ประวัติพระกริ่งดำรงราชานุภาพ พระกริ่งดำรงราชานุภาพ พ.ศ. 2533 เมื่อปี พ.ศ. 2533 เป็นปีแห่งการเฉลิมฉลองครบ 100 ปี ของการก่อตั้งกระทรวงมหาดไทย ซึ่งมีเสด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพเป็นปฐมเสนาบดีองค์แรก จึงมีการจัดสร้างวัตถุมงคลขึ้นประกอบด้วยรูปเหมือนครึ่งองค์ เหรียญรูปเหมือนกรมพระยาดำรงราชานุภาพ และ พระกริ่งดำรงราชานุภาพ ในส่วนของการสร้างพระกริ่งสร้างโดยถอดแบบจากกริ่งองค์ที่กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงใช้ประจำพระองค์ ซึ่งขณะนั้น ท่านอดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย นายพิศาล มูลศาสตรสาทร เป็นผู้เก็บรักษาไว้ พระกริ่งองค์ดังกล่าวเป็นกริ่งบาเก็ง กรรมวิธีถอดแบบ ให้ช่างผู้มีฝีมือทำการถอดแบบ ชนิดพิมพ์เย็น และใช้วัสดุต่าง ๆชนิดที่ดีที่สุด เพื่อให้ คงขนาดไว้เท่าเดิมทุกประการ เริ่มดำเนินการสร้างตั้งแต่ปี 2532 เพื่อให้ทุกอย่างเรียบร้อย สมบูรณ์ เฉลิมฉลอง 100 ปี ในปี พ.ศ. 2533 ในการสร้างพระกริ่งดำรงราชานุภาพเริ่มในเดือนพฤศจิกายน ปี 2532 หลังจากทำการถอดแบบพิมพ์พระเสร็จ ในส่วนของเนื้อหาโลหะองค์พระ ทางกระทรวงมหาดไทย ทำหนังสือถึง ผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ ให้นำแผ่นเงิน ทอง นาค ให้พระคณาจารย์ที่ทรงกิตติคุณในแต่ละจังหวัดเท่าที่มีทั้งหมด จารอักขระเลขยันต์และแผ่ เมตตา เพื่อนำมาทำเป็นเนื้อของพระกริ่ง นอกจากนั้น ยังมีผู้มอบชนวนพระจากพิธีสำคัญต่าง ๆ อีกจำนวนมาก มาเป็นชนวนเช่น ท่านผู้ว่า ฯ ณัฏฐ์ ศรีวิหค ได้มอบก้านช่อ พระชัยวัฒน์หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว ปี พ.ศ. 2442 แผ่นเงิน ทอง นาค จากคณาจารย์ทั่วประเทศ จำนวน109 องค์ จำนวนแผ่นทองลงยันต์ทั้งสิ้น รวม 327 แผ่น โดยมีพระอาจารย์ดังนี้ 1 หลวงปู่เทศน์ วัดหินหมากเป้ง หนองคาย 2 หลวงพ่อคลิ้ง วัดถลุงทอง นครศรีธรรมราช 3 หลวงพ่อเกษม เขมโก ลำปาง 4 หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี 5 หลวงพ่อตาบ วันมะขามเรียง สระบุรี 6 หลวงพ่อนอง วัดทรายขาว ปัตตานี 7 หลวงปู่คร่ำ วัดวังหว้า ระยอง 8 หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ นครปฐม 9 หลวงพ่อสุทธิ์ วัดอินทบูรพา บุรีรัมย์ 10 หลวงพ่อดี วัดพระรูป สุพรรณบุรี 11 หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ นครรราชสีมา สำหรับแผ่นยันต์และขนวนอีกจำนวนมาก ได้ทำการรวบรวมแล้วทำพิธีเททองพระกริ่งดำรงราชานุภาพบริเวณหน้าอนุสาวรีย์กรมพระยากำรงราชานุภาพ ท่ามกลางพระคณาจารย์ วัดบวรนิเวศวิหาร มาเจริญพุทธมนต์และพระประยูรญาติในราชสกุลดิศกุลพร้อมด้วยข้าราชการกระทรวงมหาดไทยเมื่อเวลา 09.19น เมื่อวันที่ 1-12-2532การเททองดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย พระกริ่งที่เททองสมบูรณ์ดีทุกประการ สำหรับเม็ดกริ่งนั้น ได้ใช้ชนวนโลหะในวันเททองเป็นชนวนล้วน ทำเม็ดกริ่ง ก่อนบรรจุนำไปให้ ปู่เทศน์วัด หินหมากเป้งอธิษฐานจิตอีกครั้งหนึ่ง เมื่อช่างได้ดำเนินการคัดพระที่ สมบูรณ์ตกแต่งเรียบร้อยแล้ว จึงได้ทำการพุธธาภิเษกที่วัดบวรนิเวศวิหารเมื่อวันอาทิตย์ที่ 1เมษายน พ.ศ. 2533 ณ อุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร โดยสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก ทรงเป็นองค์ประธานจุดเทียนชัย และนั่งบริกรรมภาวนาแผ่เมตาอธิษฐานจิต และพระเถระคณาจารย์ ร่วมในพิธีบริกรรมภาวนาดังนี้ 1 หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังวิเวการาม กาญจนบุรี 2 หลวงพ่อเปิ่นวัดบางพระ นครปฐม 3 หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม นครปฐม 4 หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี 5 หลวงปู่คร่ำ วัดวังหว้า ระยอง 6 หลวงพ่อสมชาย วัดเขาสุกิม จันทบุรี 7 หลวงพ่อศรีเงิน วัดดอนศาลา พัทลุง 8 หลวงปู่สิม วัดถ้ำผาปล้อง เชียงใหม่ 9 หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ นครราชสีมา 10 หลวงพ่อพรหม วัดขนอนเหนือ พระนครศรีอยุธยา 11 หลวงพ่อดี วัดพระรูป สุพรรณบุรี 12 หลวงพ่อเริ่ม วัดจุกกะเฌอ ชลบุรี 13 หลวงปู่คำพันธ์ วัดพระธาตุมหาชัย นครพนม 14 หลวงพ่อฑูรย์ วัดโพธินิมิตร กทม 15 หลวงพ่อเข็ม วัดสุทัศน์เทพวราราม กทม พระกริ่งดำรงราชานุภาพสร้างทั้งหมด 4 เนื้อ ทองคำ เงิน นวะโลหะ สัมฤทธิ์ เป็นพระกริ่งที่พิธีดีมาก ตั้งแต่เนื้อหาของโลหะ และพิธีพุทธาภิเษก ซึ่ง มีเกจิที่สุดยอดใน พ.ศ. นั้น มาทำพิธี ยาวนาน สามชั่วโมงเต็มๆ ปัจจุบัน พระกริ่งดำรงราชานุภาพค่อนข้างจะหายาก ส่วนใหญ่จะอยู่กับข้าราชการกระทรวงมหาดไทย ประสบการณ์ดีทางเจริญก้าวหน้าครับ