เงินเจียง เงินที่เป็นสัญลักษร์ของการค้าขาย ในอาณาจักรล้านนายุครุ่งเรือง
น้ำหรักประมาณ 60 - 63 กรัม มีลักษณะคล้ายเงินกำไลขาเหลี่ยม แต่มีลักษณะที่กระทัดรัดมากกว่า จึงเชื่อได้ว่าสร้างขึ้นในยุคที่มีความเจริญรุ่งเรืองอย่างสูงแล้ว
อายุราวพุทธศตวรรษที 20 - 22
เงินลักษระนี้มักจะถูกบรรจุอยู่ภายในภาชนะบรรจุ แล้วฝักเอาไว้ในดิน ถ้าภาชนะบรรจุสามารถเกิดสนิม ก็จะทำให้ผิวของเงินเจียง มีสนิมสสีเขียวติดอยู่ด้วย
การปั๊มรายละเอียดมีด้วยกัน 3 จุด
1. พิกัดเลข "4" หรือ "5" เป็นอักษรฝักขาม
2. บ่อบอกชื่อเมือง ตัวนี้เมืองเชียงใหม่ "หม"
3. ตราวงกลม ลักษณะเป็นรูปดาวด้านใน หรือวงกลมมีจุดล้อมรอบ
เงินเจียง มีความสำคัญกับระบบเงินตราของอาณาจักรล้านนาในสมัยโบราณเป็นอย่างมาก ถึงขนาดที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สาขาภาคเหนือ ได้นำเอารูปแบบเงินเจียงจำนวนหลายตัวมาต่อกันเป็นวงกลม เพื่อแสดงสัญลักษณ์อยู่ด้านหน้าของธนาคารเลยทีเดียว
|