ภูเขา “โป๊ะ ปา” และเทพผู้ปกปักรักษา ดินแดนลุ่มน้ำอิระวดีในเขตเมืองโบราณพุกาม (Pagan) เป็นแถบที่ราบแห้งแล้งขนาดใหญ่ โดยที่ไกลออกไปทางตะวันออกพื้นที่จะลาดชันขึ้นไปในเขตภูเขาชายแดนติดต่อกับภาคเหนือของประเทศไทย ราวๆ พศ.101(หนึ่งร้อยหนึ่ง) เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ขึ้นในบริเวณภาคกลางของพม่า เกิดการปะทุของภูเขาไฟโผล่ขึ้นมาจากพื้นที่ราบ เมียงเย ห่างจากเมืองพุกามมา 50กม.ทางตะวันออกเฉียงใต้ มีความสูงจากพื้นราบกว่า 1500 เมตร เมื่อเย็นตัวลงก็กลายเป็นป่ารกทึบอุดมไปด้วยพรรณไม้ดอกไม้และสัตว์ต่างๆ “โป๊ะ ปา” เป็นคำในภาษาสันสกฤต ที่หมายถึง“บุปผา”หรือดอกไม้นั่นเอง ผู้คนในแถบนั้นเชื่อกันว่าภูเขานี้มีความศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่สถิตของเหล่าเทพยดา เต็มไปด้วยสิ่งลี้ลับ บริเวณเชิงเขามี นักบวช นักพรต ผู้ที่สนใจเรื่องคาถาตบะฌาน และนักเล่นแร่แปรธาตุมาจำศีลบำเพ็ญเพียร “แหม่ วันน้า” คือเทพผู้ปกปักรักษายอดเขาแห่งนี้ ลักษณะเป็นยักษ์ผู้หญิง รูปบูชาจะแกะเป็นผู้หญิงสวมหัวยักษ์ ส่วนใหญ่จะนั่งอยู่บนโขดหินภูเขา ในมือถือช่อดอกไม้ ถวายสักการบูชาด้วยดอกไม้เป็นภักษาหารเท่านั้น เพราะท่านถือมังสวิรัติ ในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายนจะเป็นช่วงการบวงสรวงใหญ่ของ “นัต”ทั้งหลายที่ผู้คนนับถือบูชากันที่นี่ เชื่อกันว่าจะทำให้บ้านเมืองอยู่เย็นเป็นสุข มีความอุดมสมบูรณ์ กษัตริย์แห่งพุกามทุกพระองค์ที่ครองราชย์ระหว่าง คศ.400-คศ.1100 จะต้องเสด็จมาร่วมบวงสรวงที่นี่ทุกปี “แหม่ วันน้า”และภูเขาโป๊ะปา นับว่ามีความสำคัญและนับถือกันในลำดับต้นๆในหมู่ชาวพม่า ตำนานเกี่ยวเนื่องที่เป็นต้นเหตุของความเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์นี้คือบุตรทั้งสองของ แหม่ วันน้า มีบันทึกว่ามีตัวตนจริง แต่ตำนานที่เล่ากันมากลับเป็นสองแนวที่ต่างกันคือ อันแรกกล่าวถึงบุตรทั้งสองของนาง เป็นผู้ชาย เกิดจากขุนศึกมุสลิมที่เก่งกล้า ต่อมาต้องอาชญาจากเจ้าเมืองถูกประหารชีวิต บุตรชายทั้งสองคือ”ชเว พยิ่งจี-ชเว พยิ่งแหง่” เติบโตขึ้นเป็นนักรบเก่งกล้าเช่นเดียวกัน แต่ก็ถูกประหารในภายหลังอีกเหมือนกัน และด้วยอิทธิฤทธิ์ของวิญญาณเป็นที่เล่าขาน พระเจ้าอนุรุธมหาราชจึงได้ให้สร้างศาลและรูปบูชาให้คนสักการะที่ภูเขาแห่งนี้ และถือเป็นกุศโลบายให้คนหันมาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาตามพระองค์ด้วย อีกแนวทางหนึ่งกล่าวว่า บุตรคนโตของนางเป็นชาย เป็นช่างตีเหล็กที่แข็งแรง รบเก่งชื่อ”งะ ตินเต” ส่วนน้องสาว”ชเว เมี้ยตนา” หรือนางหน้าทองมีรูปงามมาก กษัตริย์เมืองนั้นได้อภิเษกกับนาง ส่วนพี่ชายนั้นด้วยความที่เป็นคนเก่ง แข็งแรงและมีสมัครพรรคพวกมาก เป็นที่ระแวงของกษัตริย์ จึงล่อหลอกมาและจับมัดกับต้นไม้เผาทั้งเป็น น้องสาวโถมเข้ากองไฟตายพร้อมกับพี่ชาย ต้นไม้ที่เผานั้นถูกทิ้งลงแม่น้ำ ไหลไปจนถึงเมืองพุกาม อิทธิฤทธิ์และความศักดิ์สิทธ์ที่ร่ำลือกันไปไกล พระเจ้าอนุรุธฯจึงให้นำต้นไม้นั้นขึ้นมาแกะเป็นรูปสักการะนำไปไว้บนภูเขา โป๊ะ ปา ให้ผู้คนสักการะกันแพร่หลายสืบมา
องค์นี้เป็นสีเก่าเดิม สวยงามคลาสสิคมาก พร้อมดอกไม้ที่ถือในมือมาเดิม องค์ขนาดเขื่อง สูงราว 72 ซม. |