ผ้ายันต์ม้าเสพนางหรืออิ่นม้า(เมืองน่านเรียกม้าชมนาง) ถ้าเรียก"ม้าเสพนาง"คนทั่วไปรู้จัก ถ้า"อิ่นม้า"เป็นชื่อที่คนล้านนาเรียก ถ้า"ม้าชมนาง"หรือออกสำเนียงคำเมือง"ม้าจ๋มนาง"เป็นชื่อเฉพาะของคนเมืองน่านเรียก ผืนนี้สร้างจากผ้าปิดหน้าศพหรือคนสมัยก่อนเรียกผ้าปกหน้าศพ ผ้ายันต์ปิดหน้าศพที่นำมาทำเป็นเมตตานั้น คนปัจจุบันอาจมองดูเป็นเรื่องไร้สาระ เราจะพูดแบบนั้นไม่ได้เพราะบางสิ่งบางอย่างที่คนสมัยนั้นยุคนั้นที่สร้างที่ทำ เป็นความเชื่อและทัศนคติของคนยุคนั้น จะให้คนยุคนี้สมัยนี้มาตัดใจไม่ได้ว่าดีหรือไม่ ในทางกลับกันบางสิ่งบางอย่างของคนยุคนี้ จะเอาไปให้คนในยุคสมัยโน้นมาตัดสินว่าดีหรือไม่ดีก็ไม่ได้ เพราะยุคสมัยมันต่างกันความเชื่อความศรัทธา ทัศนคติของคนแต่ละยุคไม่เหมือนกัน ผ้ายันต์ปิดหน้าศพเมืองน่านนี้ มีแต่ดั้งเดิมมาแล้ว มักจะนำมาลงเป็นผ้ายันต์เมตตาต่างๆ ไม่ใช่ว่าผ้ายันต์เมตตาทุกผืนของน่านจะเป็นผ้าปิดหน้าศพหมด ต้องไปดูด้วยว่าครูบาสายไหนที่มีประวัติการสร้าง หรือบางผืนอาจจะเป็นผ้าปิดหน้าศพโดยไปให้ฆราวาสหรือครูบาอื่นๆที่ไม่ใช่สายตรงทำให้ก็ได้ ผ้ายันต์ปิดหน้าศพปัจจุบันหรือในอดีตไม่ได้ทำในเชิงพานิชย์ที่ทำออกมาหลายๆผืน แต่ทำไว้เฉพาะคนคือเมื่อญาติพี่น้องเสียชีวิตก็จะนำผ้ายันต์ปิดหน้าศพมาให้ครูบานั้นๆลงยันต์ให้ แล้วเก็บไว้ใช้หรือให้ลูกหลานเวลาไปค้าไปขาย ที่ทำเชิงพานิชย์ไม่มีเพราะว่าผ้ายันต์ปิดหน้าศพ 1ศพต่อ1ผืน ถ้าจะสร้างเชิงพานิชย์ท่านจะต้องไปหาผ้าปิดหน้าศพจำนวนที่ต้องการ ท่านต้องไปงานศพไปเอาจากศพ ถามว่าท่านไม่ใช่ญาติคนตาย ญาติคนตายจะอนุญาติให้ท่านเอาไปมั้ย คงไม่อนุญาติแน่นอน ถ้าทำ10ผืน20ผืน ท่านก็ต้องไปงานศพนั้น10ครั้ง20ครั้ง ทุกครั้งที่ไปใช่ว่าจะได้มาทุกศพ แล้วท่านจะเอาได้ยังงั้ย ดังนั้นผ้ายันต์ปิดหน้าศพจะเป็นผ้าปิดหน้าศพของญาติๆที่เขาเก็บมาทำกันเอง ในปัจจุบันการนำผ้าปิดหน้าศพมาทำผ้ายันต์เมตตานั้น จะไม่ค่อยเห็นเพราะทัศนคติความเชื่อเปลี่ยนไป หรือการได้มาของผ้าปิดหน้าศพถ้าไม่ใช่ญาติกันเอามายาก หรือถ้าเป็นของญาติเมื่อได้มาแล้วก็ไม่รู้จะไปให้ครูบาอาจารย์ที่ไหนทำให้ เพราะครูบาอาจารย์บางท่านไม่ได้เรียนสายนี้ก็ไม่สามารถทำให้ได้ หรือถ้าทำได้ก็ต้องมีค่าใช้จ่าย ค่าขันครู ค่าทำพิธีต่างๆ ผ้ายันต์ปิดหน้าศพ1ผืนต้องมีค่าใช้จ่ายต่างๆมากมาย ในเชิงพานิชย์ไม่คุ้มค่าแน่นอน ถ้าคุ้มค่าต้องสร้างหลายๆผืน แต่อย่างที่ทางร้านบอกไป ท่านจะสามารถหาผ้าปิดหน้าศพหลายๆผืนได้มั้ยซึ่งเป็นเรื่องยาก ดังนั้นเวลาทำมักทำไว้ใช้เอง ไว้ให้ลูกหลานไปใช้เท่านั้น ผ้ายันต์อิ่นม้าหรือม้าชมนางตามที่คนน่านสมัยก่อนเรียก ผืนนี้ทางร้านทำขึ้นเพื่ออนุรักษ์ความเชื่อของคนยุคก่อนและอยากรู้วิธีการสร้าง โดยใช้ผ้าปิดหน้าศพนำมาให้อาจารย์ที่นับถือ นั้นคืออาจารย์พรหมฤทธิ์เขียนและสร้างให้ ที่จริงแล้วถ้าไม่สนิทกันอาจารย์ไม่ทำให้ เหมือนปัจจุบันที่ยังมีหลายๆคนเก็บผ้าปิดหน้าศพญาติๆเอาไว้ แล้วอยากไปลงผ้ายันต์เมตตา ก็มาสอบถามทางร้าน ที่จริงแล้วหาคนทำเป็นจริงๆยาก ไม่รู้จะแนะนำไปที่ไหนเหมือนกัน อย่างอาจารย์พรหมฤทธิ์ก็ไม่อยากทำให้เพราะว่าอาจารย์ให้เหตุผลคือ ผ้าปิดหน้าศพเป็นของอาถรรพ์บางศพตายโหง ตายผิดธรรมชาติ ฉะนั้นอาถรรพ์มันแรง ถึงจะเป็นผ้าปิดหน้าศพญาติเราเอง แต่เมื่อคนตายไปแล้วอาถรรพ์พวกนี้ไม่รู้จักคำว่าญาติพี่น้อง ขนาดบางผืนที่อาถรรพ์แรงๆเมื่อได้มาแล้วนำกลับมาไว้ในบ้านยังเอาไว้ไม่ได้ ลูกเล็กเด็กแดงร้องไห้ ไก่นกกาแตกร้องบินหนี เวลามาทำต้องเอาผ้ามาสยบอาถรรพ์ทำพิธีข่มไว้ก่อน ไม่ใช่ได้มาก็เอาไปเขียนยันต์เลย ไม่งั้นของพวกนี้จะกลับมาทำร้ายตัวเราในเรื่องต่างๆ ภาษาล้านเรียกว่าเอาบ่แป๋ ดังนั้นครูบาอาจารย์สมัยก่อนที่ทำได้ต้องเก่งจริงๆ อย่างที่เคยบอกไว้จะมีครูบายาวิราช วัดนาทราย อ.ท่าวังผา และครูบาเสาร์ วัดนาทรายเจ้าอาวาสองค์ต่อมา ที่จะทำผ้ายันต์ลักษณะนี้ ถ้าท่านไม่เก่งจริงครูบาดอนตัน ครูบาก๋ง ครูบาวงศ์ ครูบาสม ฯคงไม่มาเรียนวิชาสายเมตตาจากท่านหรอก ผ้าปิดหน้าศพบางคนได้มาแล้วเอาไปให้อาจารย์ที่นับถือลงยันต์ให้แต่ไม่ได้บอกว่าเป็นผ้าปิดหน้าศพ อาจารย์ที่ทำก็นึกว่าผ้าธรรมดาก็ลงเมตตากันไปแต่ไม่ได้สยบอาถรรพ์หรือทำพิธีขอเจ้าของไว้ เวลาไปใช้ผลเสียมากกว่าผลดี ดังนั้นอาจารย์พรหมฤทธิ์จึงไม่อยากทำให้ ดีที่ท่านเมตตาทำให้ เป็นการทำไว้ใช้เองและสืบทอดการสร้างผ้าปกหน้าศพหรือปิดหน้าศพเมืองน่านครับ
ประวัติอาจารย์พรมฤทธิ์ ท่านได้บวชเรียนตั้งแต่เป็นสามเณร ซึ่งในยุคนั้นที่บวชเรียนด้วยกันที่ดังๆในปัจจุบันคือครูบาน้อย วัดถ้ำเชตวัน อ.นาน้อย จ.น่าน ทั้งสองได้ศึกษาบาลีด้วยกัน และต่อมาครูบาน้อยท่านใฝ่ไปทางธรรมด้านวิปัสสนากรรมฐาน ส่วนอาจารย์พรหมฤทธิ์อยากศึกษาคาถาอาคมของล้านนาว่ามีอยู่จริงหรือไม่ ท่านจึงได้เริ่มศึกษาวิชาอาคมตั้งแต่นั้นมา โดยท่านได้เรียนภาษาล้านนา ภาษาขอม ภาษาเงี้ยว(ไทใหญ่หรือไตใหญ่) พม่าบางส่วน เพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาวิชาอาคมสายต่างๆ ที่ต้องใช้ภาษานั้นๆ ในการศึกษาวิชาอาคมนั้นท่านได้เดินทางไปเรียนหลายๆที่ ของล้านนา ทางภาคอีสานแถบๆติดเขมร ภาคกลางและใต้ ไทใหญ่ พม่า โดยเรียนจากพระและฆราวาส เพื่อให้รู้หลายๆด้าน การไปขอเรียนวิชาแต่ละที่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆเพราะอยู่ๆเราจะขอเรียน แล้วอาจารย์จะสอนให้เลยไม่มีทางเป็นไปได้ ต้องอดทนอยู่รับใช้ปรนนิบัตรจึงจะได้เรียน เมื่อท่ เมื่อท่านเรียนจากสำนักต่างๆที่กล่าวมาอยู่สิบกว่าปี จนท่านพอจะมีวิชาอาคมอยู่บ้าง ท่านจึงได้เริ่มทดลองวิชาที่เรียนมาโดยสร้างพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง ต่อมาท่านเริ่มมีชื่อเสียงทำให้เริ่มมีลูกศิษย์ลูกหามากขึ้น และมาขอให้ท่านสักยันต์ให้ เมื่อท่านได้สักยันต์ให้ผู้คนเริ่มรู้จักจึงมาขอสักยันต์ที่วัดมากขึ้น ทำให้วัดเกิดความวุ่นวายเพราะบางครั้งมีผู้หญิงมาขอสัก แต่ท่านเป็นพระสักให้ไม่ได้ ทำให้ชาวบ้านมองในทางไม่ดี และท่านได้สร้างวัดวาอารามที่ท่านจำพรรษาอยู่จนเรียบร้อย ท่านจึงได้ลาสิกขามานุ่งขาวห่มขาว ถือศีลและเปิดสำนักสักยันต์ขึ้น ช่วงที่ท่านนุ่งขาวห่มขาวก็ยังได้ไปเรียนวิชาเพิ่มเติมจากสมัยที่บวชเป็นพระ เนื่องจากว่าบางวิชาพระเรียนไม่ได้ ท่านจึงถือโอกาสไปเรียนเพิ่มเติม และช่วงเป็นพระท่านบอกว่า การเดินทางไปเรียนวิชาอาคมต่างๆค่อนข้างลำบากในการวางตัวเพราะเป็นพระทำอะไรก็ลำบาก เมื่อลาสิกขามาแล้วไปเรียนวิชาเพิ่มเติมได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ทางร้านจึงได้ให้ท่านเขียนยันต์บนผ้าปิดหน้าศพ การเขียนยันต์บนผ้าหรือวัสดุต่างๆ ท่านเป็นคนที่จดจำเลขยันต์คาถาได้ดี เวลาท่านเขียนจะไม่มีการมาเปิดตำราดูยันต์ทีละตัว ท่านจะจำเลขยันต์ที่จะเขียนทั้งหมดแล้วตั้งจิตเขียนทีเดียวเสร็จ ซึ่งเป็นวิธีการที่ถูกต้องครับ
|