ยันต์หนีบ มนตราด้านเสน่ห์แห่งล้านนา
สมัย โบราณ การจะหายันต์หนีบได้นั้นต้องไปขอบูชาจากวัด โดยจะมีพระสงฆ์ผู้มีวิชาอาคมจะจารยันต์หนีบให้มาใช้ส่วนมากท่านจะสร้างเพื่อ แจกให้ลูกศิษย์นำไปใช้ในเรื่องเมตตามหานิยม หรือจากน้อย(ผู้ที่เคยบวชเป็นสามเณรแล้วสึก) หนาน(ผู้ที่เคยบวชเป็นพระภิกษุ) หรือ ชาวบ้านที่มีวิชาอาคมส่วนใหญ่จะมีพระ น้อย หนาน ที่มีวิชาอาคมเป็นผู้สร้างมากกว่า หาก ไม่ไปหาบูชาที่ท่านทั้งหลายดังที่กล่าวมาแล้ว ชาวล้านนาก็จะไปแสวงหายันต์หนีบที่ ๆ หนึ่งนั่นคือกาดงัว(ตลาดวัว) กาดงัวคือกาด(ตลาด)ที่นำวัวควาย และของใช้เครื่องมือทางการทำมาหากินมาขาย และในจำนวนของที่นำมาขายกันนั้นก็มีพวกยันต์ต่าง ๆ มาขายกันอีกด้วย
ยันต์ หนีบก็เป็นหนึ่งในยันต์ที่ขายดิบขายดีมากในสมัยนั้น แม่ค้าทุกคนต้องมียันต์หนีบไว้ประจำกายเพราะเชื่อว่าจะทำให้ค้าขายดี ชายชาวล้านนาก็จะมียันต์หนีบติดตัวคนละอันเช่นกันเพราะจะใช้พกเวลาไปแอ่วสาว ตามบ้านสาวซึ่งเป็นสิ่งที่พบเห็นกันได้มากในสมัยก่อน จนมาถึงยุคสมัยปัจจุบัน กาดงัวมี แต่เพียงชื่อเท่านั้น แต่กลายมาเป็นตลาดนัดที่มีแต่สิ่งของเครื่องใช้สมัยใหม่ไปเสียหมดแล้ว คงยังจะมียันต์หนีบให้เห็นบ้างตามแผงขายพระเครื่องบางแผง พระภิกษุทั่วไปก็มีบางรูปที่สร้างยันต์หนีบอยู่แต่ก็หาได้น้อยรูปในปัจจุบัน น้อย หนาน บางท่านที่เคยสร้างยันต์หนีบ ได้ล้มหายตายจากไปมากมาย ลูกหลานส่วนใหญ่ไม่ค่อยสนใจที่จะสืบต่อและร่ำเรียนจึงทำให้ยันต์หนีบหายไป จากสังคม
พิธีกรรมการหนีบที่ถูกต้องตามตำนานยันต์อันทรงคุณวิเศษเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากการทำยันต์หนีบให้ได้ผลที่แท้จริง ต้องมีวัน เวลาที่เหมาะสมในการทำด้วย
ตามตำราศาตร์ล้านนากล่าวไว้ว่า ตะกรุดยันต์แหนบ (ยันต์หนีบ)หรือตะกรุดพับ มีคุณค่าแสนคำ ให้หมั่นปฏิบัติบูชา จักมีอานุภาพเอกอนันต์ สมเป็นมหาเสน่ห์ มหานิยม หญิงรัก ชายหลง เป็นมหาคนึง ผูกจิต ให้คิดถึงไม่รู้คลาย เป็นศาสตร์ไสยเวทสายล้านนา
“ยันต์หนีบ” ภาษาล้านนา บางครั้งคำว่ายันต์อาจจะหมายถึงตะกรุดไปด้วย ที่เรียกกันจนติดปากเช่น ยันต์ก๋าสะท้อน ซึ่งก็คือตะกรุดกาสะท้อนนั่นเอง
คำ ว่าหนีบ ในที่นี้หมายถึง ประกบ การบีบรัด การกดทับ โดยวิธีทำนั้นจะกระทำโดย การนำแผ่นเงิน แผ่นคำหรือแผ่นทองแดง โดยเอาทั้ง 2 ด้านของแผ่นยันต์มาประกบเข้าสิ่งของที่อยู่ข้างใน ทำให้บุคคลที่ถูกทำด้วย การทำยันต์หนีบ ตกอยู่ในอาการลุ่มหลงผู้ที่ทำ เกิดความสิเน่หา เกิดความรักใคร่ ลุ่มหลง ซึ่งถือว่าเป็นศาสตร์แห่งวิชาทางไสยศาสตร์ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง และนิยมกันมากในสายล้านนาตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบัน
จาก ประสบการณ์ที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับไสยศาสตร์ตามภูมิปัญญาของทางล้านนานั้น พบว่ายันต์หนีบของแต่ละเกจิอาจารย์ และแต่ละสำนักนั้นจะไม่เหมือนกันเลย เมื่อสอบถามผู้รู้ในทางล้านนาถึงสาเหตุนี้ ก็พบว่าการทำยันต์หนีบของทางล้านนานั้นไม่มีมาตรฐานที่ตายตัว แต่ละสำนักแต่ละสายนั้นจะมีการผูกยันต์ขึ้นมาใช้เอง เรียกว่าเป็นสูตรเฉพาะของแต่ละสำนักเลยก็ว่าได้ บางแห่งพบว่ามีการลงอักขระเป็นตัวเลขก็มี บางแห่งเป็นตัวอักขระคาถาก็มี บางแห่งเป็นรูปผู้ชายกับผู้หญิงก็มี และบางแห่งที่เห็นเป็นรูปสัตว์เช่นม้ากับวัว หนูกับแมวก็มี แต่จากหลักฐานทางโบราณศาสตร์พบว่า ที่นิยมแพร่หลายที่สุดนั้น มักจะนิยมเป็นตารางและลงอักขระยันต์ทางล้านนามากกว่า
ยันต์ หนีบของทางล้านนา อาจจะแตกต่างกันไปตามแต่ละตำรา แต่โดยทั่วไปแล้วจะมีลักษณะเป็นแผ่นโลหะ ที่พบเห็นมีทั้งที่เป็นทองแดง ทองเหลือง เนื้อเงินมีพบบ้างแต่ไม่มาก แผ่นโลหะที่ใช้ทำยันต์หนีบเหล่านี้คล้ายๆ กับแผ่นโลหะที่ใช้ทำตะกรุดทั่วไป ต่างกันที่หลังจากลงอักขระเลขยันต์แล้ว จะไม่ม้วนเป็นแท่งกลมๆ เหมือนตะกรุด แต่จะพับทบเป็นแผ่นสองด้านประกบกัน ปลายด้านหนึ่งอาจจะม้วนเพียงเล็กน้อย แค่พอที่จะสอดสายตะกรุด
คำ ว่าหนีบ ในที่นี้หมายถึง ประกบ การบีบรัด การกดทับ โดยวิธีทำนั้นจะกระทำโดย การนำแผ่นเงิน แผ่นคำหรือแผ่นทองแดง โดยเอาทั้ง 2 ด้านของแผ่นยันต์มาประกบเข้าสิ่งของที่อยู่ข้างใน ทำให้บุคคลที่ถูกทำด้วย การทำยันต์หนีบ ตกอยู่ในอาการลุ่มหลงผู้ที่ทำ เกิดความสิเน่หา เกิดความรักใคร่ ลุ่มหลง ซึ่งถือว่าเป็นศาสตร์แห่งวิชาทางไสยศาสตร์ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง และนิยมกันมากในสายล้านนาตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบัน
เมื่อ ต้องการจะทำพิธีหนีบจิตของคนรักให้เกิดความรักและเกิดความลุ่มหลงในตัวเรา นั้น เขาให้ผู้ที่จะกระทำไปยืนที่ใต้ร่มโพธิ์ทางทิศใต้ คอยจนมีใบโพธิ์ร่วงจากกิ่งด้านทิศใต้ หากพบว่าเป็นใบโพธิ์คว่ำให้เก็บมาใช้เป็นตัวแทนของผู้ชาย หากพบว่าใบโพธิ์หงายก็ให้เป็นตัวแทนของผู้หญิง ให้จำไว้ให้ดี อย่าทำสลับกันเด็ดขาดเพราะแทนที่จะทำให้เขาเกิดความลุ่มหลงในตัวเรา อาจกลับเป็นเราที่ไปลุ่มหลงเขาแทนมากกว่า แล้วจึงนำมาตัดเป็นแผ่นขนาดเท่ากับแผ่นยันต์หนีบ จากนั้นเขียนชื่อ วันเดือนปี เกิดของเราและบุคคลนั้นลงไปในใบโพธิ์ แล้วเสียบลงไปที่ช่องอักขระยันต์ แล้วให้นำติดตัวพกใส่กระเป๋าเสื้อหรือห้อยคอไว้เสมอ หรือบางคนอาจจะสอดยันต์หนีบไว้ใต้หมอน หรือใต้เตียงให้ตรงบริเวณกึ่งกลางลำตัวของเราก็ได้ ให้สังเกตุดูว่าภายใน 3 วัน 7 วัน จะสังเกตว่าพฤติกรรม ของเขาเปลี่ยนไป จากที่เคยพูดไม่ไพเราะก็จะพูดจาหวานหู กิริยาที่เคยแข็งกระด้างก็จะอ่อนนุ่ม กิริยาที่เคยเฉยเมยกับเรา ก็จะกลับเป็นคนอกเอาใจราวกับเป็นคนละคน
ควรใช้ใบพลูที่มีส่วนปลายแยกออกเป็นสองแฉกโดยธรรมชาติที่เรียกว่า “พลูสองหาง” เป็น เครื่องรางพกติดตัวไปทำมาค้าขาย ด้วยเชื่อว่าจะช่วยให้ทำมาค้าขึ้น อีกอย่างหนึ่งมักใช้ใบพลูให้เกิดประโยชน์เชิงคุณไสยให้หญิงชายรักใคร่ชอบพอ กัน โดยเขียนชื่อคนที่ต้องการให้รักกันลงบนพลูสองหาง แล้วพับใส่ใน “ยันต์หนีบ” สอดไว้ใต้หมอนหรือใต้ที่นอนของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
สำหรับ ยันต์หนีบนิยมทำจากแผ่นโลหะ โดยลงอักขระบนแผ่นโลหะ แล้วพับตรงจุดกึ่งกลางให้แผ่นยันต์พับเข้าหากัน เพื่อให้ด้านในนั้นเป็นที่สำหรับใส่ใบพลูสองหางที่จัดเตรียมไว้
สำหรับ คนที่หาไม่ได้
มี เคล็ดการเลือกวัสดุที่จะนำมาเขียนชื่อฝ่ายชายฝ่ายหญิงนี้เป็นเรื่องหนึ่งที่ สำคัญ ตำราโบราณแนะนำให้ผู้ที่จะใช้ยันต์หนีบไปเก็บใบโพธิ์ด้วยตนเองเป็นดีที่สุด เพราะจะสามารถเลือกเก็บเอาใบโพธิ์ที่หล่นใหม่ๆ เพราะถ้าหากไปเก็บใบโพธิ์ที่หล่นตามพื้นแล้วมาใช้ จะแน่ใจได้อย่างไร ว่าไม่ใช่ใบโพธิ์ที่โดนคนอื่นเขาเตะหรือเขาเหยียบ หรือลมพัดปลิวจนพลิกกลับด้าน ซึ่งจะทำให้ได้ใบโพธิ์ที่ไม่ถูกตามศาสตร์จริงๆ ถ้าเอามาใช้อาจเกิดความผิดพลาด เกิดการสลับกลับผู้ชาย - ผู้หญิง และก็คงไม่เกิดความขลัง อีกประการหนึ่งถ้าผู้ใช้ไปเก็บหามาเอง จะได้จิตใฝ่ปรารถนาของผู้ใช้ส่วนหนึ่งมาเพิ่ม ซึ่งจะดูขลังมากกว่าขอให้ผู้อื่นไปหามาให้ เพราะเรื่องความรักใคร่นั้นเป็นเรื่องเฉพาะบุคคล การหาใบโพธิ์ด้วยตนเองน่าจะขลังมากกว่า
ใบ โพธิ์ก็เหมือนใบไม้ทั่วๆ ไปคือมีด้านหน้าใบกับด้านหลังใบ ด้านหน้าใบคือด้านที่เป็นมันเลื่อม เป็นด้านที่พืชใช้สังเคราะห์แสง หากใบโพธิ์ใบใดร่วงหล่นจากต้นตกลงพื้นดิน โดยหน้าใบคว่ำประกบกับพื้นดิน ให้ถือว่าใบโพธิ์ใบนั้นเป็นตัวแทนของผู้ชาย ในทางตรงกันข้าม หากใบโพธิ์ใบใดหล่นลงพื้นแล้ว หงายเอาด้านมันขึ้นก็ให้ถือว่าใบโพธิ์ใบนั้นเป็นตัวแทนของผู้หญิง ให้เก็บเอามาใช้ได้ โบราณกำหนดวิธีการเลือกใบโพธิ์ไว้เท่านี้ ไม่ได้กำหนดให้ต้องเอาใบโพธิ์ที่หล่นลงมาประกบกัน เพราะว่าโอกาสที่ใบโพธิ์จะหล่นมาประกบกันอย่างที่ว่าคงจะมีน้อย
เชื่อ ว่าเคล็ดวิธีการใช้ใบโพธ์คว่ำให้แทนผู้ชายใบโพธ์หงายให้แทนผู้หญิง คงจะมีความหมายหรือเป็นลักษณะของการกดทับ มีฤทธิ์ในทางการข่มจิตข่มใจ (จูงใจ) ให้เป็นไปตามอานุภาพของยันต์หนีบ เพราะถ้าเราอยากให้คนนั้นรักเรา เราก็ต้องข่มทับเขาไว้ ผู้เฒ่าผู้แก่บางท่านตั้งข้อสังเกตไปไกลถึงท่วงท่าการสังวาสของหญิงชาย อันนี้ไม่สามารถยืนยันได้ว่าโบราณาจารย์ท่านมีเหตุผลอันใดแน่
ราย ละเอียดเรื่องการเลือกเก็บใบโพธิ์อาจจะมีความแตกต่างกันอยู่บ้าง บางตำราว่าให้เก็บใบโพธิ์ที่กำลังปลิดขั้วหล่นแต่ยังไม่ตกถึงพื้น ตำรานี้อาจจะไม่สอดคล้องกับรายละเอียดอย่างอื่น เช่น การเลือกใบคว่ำแทนผู้ชาย ใบหงายแทนผู้หญิง เพราะใบโพธิ์ที่หล่นยังไม่ถึงพื้น เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นใบโพธิ์คว่ำหรือหงาย ด้วยเหตุนี้ตำราก็บอกให้เก็บใบโพธิ์ที่หล่นใหม่ๆ จึงเป็นที่นิยมกันมากกว่า
เมื่อ ได้ใบโพธิ์ตามตำราดังกล่าวมาแล้วก็เอามาตัดให้ได้ขนาดพอที่จะสอดเข้าไปใน ยันต์หนีบได้ จากนั้นก็เอาใบโพธิ์มาเขียนชื่อ โดยใบโพธิ์คว่ำ (โพธิ์ผู้ชาย) ให้เอามาเขียนชื่อและวันเดือนปีเกิดของผู้ชาย ส่วนใบโพธิ์หงาย (โพธิ์ผู้หญิง) เขียนชื่อและวันเดือนปีเกิดของผู้หญิง วิธีการเขียนชื่อก็แค่ใช้ปากกาธรรมดาเขียนชื่อ และวันเดือนปีเกิด ลงบนด้านมัน ให้มองเห็นได้ขัดเจน จากนั้นเอาใบโพธิ์ทั้งสองใบประกบให้ด้านที่เขียนชื่อติดกัน เวลาสอดใบโพธิ์เข้าไปในยันต์หนีบ ให้ใบโพธิ์ผู้หญิงอยู่ด้านล่าง ใบโพธิ์ผู้ชายอยู่ด้านบน ระวังอย่าให้สลับกัน เพราะมิเช่นนั้น จะกลายเป็นว่าฝ่ายชายหลงใหลฝ่ายหญิงจนหัวปักหัวปำมากกว่าเดิม สรุปง่ายๆ ก็คือคนที่โดนเขียนชื่อทับอยู่ข้างล่างจะต้องหลงคนที่ทับอยู่ข้างบน
|