ชื่อพระคง...ไม่ได้หมายถึงคงกระพันชาตรีเท่านั้น ยังมีความหมายไปถึงความ “อยู่เย็นเป็นสุข” ด้วย ช่วงเวลาที่ต้องสงบจิตสงบใจใจอสู้ภัยโควิดนิมนต์พระคงมาแขวนคอสักระยะ เอา “คุณพระช่วย” เราคงผ่านช่วงเวลายากลำบากนี้ไปได้โดยไม่ยาก..! พระคง’ พบครั้งแรกที่วัดพระคงฤาษี จึงถูกขนานนามว่า พระคง พุทธลักษณะพระประธานประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชรอยู่บนฐานรัตนบัลลังค์ กับประกอบด้วยบัวลูกแก้วจำนวน ๑๘จุด (บน ๙ ล่าง ๙) มีใบโพธิ์ทั้งสิ้น๒๐ใบ มีทั้งชูก้านพริ้วสลวย เนื้อพระเป็นเนื้อดินเผาละเอียด บางองค์มีแร่ดอกมะขาม องค์พระจะมีสีอ่อนแต่ไม่เหมือนกัน อาทิ สีพิกุล สีขาว สีเขียว สีหม้อใหม่ ฯลฯ ดูจากภาพพระคง พระพักตร์กว้าง คางเหลี่ยม แสดงคุณสมบัติของความเข้มแข็ง ส่อว่าเป็นนักรบผู้มีพลัง องค์พระทุกส่วนสัดล่ำสันแข็งแรง กริยายังแข็งกระด้าง สังเกตจากข้อศอกที่หักศอกเฉียบพลัน เป็นที่มาของคำว่า “แข็งข้อ”ใบโพธิ์บุผนังข้างองค์พระตอนบน เรียงไว้งาม ไม่เว้นช่องว่างมากนัก เป็นการบอกให้รู้ว่าเป็นใบโพธ์ให้ร่มแก่ผู้ที่นั่งอยู่ใต้ต้นโพธิ์นั้น ฝีมือสร้างใบโพธิ์งามที่สุด เหมือนใบจริง กิ่งโพธิ์ก็ทำไว้อ่อนช้อยงดงาม กิ่งคดไปคดมาจนทำให้รู้สึกว่า ลมพัดจนใบโพธิ์สั่น อ่านอักษรภาพได้ความหมายว่า “เย็น” เมื่อลมพัดก็ย่อมมีความเย็นเป็นธรรมดา ฐานที่ประทับองค์พระ ช่างสร้างอย่างวิจิตรละเอียดลออ มีความหมายถึงรากฐานที่มั่นคงแข็งแรง รวมรายละเอียดในองค์พระคง อ่านความหมายได้ว่า “สมัยนั้นทหารเข้มแข็ง สามารถให้ความร่มเย็นเป็นสุข บ้านเมืองมั่นคงสุขสมบูรณ์ดี” ส่วนพุทธคุณ กล่าวกันเป็นเสียงเดียวกันว่า เป็นเลิศด้านป้องกันภยันตรายนานัปการ รวมทั้งเสน่ห์ทางเมตตามหานิยมสูง เช่นกัน
|