ชื่อพระ :
~~พระร่วง วัดพระสิงห์ ปี2512 พระดี พิธีใหญ่~~
รายละเอียด :
พระร่วงรุ่นนี้ สร้างขึ้นเป็นอนุสรณ์การสร้างอนุสาวรีย์และพระสถูปเจดีย์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเมืองงาย เมื่อปี ๒๕๑๒
มีใครทราบบ้างว่าอนุสาวรีย์นี้อยู่ที่ไหน เราสร้างมาเพื่อใคร เราสร้างมาทำไม คนสร้างเค้าคิดอย่างไง
อนูสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ถูกสร้างขึ้น ตามคำปรารภที่ว่า(จากหนังสือประวัติการสร้าง พระกริ่งสมเด็จพระนเรศวร มหาราช
เมื่องงาย ปี ๒๕๑๒-ผู้เขียนขอคัดย่อมา) ดังนี้
"ชาติไทยได้ดำรงความเป็นอิสระเสรีจนกระทั่งปัจจุบัน โดยมีวีรชนผู้กล้าเสียสละเลือดเนื้อเป็นชาติพลี
เพื่อลูกหลานและชนรุ่นหลังโดยตลอดมา
บรรดาวีรชนที่นับว่าได้เสียสละ ไม่มีใครจะประกอบวีรกรรมอันสูงส่งเทียบเท่าสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และผุ้ร่วมพระหฤทัย
เช่น สมเด็จพระเอกาทศรถ บรรดาแม่ทัพนายกอง และนักรบผู้กล้าหาญของชาวไทย
ชาวเชียงใหม่ได้ระลึกอยุ่เสมอว่า ที่การพวกเราได้อยู่อย่างเป็นสุขสบายจนกระทั่งทุกวันนี้
ก็ด้วยพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ได้ทรงมีพระเมตตาต่อชาติไทย จึงได้เห็นพ้องต้องกันว่า
ควรจะได้ร่วมกันจัดสร้างสิ่งอันเป็นอนุสรณ์แด่พระองค์ขึ้น
หลังจากพิจารณาหารือกันแล้วก็เห็นว่า บริเวณบ้านเมืองงาย ดำบลเมืองงาย อำเภอเชียงดาว
เป็นสถานที่ที่พระองค์ได้ทรงตั้งทัพตั้งค่าย ขึ้น...จึงสมควรจะได้สร้างพระสถูปเจดีย์ที่ได้สูญเสียหักพังลงไป
คณะผู้สร้างขณะนั้น อันมีพันตำรวจเอก นิรันดร ชัยนาม ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ขณะนั้นได้นำความขึ้นกราบบังคมทูล
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาติ ดำเนินการก่อสร้างพระสถูปเจดีย์ และพระอนุสาวรีย์
ซึ่งพระองค์ได้มีพระมหากรุณาธิคุณฯโปรดเกล้าฯตามที่ขอพระราชทานไป และคณะรัฐมนตรีก็ได้เห็นชอบในหลักการแล้ว....
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ
ได้เสด็จพระราชดำเนินไปบวงสรวงดวงพระวิญญาณสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๐๘ ณ.ที่แห่งนี้
และเมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๑๑ ได้ทรงเจิมและทรงสุหร่ายศิลาฤกษ์และแผ่นอิฐซึ่งได้มาจากพระเจดีย์องค์เดิม และ
นอกจากนั้นพระองค์ในวันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ.๒๕๑๒ ได้เสด็จฯ มาเป็นประธานในพระราชพิธีพุทธาภิเษก
พระร่วงยืนหลังรางปืน มีขนาดกว้าง 1.6 ซม. สูง 5.6 ซม. ให้เช่าบูชาองค์ละ 10 บาท ได้มีการสร้าง 2 แบบ
คือ ชนิดหลังรางปืน สร้างจำนวน 98,000 องค์ และหลังแบบ อีกจำนวน 2,000 องค์ รวมเป็น 100,000 องค์
ด้วยพิมพ์พระร่วงหลังรางปืนมีศิลปะของขอมลพบุรี ด้วนหน้าองค์พระเป็นรูปพระพุทธทรงจักรพรรดิมาลา
ที่เรียกกันทั่วไปว่า ทรงเทริด มีความอลังการวิภูษิตากรณ์ อยู่ในอิริยาบถประทับยืน ปางอภัยมุทธรา(ปางประทานอภัย)
องค์พระพุทธปฏิมาเป็นรูปนูนสูงลอยเด่น ทรงเครื่องราชาภรณ์มีมงกุฏและเครื่องทรงประดับนานาลังการ
อยู่ภายในซุ้มเรือนแก้ว มีลวดลายแผ่วเบาแต่งดงามยิ่ง เสริมให้องค์พระเด่นสง่างามยิ่งขึ้น ดุจดังองค์จอมจักรพรรดิ
แสดงออกถึงอำนาจบารมีความยิ่งใหญ่เกรียงไกร ด้วยประการทั้งปวง เฉกเช่นเดียวกับองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ด้านหลัง เป็นร่องคล้ายรางปืน ส่วนอีกแบบเป็นหลังแบบรูปพระเหมือนด้านหน้า แต่จมลึกลงไป
พิธีพุทธาษิเษก พระกริ่งนเรศวรเมืองงายครั้งนั้น ได้จัดให้มีขึ้นเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2512
ณ.วิหารวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ในพิธีพุทธาษิเษกครั้งนี้ พ.ต.อ.นิรันดร ชัยนาม
ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ประธานคณะกรรมการจัดสร้างฯ ได้กราบบังคมทูลฯ
ขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เสร็จทรงเป็นประธานในพิธีเททองพระพุทธสิหิงค์และนมัสการสมเด็จพระวันรัตเป็นประธานในพิธีเททองพระกริ่งนเรศวรเมืองงาย
และพระร่วงหลังรางปืน รายนามพระเกจิอาจารย์ ที่ร่วมในพิธีพุทธาษิเษก
1. หลวงพ่อคล้าย วัดจันดี นครศรีธรรมราช
2. พระเทพวิสุทธิเมธี(เจีย) วัดพระเชตุพน กทม.
3. พระครูวิริยะกิติ(โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี กทม.
4. พระครูโสภณกัลยาณมิตร(เส่ง) วัดกัลยานิมิตร กทม.
5. พระครูปลัดสงัดคณิสสโร วัดพระเชตุพน กทม.
6. หลวงพ่อก๊ก วัดดอนขมิ้น กาญจนบุรี
7. หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติการาม อยุธยา
8. หลวงพ่อแจ่ม วัดวังแดงเหนือ อยุธยา
9. หลวงพ่อนอ วัดท่าเรือ อยุธยา
10. หลวงพ่อเทียม วัดกษัตรา อยุธยา
11. พระครูพิพัฒน์สิริธร(หลวงพ่อคง) วัดบ้านสวน พัทลุง
12. พระอาจารย์ชินะวโรภิกขุ(หลวงพ่อนำ) วัดดอนศาลา พัทลุง
13. หลวงพ่อเล็ก วัดดินแดง นครปฐม
14. หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์ ลพบุรี
15. หลวงพ่อชื่น วัดตำหนักเหนือ นนทบุรี
16. พระครูวิสัยโสภณ(หลวงพ่อทิม) วัดช้างไห้ ปัตตานี นอกจากท่านจะมาร่วมพิธีพุทธาภิเษกครั้งนี้แล้ว
ยังได้มอบพระหลวงปู่ทวดเนื้อว่านที่สร้างไว้ตั้งแต่ปี 2506 มอบให้แก่ทางวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร เพื่อมร่วมทำบุญกุศลอีกด้วย
17. หลวงพ่อแดง วัดบางเกาะเทพศักดิ์ สมุทรสงคราม
18. หลวงพ่อจ้วน วัดเขาลูกช้าง เพชรบุรี
19. หลวงพ่อเตียง วัดเขารูปช้าง พิจิตร
20. หลวงพ่อจ้อน วัดเจ็ดริ้ว สมุทรสาคร
21. พระวิบูลย์เมธาจารย์ วัดดอนเจดีย์ สุพรรณบุรี
22. พระอาจารย์สมคิด วัดรังโฆษิตาราม สุพรรณบุรี
23. พระราชมุนี วัดปทุมวนาราม กทม.
24. พระอริยเมธี วัดปทุมวนาราม กทม.
25. พระครูพุทธิวัฒน์ วัดธรรมจักร พิษณุโลก
26. พระครูอภัยจริยานิยม(ตุ้ย) วัดใหม่ พิษณุโลก
27. ครูบาวัง วัดบ้านเด่น ตาก
28. พระราชวิสุทธิ วัดสวนดอก ลำปาง
29. พระอาจารย์สม วัดหัวข่วง ลำปาง
30. พระอาจารย์ชุม วัดเกาะ ลำปาง
31. หลวงพ่อเมือง วัดท่าแหน ลำปาง
32. พระราชปัญญาโสภณ วัดราชนัดดาราม กทม.
33. พระครูพิพัฒน์วิหารกิจ วัดราชนัดดาราม กทม.
34. หลวงพ่อเปี่ยม วัดเทพธิดา กทม.
35. พระพิธีธรรม 4 รูป วัดราชนัดดา กทม.
36. พระพิธีธรรมรามัญ 4 รูป วัดตำหนักเหนือ นนทบุรี
37. พระพิธีธรรม ภาคพายัพ สำนักจังหวัดเชียงใหม่ เชียงใหม่
สำหรับพิธีพุทธาภิเษกพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์นเรศวรเมืองงาย พระร่วงยืนหลังรางปืนฯลฯ ครั้งนี้
เจ้าพิธีในการประกอบพิธีพุทธาภิเษกได้แก่พระอาจารย์ไสว สุมโน วัดราชนัดดารามวรวิหาร กทม.
ซึ่งท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญในการสร้างพระกริ่งมาหลายรุ่น ครั้งสุดท้ายได้สร้างพระกริ่งนเรศวรวังจันทร์
ร่วมกับ พล.ต.ต.ยรรยง สท้านไตรภพ รองจเรตำรวจ ให้แก่สมาคมศิษย์เก่าพิษณุโลกพิทยาคม จ.พิษณุโลก
เมื่อวันที่ 3 ก.พ.2511 ซึ่งได้รับความนิยมจากผู้ที่นิยมพระเครื่องทั่วไปอย่างสูง ไม่เพียงพอแก่ความต้องการทุกครั้ง
ปรากฏการณ์ที่ไม่มีใครคาดคิดถึงว่าจะเกิดขึ้น เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อตอนเย็นของวันที่ 14 มกราคม 2513 เวลา 18.00 น.
ก่อนที่จะเริ่มพิธีในตอนกลางคืนนั้น หลวงพ่ออั้น แห่งวัดพระญาติการาม จ.พระนครศรีอยุธยา
เกิดเป็นลมโดยปัจจุบันทันด่วนในขณะที่พักผ่อนอยู่ในศาลาสมเด็จ
ภายในบริเวณวัดพระสิงห์ด้านเหนือต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลนครเชียงใหม่ ครั้นเวลา 19.00 น. ก็ถึงแก่มรณภาพ
ณ.โรงพยาบาลนครเชียงใหม่ แพทย์ได้พยายามช่วนจนสุดความสามารถ แต่ก็ไม่สามารถช่วยเหลือชีวิตของหลวงพ่ออั้นไว้ได้
การมรณะภาพของหลวงพ่ออั้น เป็นที่เสียใจอย่างสุดซึ้งต่อคณะกรรมการจัดสร้างวัตถุมงคลครั้งนี้ ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่
ประธานคณะกรรมการจัดสร้างฯ ได้รีบรุดมาคารวะศพรวมทั้งเจ้าหน้าที่กรรมการอื่นๆ อีกมาก อีกทั้งพระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ของจังหวัดเชียงใหม่
ต่างก็เศร้าเสียใจต่อการจากไปของหลวงพ่ออั้นเป็นอย่างยิ่ง
เนื่องจากอยู่ในระหว่างพิธีพุทธาพิเษก ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่จึงได้ขอฝากศพไว้ยังห้องน้ำแข็ง
ของโรงพยาบาลนครเชียงใหม่เป็นการชั่วคราวก่อน
หลังจากเสร็จพิธีในวันที่ 15 มกราคมแล้ว จะได้ทำพิธีกุศลถวายต่อไป
ข่าวการมรณะภาพของหลวงพ่ออั้น ได้แผ่กระจายออกไปอย่างรวดเร็ว ยังบรรดาประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่
ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ก็ได้โทรเลขถึงเจ้าคณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยาทราบทันทีในค่ำวันเดียวกัน
ครั้งวันรุ่งขึ้นก็ได้รับโทรเลข จากเจ้าคณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยาขอนำศพหลวงพ่ออั้นกลับจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
แต่เนื่องจากติดพิธีพุทธาภิเษก จึงได้ขอเลื่อนกำหนดเวลานำศพหลวงพ่ออั้นกลับไปในวันที่ 16 มกราคม 2512
ทางจังหวัดพระนครศรีอยุธยามีความเศร้าสลดเสียใจอย่างใหญ่หลวง ต่อการจากไปของหลวงพ่ออั้น
พระเกจิอาจารย์ชื่อดังรูปหนึ่งของเมืองไทย หลวงพ่ออั้นมีชื่อเสียงมาก มีผู้คนเคารพนับถือทั่วประเทศ
ระหว่างที่ยังมีชิวิตอยู่ได้สร้างคุณงามความดีทั้งในด้านการพระศาสนา มีจิตเมตตาต่อลูกศิษย์และคนทั่วไป
การสร้างพระเครื่องพระบูชา ณ.วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร จ.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2512
มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดในภาคเหนือ วัดถุมงคลที่สร้างขึ้นทุกอย่างได้รับความนิยม
จากประชาชนอย่างล้นหลามโดยระยะเวลาเพียง 15 วันที่เปิดให้เช่าบูชาก็ได้รับการต้อนรับอย่างดี
จนคณะกรรมการต้องปิดงดการให้เช่า วัตถุมงคลส่วนหนึ่งมอบให้ทหารกับตำรวจที่ปฏิบัติราชการชายแดน
และอีกส่วนหนึ่งได้นำไปบรรจุไว้ในพระสถูปเจดีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชด้วย
ณ.วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร เพื่อทรงเททองเป็นปฐมฤกษ์ ด้วยพระบารมีของล้นเกล้าล้นกระหม่อมทั้งสองพระองค์
ประชาชนได้มาร่วมพิธีและเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทอย่างล้นหลาม และประชาชนทั่วประเทศได้สั่งจองบูชา พระเครื่อง
และสิ่งที่สร้างขึ้นในคราวนี้จนหมด สามารถมีทุนเพียงพอในการที่จะนำไปก่อสร้างพระสถูปเจดีย์และพระอนุสาวรีย์ได้
|
ราคาสูงสุด ขณะนี้ :
800 บาท
ราคาที่ต้องเพิ่มขึ้น ขั้นต่ำ :
50 บาท
เงื่อนไขการรับประกัน :
รับประกันความแท้ตลอดไป***รับประกันความพอใจ 7 วัน
ผู้ตั้งประมูล :
อาคม อูปทอง
ที่อยู่ :
123 ม.11 ต.ท่าวังตาล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ไทย
เบอร์โทรติดต่อ :
0866710373, 0866710373
E-mail :
ek_civiblue@hotmail.co.th
เลขที่ บัญชี :
1032708109
ธนาคาร :
ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
วันที่ :
Mon 13, Feb 2012 06:51:47