เหรียญรุ่นแรก ครูบาศรี อริยวังโส วัดป่าบุก ปี 2513
เป็นเหรียญรุ่นแรกลักษณะรูปไข่ เนื้อฝาบาตรกะไหล่ทอง ไม่มีเนื้อกะไหล่เงินหรือเนื้ออื่นใดทั้งสิ้น (ไม่มีชุบเงิน ) สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2513 5,000 เหรียญ สร้างและทำพิธี ณ วิหารวัดป่าบุก โดยมีวัตถุมงคลที่สร้างพร้อมกันคือ พระกริ่ง และพระผงเกศา โดยมีคณาจารย์ร่วมพีธีปลุกเสกอาทิเช่น
ครูบาพรหมจักร วัดพระพุทธบาทตากผ้า ป่าซาง
ครูบาแสง วัดร่องช้าง ป่าซาง
ครูบาจ๋อน วัดป่าตาล ป่าซาง
ครูบาหวัน วัดป่าเหียง ป่าซาง
ครูบาตุ่น วัดบ้านเหล่าพระเจ้าตาเขียว ป่าซาง
พระครูวรพรตพินิจ วัดแม่แรง ป่าซาง(ผู้ให้ข้อมูลนี้)และเกจิคณาจารย์อีกหลายๆท่าน รวมแล้วประมาณ 17 ท่าน (17 วัด)
คณาจารย์ทั้งหมดเข้าทำการปลุกเสกเวลาประมาณ 18.00 น.- 06.00 น. ของวันรุ่งขึ้น ส่วนวันข้อมูลยังไม่แน่ชัดว่าวันไหน แต่ในระหว่างปี พ.ศ. 2513 แน่นอน และช่วงเวลาที่ทำการปลุกเสกวัตถุมงคลนั้นได้เกิดปาฎิหารณ์เกิดขึ้น คือ พระสารีริกธาตุของครูบาศรีอริยวังโส ได้เกิดแสงสว่างแผ่รังสีออกมานานนับชั่วโมง สร้างความตะลึงให้กับคณาจารย์และผู้เข้าร่วมพิธีปลุกเสกเป็นอย่างมาก เป็นที่กล่าวขานกันทั่ว ส่วนประวัติการสร้างเหรียญในตอนนั้นเพื่อเป็นการระลึกถึงพระคุณของอริยสงฆ์ผู้ปฎิบัติดีปฎิบัติชอบอย่างแท้จริง ได้ออกให้บูชาองค์ละ 25 บาท
เหรียญที่ออกมาจากวัดป่าบุกมีอยู่ 5 รุ่น
รุ่น 1 สังเกตง่ายๆจากคำว่า ศรี ศ. ศาลาจะทาบกันกับสระอี เป็นเนื้อฝาบาตรกะไหล่ทอง สร้างต้นปี พ.ศ. 2513 เป็นเหรียญรุ่นแรกลักษณะรูปไข่ เนื้อฝาบาตรกะไหล่ทอง ไม่มีเนื้อกะไหล่เงินหรือเนื้ออื่นใดทั้งสิ้น (ไม่มีชุบเงิน ) สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2513 5,000 เหรียญ สร้างและทำพิธี ณ วิหารวัดป่าบุก โดยมีวัตถุมงคลที่สร้างพร้อมกันคือ พระกริ่ง และพระผงเกศา โดยมีคณาจารย์ร่วมพีธีปลุกเสกอาทิเช่น
ครูบาพรหมจักร วัดพระพุทธบาทตากผ้า ป่าซาง
ครูบาแสง วัดร่องช้าง ป่าซาง
ครูบาจ๋อน วัดป่าตาล ป่าซาง
ครูบาหวัน วัดป่าเหียง ป่าซาง
ครูบาตุ่น วัดบ้านเหล่าพระเจ้าตาเขียว ป่าซาง
พระครูวรพรตพินิจ วัดแม่แรง ป่าซาง(ผู้ให้ข้อมูลนี้)และเกจิคณาจารย์อีกหลายๆท่าน รวมแล้วประมาณ 17 ท่าน (17 วัด)
คณาจารย์ทั้งหมดเข้าทำการปลุกเสกเวลาประมาณ 18.00 น.- 06.00 น. ของวันรุ่งขึ้น ส่วนวันข้อมูลยังไม่แน่ชัดว่าวันไหน เป็นช่วงต้นปีในระหว่างปี พ.ศ. 2513 แน่นอน และช่วงเวลาที่ทำการปลุกเสกวัตถุมงคลนั้นได้เกิดปาฎิหารณ์เกิดขึ้น คือ พระสารีริกธาตุของครูบาศรีอริยวังโส ได้เกิดแสงสว่างแผ่รังสีออกมานานนับชั่วโมง สร้างความตะลึงให้กับคณาจารย์และผู้เข้าร่วมพิธีปลุกเสกเป็นอย่างมาก เป็นที่กล่าวขานกันทั่วสารทิศ ส่วนประวัติการสร้างเหรียญในตอนนั้นเพื่อเป็นการระลึกถึงพระคุณของอริยสงฆ์ผู้ปฎิบัติดีปฎิบัติชอบอย่างแท้จริง ได้ออกให้บูชาองค์ละ 25 บาท
รุ่น 2 เป็นเนื้อทองแดง สร้างท้ายปี พ.ศ. 2513
รุ่น 3 (วงเดือน) เป็นเนื้อฝาบาตรชุบทอง สร้างปี พ.ศ. 252x
รุ่น 4 เนื้อฝาบาตรชุบทอง สร้างปี พ.ศ. 253x
รุ่น 5 เนื้อฝาบาตรชุบทอง สร้างปี พ.ศ. 254x
ประวัติท่านครูบาศรี
ท่านครูบาศรี อริยวังโส นามเดิมชื่อ ศรีวงษ์ จันทร์แรง เกิดวันเสาร์ 10 ธันวาคม 2440 ณ บ้านต้นผึ้ง ม.3 ต.แม่แรง อ.ปากบ่อง(ปัจจุบัน อ.ป่าซาง) จังหวัดลำพูน ครูบาศรีเป็นเด็กวัดได้ 1 ปี เมื่ออายุย่างเข้า15 ปี พ.ศ. 2455 ก็บวชสามเณรที่วัดป่าบุก โดยมีพระครูวัดสันกำแพงงาม ต.มะกอก อ. ป่าซาง เป็นพระอุปัชฌาย์
ท่านครูบาศรีเป็นสามเณรได้ 5 ปีเมื่ออายุครบ 20 ปี พ.ศ. 2460 ตรงกับสงครามโลกครั้งที่ 1 ท่านครูบาศรีก็ได้อุปสมบทเป็นภิกษุ ณ พัทธสีมาที่อุโบสถวัดดอนตอง มีท่านพระครูวัดดอนน้อยเป็นกรรมวาจาจารย์ พระอธิการแสน ณาณวุฒิ วัดหนองเงือกเป็นอนุสาวนาจารย์ หลังจากเป็นเป็นภิกษุแล้วท่านก็ได้ศึกษาธรรมะและปฎิบัติธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด
อนิจจาวตสังขารา สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงเป็นทุกข์ ท่านครูบาศรีรู้ตัวว่าจะมีอายุไม่ถึง 60ปี จะต้องตายแน่นอน เนื่องจากโรคริดสีดวงทวารมันกำเริบมากทุกวัน เหลือทนที่จะอยู่ต่อไปได้ พญามัจจุราชก็รีบเร่งให้ปลงสังขารเข้าสู่นิพพานเสียเถิด ก่อนมรณภาพวันที่ 20 ก.พ. 2494
เก็บศพได้ 7 วันเกิดอภินิหารย์ คณะศรัทธา ครูบาอาจารย์ศิษย์ยานุศิษย์ก็ได้ทำพิธีเก็บศพท่านครูบาศรีไว้ที่กุฏิซึ่งเป็น ที่นอนเดิมของท่าน พอถึงวันที่ 28 ก.พ. 2494 ไมพระภิกษุสามเณรที่อยู่ที่วัดก็ได้ทำวัตรเย็นบนกุฎิ ก็ได้ยินเสียงดังขึ้นและมีแสงสว่างไสวไปทั่วกุฏิเป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก ทำให้พระภิกษุสามเณรทั้งหลายพากันตกตลึงไปตามๆกัน จึงพากันวิ่งออกมาดูก็เห็นเป็นแสงสีเขียวขาวพุ่งขึ้นสูอากาศ แล้วก็ลอยไปทางตัวเมืองลำพูน ทิศตะวันออกแล้วก็หายไป พอถึงวันเดือนเพ็ญหรือเดือนดับขึ้น 15 ค่ำ และแรม 15 ค่ำ ก็มักจะมีแสงสว่างพุ่งขึ้น จึงเป็นที่ประหลาดกับผู้ที่ได้พบเห็น ว่าเป็นธาตุของท่านครูบาศรีนั่นเอง ท่านเป็นอรหันต์แล้ว คณะศรัทธาจึงประชุมตกลงกันเก็บศพของท่านครูบาศรีไว้นานถึง 8 เดือนเศษ
เกิดอภินิหารย์มีแสงพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้าก่อนประชุมเพลิง 1 วัน
ประชุมเสร็จ อัฐิกลายเป็นพระธาตุ ส่วนกระดูกของท่านบางชิ้นก็เกิดเป็นแก้วไปหมดเช่น กระดูกมือ กระดูกเท้าเกิดกลายเป็นแก้วไปหมด แก้วนั้นมีสีคล้ายกับยางไม้ฉำฉา(ก้ามปู) สีเหลืองๆหม่นๆ เดี๋ยวนี้ยังเก็บใส่หม้อบรรจุไว้บนหอสรงน้ำนั่นเอง เวลานี้อัฐิของท่านที่กลายเป็นธาตุมี 250 ดวง (เม็ด) มีใหญ่บ้างเล็กบ้าง ทางคณะศรัทธาจึงจัดให้มีงานประเพณีสรงน้ำพระธาตุของท่านครูบาศรี ตรงกับเดือน 9 เหนือ ขึ้น 12-13 ค่ำเป็นประจำทุกปี ฯลฯ
|