กุมารทองเนื้อผง อาจารย์เณร วิเศษณ์สิงห์คำ วัดป่าสัก (เลี่ยมทอง)
numder One Lanna of Thia "Gu mann tong"
:กุมารทองอันดับหนึ่งแห่งล้านนา
กุมารทอง อาจารย์เณร วิเศษณ์ สิงห์คำ วัดป่าสัก
กุมารทองเนื้อผง108 อ.เณรวิเศษณ์ สิงห์คำ แห่งสำนักวัดป่าสัก อ.สันป่าตอง (องค์พิเศษเนื้อผงแก่น้ำมันว่านหายาก) สร้างในปี2520 กุมารทองใช้ในทางเมตา ค้าขาย โชคลาภ ขอพรสิ่งใดสมปรารถนา สุดยอดกุมารทองอันดับ1แดนล้านนา ท่านใดได้สัมผัสคงรู้และเข้าใจดีว่าทำไมต้องมีเครื่องรางติดกาย(ที่เรียกว่ากุมาร)
กุมารทองแห่งล้านนากุมารทองเนื้อผง108 หรือที่ชาวบ้านป่าสักเรียกกุมารผงกระดูกผีเณรเสก หรือ อาจารย์เณร วิเศษสิงห์คำกล่าวถึงกุมารทองของล้านนา สำนักหนึ่งที่โด่งดังเรื่องการสร้าง กุมารทองจากกระดูกผีก็คือ สำนักสันป่าสัก อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ หรือ รู้จักกันดี ในนามของ กุมารทองของอาจารย์เณรวิเศษณ์ สิงห์คำ อาจารย์เณรท่านนี้ท่านมีความขมังเวทย์และเชี่ยวชาญการสร้างวัตถุมงคล ทั้งพระเครื่องและเครื่องรางโดยเฉพาะเครื่องรางของท่านนั้นในยุคนั้นโด่งดัง มาก ไม่ว่า จะเป็น กุมารทอง วัวธนู ตะกรุด เสื้อยันต์ และ เครื่องรางอื่นๆท่านได้สร้างกุมารทองเนื้อผงอาถรรพ์ขึ้นเมื่อปี 2520
ตำนานการสร้างกุมารทอง ให้เกิดอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ ตำนานการสร้างแบบโบราณกาลได้นั้น ผู้สร้างต้องเป็นผู้ที่มีความรู้แตก ฉาน เกี่ยวกับวัตถุส่วนผสมต่าง ๆ ที่นำมาเป็นผงวิเศษของกุมารทอง ซึ่งเรียกว่า “วัตถุอาถรรพ์” อย่างละเอียดพิสดาร กุมารทองจึงจะบังเกิดความศักดิ์สิทธิ์ได้วัตถุอาถรรพ์ล้วนเป็นสิ่งที่หาได้ ยากยิ่งทั้งสิ้น หากไม่มีวิชาอาคม และของขลังแล้วจักไม่สามารถเสาะหามาได้เลย ซึ่งมีถึงเจ็ดชนิดด้วยกันเช่น ดินเจ็ดป่าช้า ดินเจ็ดวัดร้าง ดินเจ็ดทางสามแพร่ง ดินเจ็ดท่าน้ำ ดินเจ็ดสระน้ำ และดินเจ็ดสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ เมื่อหาวัตถุเหล่านั้นได้ตามตำราแล้ว จึงนำมาผสมผง กระดูกเจ็ดป่าช้า และผงว่านที่มีคุณอิทธิฤทธิ์ทางเมตตา มหานิยมโชคลาภ ซึ่งประกอบด้วย ว่านเสน่ห์จันทร์เขียว ว่านเสน่ห์จันทร์แดง ว่านเสน่ห์จันทร์มหาโพธิ์ ว่านดินสอฤาษี ว่านเสน่ห์นางกวัก ว่านเสน่ห์มหาโชค ว่านกาหลง และว่านดอกสุวรรณ์ ซึ่งว่านเหล่านี้เป็นของที่หาได้ยากยิ่ง ต้องใช้เวลาในการเสาะหาเป็นเวลาหลายปีจึงจะได้ครบ เมื่อหาได้ครบตามตำราการสร้างแล้วจะกระทำพิธีปลุกเสก ด้วยเวทย์มนต์จนบังเกิดเป็นผงอันศักดิ์สิทธิ์ใช้บรรจุในองค์กุมารทอง
การปลุกเสก
ต้องประกอบพิธีปลุกเสกในบริเวณป่าช้าที่เงียบสงัดในยามค่ำคืนจนครบเจ็ด ป่าช้า จนกว่ากุมารทองจักเกิดความศักดิ์สิทธิ์ซึ่งผู้ปลุกเสกต้องเป็นผู้มีพลังจิต และสมาธิอันกล้าแข็ง และได้รับการถ่ายทอดศึกษาวิชาอาคมต่าง ๆ จากเกจิอาจารย์ที่ทรงคุณวุฒิทางวิชาไสยศาสตร์อย่างละเอียดลึกซึ้ง สามารถ่ายทอดอำนาจเวทย์ให้คงไว้ในกุมารทอง จนบังเกิดความศักดิ์สิทธิ์ มีอิทธิฤทธิ์สมประสงค์ต้องตามตำรา
อิทธิปาฏิหาริย์พุทธคุณของกุมารทอง
กุมารทองเป็นวัตถุมงคลเอกชนิดหนึ่ง ที่บรรดาเกจิอาจารย์ต่าง ๆ และผู้ที่มีความเชื่อทางด้านไสยศาสตร์เชื่อถือว่าเป็นวัตถุที่มีอิทธิฤทธิ์ ทางเมตตามหานิยม สามารถช่วยดลบันดาลให้ผู้ที่มีไว้สักการบูชา หรือมีติดตัวอยู่เสมอบังเกิดโชคลาภทางเมตตาค้าขาย เป็นที่รักเสน่หาแก่บุคคลผู้พบเห็น หาศัตรูมิได้ทั้งช่วยป้องกันภยันตราย ภูตผีปีศาจได้อย่างมหัศจรรย์
คาถาที่ใช้ปลุกกุมารอาจารย์เณร .... สุวัณณะ กุมารัง อิทถิ ฤทธิยัง มะหาปัญจะ นามมิหัง
มะอะอุ อุอะมะหิ นะโม พุทธายะ ปิยัง มะมะ ให้ครบสามจบ จึงสัจจะอธิฐานตามเจตนารมย์ (ส่วนผู้ที่ท่องเวทย์ปลุกมิได้ ก็ทำจิตอธิษฐานเท่านั้นก็ได้ จึงบังเกิดผลเหมือนกัน)
"เป็นความชอบที่ค่อนข้างอธิบายยาก"
Ta Chiangmai
จุดเริ่มต้นในการ เรียกว่าสายเครื่องรางของผมมาจากวัตถุมงคลอาจารย์เณร วิเศษณ์สิงห์คำ วัดป่าสัก ที่เรียกว่า"กุมารทอง"
ถ้าพูดถึงกุมารทอง กุมารทอง เป็นความเชื่อทางไสยศาสตร์ของไทยเกี่ยวกับจิตวิญญาณ ที่มาของกุมารทองมาจากการเลี้ยงภูติผีปีศาจไว้ใช้งาน โดยกุมารทอง จะเป็นวิญญาณของเด็กผู้ชาย หากเป็นวิญญาณผู้หญิงที่คนเลี้ยงไว้จะเรียกว่า "โหงพราย" ซึ่งกุมารหากกล่าวก็มีหลายสำนักหลายเกจิอาจารย์ที่มีชื่อโด่งดังเรียกว่ามีประสบการณ์ทุกหลาย
แต่สิ่งนี้ที่เรียกว่ากุมารทองส่วนตัวผมชื่นชอบและศรัทธายิ่งนัก กุมารทองอาจารย์เณร ป่าสัก รูปลักษณะพิมพ์ที่ถอดออกมาสวยงาม เป็นเอกลักษณ์หนึ่งเดียว เนื้อผง ผง108สิ่งที่หายากที่สุดถูกบรรจุไว้ในองค์กุมารอย่างครบสูตรเข้มขลัง ส่วนบ้างท่านถามถึงในเรื่องประสบการณ์ว่าเป็นไงบ้าง ดีไหม เจอไหม ...!!??
ถ้าผมเล่า จะหาว่าผมเล่านิทาน
ข้อเท็จจริงมันอยู่ที่ความเชื่อส่วนบุคคล ดั่งอาจารย์ท่านได้กล่าวไว้
"เครื่องรางของขลังเป็นวัตถุที่บรรจุไว้ ซึ่งพลังอำนาจทางจิตอันเป็นพลังงานที่ไม่มีสะสาร สิ่งเหล่านี้จะเกิดอิทธิฤทธิ์ได้ พึงอาศัยจิตของท่านที่ถึงพร้อมด้วยความเชื่อเท่านั้น"
Ta Chiangmai ข้อมูลจากใบฝอยกุมารทองอ.เณร และบทความบันทึก14/11/58
|