึ่งวัดในสมัยโบราณนั้น เป็นจุดศูนย์ร่วมทางด้านจิตใจของเมืองถือเป็นจุดที่สำคัญมาก ยังมีการฝังเอาไว้ใต้ต้นไม้ใหญ่เพื่อให้ผึ้งมาทำรังเพื่อเอาน้ำผึ้ง และยังมีการนำมาฝั่งใส่ตามตลาด ร้านค้าที่เปิดใหม่ ต่างๆ เพื่อด้านมหานิยมเรียกคน หรือลูกค้าเข้าร้าน ให้เป็นจุดศูนย์รวม และพกติดตัวเพื่อป้องกันอันตรายต่างๆ อีกด้วย ปรอทกรอสำหรับแม่ทับจะทำด้วยโลหะมีค่าหรือหุ้มด้วยทองคำ .ถือเป็นอีกหนึ่งเครื่องรางที่ตัวจริงนั้นหาได้ยากมากๆ ในปัจจุบัน ฯ