กลองเพล คือ กลองขนาดใหญ่ ใช้ตีเป็นสัญญาณบอกเวลา เพื่อภิกษุสามเณรได้ฉันเพล โบราณาจารย์ ท่านกล่าวว่า เสียงกลองเป็นเสียงที่มีอำนาจ
ตีแล้วสามารถดังไปในระยะไกลมาก การตีกลองจึงการสื่อสารระหว่างชาวบ้านและพระภิกษุ สามเณร การตีกลองเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า นานนับสิบปียี่สิบปี
จึงทำให้กลองนั้นมีความขลังในตัวเอง หนังกลองที่จะนำเอามาทำเป็นเครื่องรางได้
จะต้องเป็นหนังกลองที่ตีจนแตกเท่านั้น จึงถือว่าเป็นวัตถุอาถรรณ์ที่ขลังในตัวเอง
ขั้นตอนและวิธีการทำชูชกหนังกลองเพล
1.จัดตั้งเครื่องบูชาครูด้วยขัน 5 หรือ ขัน 8 พร้อมเงินค่ากำนัล (ก็แล้วแต่) เครื่องบูชาได้แก่ กล้วยหักมุก กล้วยนาไท มะพร้าวอ่อน ขนม นมเนย ดอกไม้เจ็ดสี ใช้ผ้าขาวรองขัน
2.เตรียมแผ่นหนังกลองเพลแตก ที่ตัดแล้วให้มีขนาดพอควร แล้วนำมาไปแช่น้ำว่าน ๑๐๘ ที่หลวงปู่ท่านเป็นผู้ดำริให้จัดหาตามตำราโบราณ โดยจะใช้เวลาแช่นานตามฤกษ์ยาม ตามกำหนดเวลา
3.นำหนังกลองเพลที่แช่น้ำว่าน ๑๐๘ ขึ้นมา แล้วลงอักขระขอมโบราณทับอีกครั้งหนึ่ง จากนั้นจึงทำการเขียนรูปชูชกด้วยหมึกที่ส่วนผสมของ น้ำมันจันทร์ และ สีผึ้งที่หุงขึ้นในวันเพ็ญ ในการเขียนจะต้องมีการสวดพระคาถากำกับไปด้วย
4.เมื่อเขียนเสร็จแล้วจึงนำไปชุบน้ำว่าน ๑๐๘ ซึ่งว่านนี้เรียกว่า พญาว่าน ซึ่งเกิดกลางตอไม้เท่านั้นจึงจะใช้ได้ ซึ่งสรรพคุณพญาว่านนั้น มีพุทธคุณด้านเมตตามหานิยม และสามารถป้องกันคุณไสยที่เกิดจากว่านต่างๆ เมื่อชุบแล้วก็นำมาผึ่งลมให้แห้ง
5.นำแผ่นชูชกที่เขียนเสร็จเรียบร้อย ทั้งหมดมาสวดปลุกเสกด้วยพระคาถาที่กำหนดไว้ เมื่อทำเสร็จแล้วจึงนำไปถวายเป็นกรรมสิทธิ์ของหลวงปู่ญาท่านสวน
ให้ท่านอธิฐานจิตปลุกเสกอีกครั้งหนึ่ง ในวันที่ 15เมษายน 2548 ซึ่งถือว่าเป็นวันพญาวัน จึงเป็นอันเสร็จขั้นตอนการชูชกหนังกลองเพล
|