"ตลับสีผึ้งกระจกคันฉ่อง หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ นครสวรรค์ ตัวจริง สภาพเดิมๆผิวหิ้ง" เนื้อสีผึ้งเก่าไปตามอายุ กระจกด้านหน้าเดิมๆ สร้างน้อยหายากมากๆครับ ชาวลูกศิษย์ท่านต่างรู้ดี พุทธคุณเด่นด้าน เมตตามหานิยม เจรจาค้าขาย กระจกคันฉ่องส่องหน้า สะท้อนภัยอันตรายต่างๆออกไปจากตัว เป็นเยี่ยมครับ............... ประวัติแห่งหลวงพ่อเดิม ท่านพระครูนิวาสธรรมขันธ์ (พุทฺธสโร) วัดหนองโพ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ ต้นตระกูลของหลวงพ่อเดิม เป็นชาวนา อยู่ในหมู่บ้านหนองโพ ต้นรากเดิม โยมบิดาของท่านได้ถือกำเนิดที่บ้านเนินมะกอก (อยู่เลยหมู่บ้านหนองโพไปประมาณสองสถานี) ต่อมาได้แต่งงานอยู่กินกับโยมมารดาของหลวงพ่อเดิม ซึ่งเป็นชาวบ้านหนองโพและย้ายมาประกอบการอาชีพอยู่ที่บ้านโพ โยมบิดาของท่าน ชื่อ เนียม ส่วนโยมมารดาชื่อ ภู่ ในระยะที่โยมบิดามารดาของท่านประกอบอาชีพอยู่นั้นตรงกับสมัยหลวงตาชมเป็นเจ้าอาวาสวัดหนองโพ นามสกุลของหลวงพ่อคือ ภู่มณี พี่น้องร่วมท้องของหลวงพ่อ หลวงพ่อมีพี่น้องร่วมท้องดังลำดับได้คือ ๑. นางทองคำ คงหาญ ๒. นางพู ทองหนุน ๓. นายดวน ภู่มณี ๔. นางพันธ์ จันทร์เจริญ ๕. นางเปรื่อง หมื่นนราเดชจั่น สู่ความเป็นพระพุทธบุตร เมื่อท่านอายุครบบวชแล้ว โยมบิดามารดาได้สอบถามความสมัครใจของท่านในการจะอุปสมบทท่านไม่ขัดข้อง โยมบิดามารดาจึงจัดเตรียมอัฐบริขารการอุปสมบท นำไปอุปสม บทหลวงพ่อเข้าเป็นพระภิกษุในพระบวรพุทธศาสนา ท่านได้เข้าอุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดเขาแก้ว อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ เมื่อวันอาทิตย์ แรม ๑๓ ค่ำ เดื อน ๑๑ ปีมะโรง โทศก ตรงกับวันที่ ๓๑ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๒๓ โดยมี ๑. หลวงพ่อแก้ว วัดอินทราราม (วัดใน) เป็นอุปัชฌาย์ ๒. หลวงพ่อเงิน(พระครูพยุหานุศาสก์)วัดพระปรางค์เหลือง ตำบลท่าน้ำอ้อย อำเภอยุพหะคีรี (ครูสวด) ๓. หลวงพ่อเทศ วัดสระทะเล ตำบลสระทะเล อำเภอพยุหะคีรี (คู่สวด) ได้รับฉายาทางพระพุทธศาสนาก็คือ ?พุทธสโร? เมื่อุปสมบทแล้วได้เดินทางกลับมาจำพรรษาอยู่ ณ วัดหนองโพ เพื่อศึกษาเล่าเรียนตามทางที่พระนวกะ จะพึ่งได้รับความยิ่งยงแห่งพระอุปัชฌาย์และคู่สวดของทาง ๑. หลวงพ่อแก้ว วัดอินทราราม (วัดใน) เป็นพระเถระที่มีความคงขลังเป็นที่เคารพนับถือ ของชาวจังหวัดนครสวรรค์ เชี่ยวชาญพระเวทย์วิทยาการ การวิปัสสนากรรมฐาน อิทธิปฏิหารย์มากมาย หลวงพ่อเดิมไปศึกษากับทางหลายอย่าง (โดยเฉพาะ นะ ปัดตลอด) ๒. หลวงพ่อเงิน วัดพระปรางค์เหลือง เป็นเจ้าคณะอำเภอพยุหะคีรี เป็นผู้มีความยิ่งยงในพุทธาคมเป็นอันมากเป็นลูกศิษย์องค์หนึ่งของหลวงพ่อเฒ่า ( รอด) วัดหนองโพ เชี่ยวชาญทางด้านอาคม ทางวิปัสสนา มีวิชาที่ยอดเยี่ยมเป็นเอกคือ น้ำมนต์จินดามณีสารพัดนึก ใครได้รดน้ำมนต์จากท่านแล้วจะมีโชคชัย เคราะห์ร้ายหายดี ปราถนาทุกประ การได้ดั้งประสงค์ เมื่อคราวล้นเกล้ารัชกาลที่ ๕ เสด็จประภาสหัวเมืองเหนือ ได้แวะที่วัดพระปรางค์เหลือง และโปรดให้รดน้ำมนต์ถวาย ดังมีพระราชหัตถ์จดหมายเหตุประ ภาสต้น เมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๔๔๙ ๓. หลวงพ่อเทศ วัดสระทะเล เป็นพระเถระที่เป็นอมตะ อาคมขลัง วาจาสิทธิ์ เป็นที่ยำเกรงดีทางวิปัสสนา และน้ำมนต์ ตลอดจนมหาอุตม์ ไม่เคยออกของมงคลเป็นรูปท่าน นอกจากพระเครื่องบ้างเป็นครั้ง ว่ากันว่าเมื่อท่านมรณะภาพไปแล้ว รูปหล่อก็ถ่ายรูปไม่ติด และมีการแห่รูปของท่านไปดูงิ้วในงานประจำปีนครสวรรค์เป็นประจำ มีเกร็ดว่า ทางกรรมการวัดทำเหรียญของท่านไปให้หลวงพ่อเดิมปลุกเศกเพื่อให้เกิดความขลัง เอาใส่ห่อผ้าขาววางไว้บนพานนำไปถวายท่านหลวงพ่อเดิมรับมาแล้วไม่ได้แก้ห่อออกยก ขึ้นเหนือศรีษะของท่าน แล้วส่งคืนกำชับว่า ? ของดีแล้วไม่ต้องปลุกเสก ดีอยู่ที่ตัว? ทั้งที่กรรมการวัดก็ได้บอกท่านเลยว่าเป็นของหลวงพ่อเทศ วัดสระทะเล กรรมการวัดไม่เชื่อ เอากลับไปลองยิงปรากฏว่าปืนด้านหมด การศึกษาหาความรู้ของหลวงพ่อเดิม ดังได้กล่าวไว้แต่ต้นไว้แล้วว่าตั้งแต่วัยเด็กมาจนกระทั่งรุ่นหนุ่ม หลวงพ่อมิเคยได้รับการศึกษาเป็นชิ้นเป็นอันมาก่อนจนกระทั่งได้บวช เรียน และนำมาจำพรรษาอยู่ที่วัดหนองโพ ท่านจึงมาเรียนเป็นล่ำเป็นสัน ท่าในมีความมานะพยายามเล่าเรียนศึกษาดังได้เล่าให้ผู้ใกล้ชิดฟังว่า ๑. เล่าเรียนคัมภีร์พระธรรมวินัย และท่องคัมภีร์พระธรรมวินัย ๑๐ ผูก อันเป็นหลักสำคัญของพระนวกะ ในสมัยนั้นจะต้องเรียน เป็นรากฐานการศึกษาต่อไปในการเป็นนัก เทศนา แตกฉานในภาษาบาลีอันเป็นแกนไปสู่การกระทำวิปัสสนากรรมฐานต่อไป ท่านเล่าเรียนวิชาการนี้กับหลวงตาชม เจ้าอาวาสวัดหนองโพ ซึ่งเป็นศิษย์เอกของหลวง พ่อเฒ่ารอด หลวงตาชมชื่นชอบความมานะพยายามของหลวงพ่อเดิมมาก ได้ทุ่มเทพลังการอบรมวิชาความรู้ที่มีอยู่ให้หลวงพ่อเดิม อย่างหมดไส้หมดพุง และยังแนะนำสถาน ศึกษาที่จะเพิ่มเติมให้อีกด้วย รวมเวลาเรียน ๗ พรรษา นับแต่บวชพรรษาแรก ๒. เล่าเรียนพระปริยัติธรรม และคาถาอาคมเบื้องต้น นอกจากจะศึกษากับหลวงตาชมแล้วหลวงพ่อยังได้ไปมอบตัวเป็นศิษย์ของอาจารย์พันธ์ ชูพันธ์ ซึ่งเป็นฆราวาส เป็นลูก ศิษย์สายตรงของหลวงพ่อเฒ่าดังกล่าวแล้วเบื้องต้นอาจารย์พันธ์ เชี่ยวชาญมากทางปริยัติในสมัยนั้นในละแวกใกล้เคียง หาตัวจับยาก เมื่อหลวงพ่อได้รับการศึกษาจากอาจารย์ พันธ์(ฆราวาส) เป็นบันไดก้าวแรก และก็ทำให้หลวงพ่อเดิมแตกฉานยิ่งขึ้นแต่เป็นที่น่าเสียด้ายว่า เมื่อหลวงพ่อเดิมได้เล่าเรียนได้ไม่นานนัก อาจารย์พันธ์ก็ถึงแก่กรรมหลวง พ่อจึงคงเล่าเรียนกับหลวงตาชม จนในที่สุดก็ได้รับการแนะนำให้ไปเรียนกับ ๓. หลวงพ่อมี วัดบ้านบน ต.ม่วงหัก อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ ท่านได้เล่าเรียนต่อทางพระปริยัติต่อกับหลวงพ่อมี ได้รับการถ่ายทอดจนก้าวหน้าแตกฉานออกไปอีกจนสิ้น ความรู้ของหลวงพ่อมีท่านก็ไม่ละความพยายาม ได้เสาะแสวงหาสำนักเรียนต่อ หลังจากเรียนกับอาจารย์มี ๒ พรรษา ได้ย้ายต่อไป ๔. อาจารย์แย้ม (ฆราวาส) วัดสระทะเล ได้เข้าเรียนพระปริยัติขั้นสูงต่อไปกับอาจารย์แย้ม (ฆราวาส) ซึ่งหลวงพ่อได้ตั้งอกตั้งใจเรียนจนเข้าใจแจ่มแจ้ง สามารถแปลเข้าสอบ เปรียญในสนามหลวงได้ทีเดียว แต่ท่านกลับหลีกเลี่ยงการแปลธรรมในสนามหลวง ท่านได้เรียนเพื่อศึกษาหาความรู้เท่านั้นมิได้หวังเปรียญ หรือเป็นมหาแต่อย่างใด เมื่อเรียน พระปริยัติได้สมบูรณ์แล้ว ท่านรับการแนะนำให้ไปเรียนการเทศนา เพื่อเผยแพร่ความรู้ที่ท่านได้เรียนมาให้ญาติโยมสาธุชน พ่อแม่ พี่ป้า น้าอา ได้สดับท่านได้ไปศึกษาวิชา การเป็นนักเทศน์กับ ๕. พระอาจารย์นุ่ม วัดเขาทอง เมื่อได้รับมอบตัวเป็นศิษย์ของพระอาจารย์นุ่ม วัดเขาทองแล้วก็ได้รับการสั่งสอนถึงการเทศน์ การอ่านใบลานเทศน์และทำนองเทศน์อันเป็น อักขระภาษาบาลี เป็นหลักสำคัญเนื่องจากท่านมีรากฐานความมั่นคงอยู่แล้วทำให้ง่ายแก่การเรียน ท่านเล่าเรียนอย่างเอาใจใส่จนหมดความรู้ของหลวงพ่อนุ่ม ท่านจึงเดินทาง กลับสู่วัดหนองโพตามเดิม ๖. หลวงพ่อเทศ วัดสระทะเล เมื่อหลวงพ่อเรียนปริยัติแล้ว ได้ไปศึกษาหาความรู้ทางวิปัสสนากรรมฐานกับหลวงพ่อเทศ วัดสระทะเล อันเป็นพระคู่สวดของท่าน ได้รับการ ถ่ายทอดวิชาการทางวิปัสสนาคาถาอาคม การปลุกเสกเครื่องรางของขลัง ตามที่หลวงพ่อเทศ ถนัดทุกประการ จะเรียนอะไรบ้างนั้น หลวงพ่อมีได้บอกไว้ละเอียด คงรู้แต่เพียง ว่าท่านเรียนกับหลวงพ่อเทศ วัดสระทะเล ๗. หลวงพ่อเงิน วัดพระปรางค์เหลือง ทางวิปัสสนากรรมฐานและการเจริญกษิน และที่แน่นอนคือ ? วิชาน้ำมนต์จินดามณีสารพันนึก? เพราะน้ำมนต์ของหลวงพ่อเดิมต่อ มาก็คล้ายกับหลวงพ่อเงินวัดพระปรางค์เหลือง ๘. หลวงพ่อวัดเขาห่อ อ.ชนแดน บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ ไม่ทราบชื่อหลวงพ่อแน่นอนแต่ท่านได้ศึกษาวิชาด้วย วิชาใดไม่ปรากฏ เพียงแต่ท่านพูดถึงอยู่เสมอ ๙. หลวงพ่อขำ วัดเขาแก้ว ได้ยินมาจากบางที่ว่าท่านไปเรียนวิชามีดหมอกับหลวงพ่อขำ วัดเขาแก้ว เพราะต่อมาท่านชำนาญในเรื่องมีดหมอและมีชื่อเสียงมาก พอท่าน เรียนสำเร็จหลวงพ่อขำก็มรณะภาพขาดทายาทสืบต่อไประยะหนึ่ง ต่อมาหลวงพ่อกัน วัดเขาแก้วจึงตามมาเรียนกับหลวงพ่อเดิม และกลับไปทำมีดหมอที่วัดเขาแก้ว การเรียนวิชาของหลวงพ่อนับแต่ปริยัติ คาถาอาคม วิปัสสนา และการทำของขลัง สรุปรวมแล้วกินเวลาถึง ๑๒ ปี นับแต่บวชมาทำให้ท่านมีความรู้มากมาย เป็นที่เคารพรักของ ชาวหนองโพทุกคน ซึ่งผู้เฒ่าผู้แก่มักจะคิดกันว่า หลวงพ่อเฒ่ารอด กับชาติมาเกิดเพื่อดูแลวัดของท่าน ( หลวงพ่อเดิมมรณภาพ ) ถึงวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ตรงกับวันอังคาร แรม ๒ ค่ำ เดือน ๖๖ อาการของหลวงพ่อทรุดหนักลงตั้งแต่ตอนเช้า ญาติโยมเข้าพยาบาลอยู่ใกล้ชิด มีเหตุ การณ์ประหลาดเกิดขึ้นคือ วันนั้นช้างของหลวงพ่อที่ทำงานอยู่ในป่าได้ดิ้นรนไม่ยอมทำงาน ทั้งๆ ที่ควาญช้างก็บังคับอย่างเต็มความสามารถเพื่อให้มัยทำงาน แต่มันกลับหัน หลังมุ่งหน้าเดินจะมาวัดหนองโพ ควาญช้างซึ่งทราบอาการของหลวงพ่อดีก็ปรึกษากันแล้วเลิกงาน ช้างก็พากันเดินดุ่มมาวัดหนองโพอย่างรีบร้อน มาถึงวัดก็ตอนที่หลวงพ่อ อาพาธหนักหมดทางเยียวยารักษาแล้ว มันหงอยเหงาอย่างเห็นได้ชัดไม่ยอมกินหญ้ากินอะไรทั้งนั้น คงวงเวียนอยู่ใกล้ๆ กับกุฏิที่หลวงพ่อนอนป่วยอยู่ไม่ได้ส่งเสียงร้องให้ได้ ยินถึงหลวงพ่อ เหมือนมันจะรู้วาระมรณะภาพของหลวงพ่อว่า หลวงพ่อชุบเลี้ยงมันมาดุจบิดานั้นกำลังจะจากมันไปแล้ว อย่างไม่มีวันกลับมาอีกในเวลาอันใกล้นี้ สรุปความท้ายประวัติ สิ้นไปแล้วดวงประทีปแห่งหนองโพ หลวงพ่อผู้ทรงความเมตตากรุณา หลวงพ่อผู้เป็นผู้ให้แต่อย่างเดียว ถึงแม้จะรับบ้างแต่ก็ให้ไปจนหมดสิ้น หลวงพ่อ ผู้ช่วยทุกข์ของสัตว์ผู้ยากที่บากหน้ามาหา หลวงพ่อที่ถือเอาพระพุทธพจน์เป็นหลักประจำจนตลอดชีวิต หลวงพ่อผู้มีเวทย์มนต์อันเรืองรองด้วยพระพุทธคุณหลวงพ่อ ผู้สรร สร้างความเจริญทั้งในพระพุทธศาสนาและแก่ชาวบ้าน หลวงพ่อผู้ถือคติทำดีกว่าพูด และผลงานคือข้อพิสูจน์คุณงามความดีของท่าน สิ่งที่ยังคงเหลือเตือนใจคนรุ่นหลังให้ระ ลึกถึงท่านคือ คุณงามความดีคำสั่งสอน รูปหล่อครั้งเมื่อมีชีวิตอยู่ ตลอดจนวัตถุมงคลที่ท่านปลุกเสกแจกให้กับศิษยานุศิษย์ที่คุ้มครองป้องกันชีวิตพวกเขาเหล่านั้นมาจนทุกวัน นี้ ดังจะได้พูดถึงในภาควัตถุมงคลตอนต่อไปจากนี้ เพื่อท่านผู้อ่านทั้งหลายที่สนใจจะได้เสาะหาและเก็บไว้เพื่อเป็นที่ระลึกถึงท่าน และป้องกันชีวิตของท่านจากเหล่าอันธ พาลมิจฉาชีพ ตลอดจนอริราชศัตรูที่รุกรานอยู่รอบบ้านเมืองของเราในปัจจุบัน หลวงพ่อชาตะ เมื่อวันพุธ แรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๓ ปีวอก จ.ศ. ๑๒๒๒ ตรงกับวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๐๓ หลวงพ่อมรณภาพเมื่อวันอังคาร แรม ๒ ค่ำ เดือน ๖ ตรงกับ วันที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๔ เวลา ๑๗.๔๕ น. สิริรวมอายุได้ ๙๒ ปี พรรษาที่ ๗๐ ครับ..................รับประกันแท้ตลอดชีพ
|