ประวัติหลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว (พระครูกรุณาวิหารี ปัญญาธโร)
หลวงปู่เผือก ท่านเกิดที่บ้านคลองสำโรง ตำบลบางพลี สมุทรปราการ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2412 โยมบิดาชื่อนายทองสุข โยมมารดาชื่อ นางไข่ เมื่ออายุได้ 13 ปี บิดาได้นำไปฝากเรียนหนังสือกับท่านอาจารย์อิ่ม อินทสโร ที่วัดกิ่งแก้ว จนอายุครบ 15 ปี ก็ได้กลับมาช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพ และพออายุได้ 18 ปี ก็ถูกเกณฑ์เป็นทหารเรือ รับราชการอยู่ 2 ปี ต่อมาพอปลดประจำการแล้ว ในปี พ.ศ.2433 จึงได้อุปสมบทที่วัดกิ่งแก้ว โดยมีหลวงปู่ทอง วัดราชโยธา เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์อิ่ม อินทสโร วัดกิ่งแก้วเป็นพระกรรมวาจาจารย์ได้รับฉายาว่า "ปัญญาธโร"
เมื่ออุปสมบทแล้วหลวงปู่เผือก ท่านก็ได้ศึกษาพระธรรมวินัย อักขระขอมและวิปัสสนากรรมฐาน โดยมีพระอาจารย์อิ่ม เป็นผู้อบรมสั่งสอน จนกระทั่งมีความรู้แตกฉาน ครั้นต่อมาในปีพ.ศ. 2442 พระอาจารย์อิ่ม ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสได้มรณภาพลง ที่ประชุมสงฆ์และชาวบ้านถิ่นนั้นมีความเห็นพ้องต้องกัน อาราธนาหลวงปู่เผือก ขึ้นเป็นเจ้าอาวาส วัดกิ่งแก้วสืบไป จึงได้ทำหนังสือขอไปทางกรมการศาสนาและได้รับตราตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดกิ่ง แก้ว
หลังจากที่หลวงปู่เผือก ท่านได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสแล้ว ท่านก็เริ่มทำการบูรณะวัดเป็นการใหญ่ ตอนระยะแรกๆ ก็มีคนช่วยไม่กี่คน ต่อมาท่านเอ่ยปากขอร้องใครเขาก็เต็มใจช่วย ไม่ว่าจะเป็นกิจการใดๆ หลวงปู่เผือกเอ่ยปากจะสร้างโน่นสร้างนี่ พอทราบถึงชาวบ้านต่างๆ ก็มาช่วยแรงช่วยทุนทรัพย์ นำวัสดุสิ่งของมาให้ เนื่องจากชาวบ้านล้วนศรัทธาในตัวหลวงปู่เผือกเป็นอย่างมากนั่นเอง
หลวงปู่เผือกท่านได้สร้างพระอุโบสถ พระพุทธชินราชจำลองขนาดหน้าตัก 5 ศอกเศษ เป็นพระประธานประจำพระอุโบสถ วิหาร ศาลาการเปรียญ มณฑป โรงเรียนพระปริยัติธรรม โรงเรียนประชาบาลสำหรับการศึกษาเล่าเรียนของกุลบุตร-ธิดาแถบนั้น หลวงปู่เผือกท่านได้ลงมือสอนพระปริยัติธรรม และวิปัสสนากรรมฐานแก่พระภิกษุ สามเณร และอุบาสก อุบาสิกาอีกด้วย หลวงปู่เผือกท่านได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบล ในปี พ.ศ. 2443 ปี พ.ศ. 2446 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระสมุห์ฐานานุกรมของพระครูสุนทรสมุทร เจ้าคณะจังหวัดสมุทรปราการ ปี พ.ศ. 2446 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌายะ ในปี พ.ศ. 2480 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็น "พระครูกรุณาวิหารี" พอปี พ.ศ. 2487 ก็ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการสงฆ์ ในอำเภอบางพลี ต่อมาในปีพ.ศ. 2496 หลวงปู่เผือกท่านก็เริ่มอาพาธ จนถึงวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2501 ก็มรณภาพลง ด้วยอาการสงบ สิริอายุได้ 89 ปี พรรษาที่ 69 เป็นที่โศกเศร้าเสียใจของชาวบางพลีเป็นอย่างมาก
ในสมัยที่หลวงปู่เผือก ท่านยังมีชีวิตอยู่นั้น ท่านได้สร้างวัตถุมงคลไว้ให้แก่ศิษย์หลายอย่าง เช่น พระเนื้อผง พระเนื้อผงผสมว่าน พระสมเด็จ พระนางพญา พระปิดตา ส่วนเหรียญท่านก็สร้างเหรียญฝาบาตร และพระพุทธชินราช พระรูปเหมือน รูปถ่าย ตระกรุด แหวน ลูกอม ผ้ายันต์ ฯลฯ ในวัตถุมงคลของหลวงปู่เผือกนั้น ที่รู้จักกันแพร่หลายกันมากๆ ก็คือ พระผงรุ่นขุดสระ ซึ่งมีทั้งพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก มูลเหตุในการสร้างก็คือ พื้นที่ของวัดส่วนใหญ่เป็นที่ลุ่ม และหลวงปู่เผือกท่านก็ดำริจะสร้างโบสถ์จึงได้ขอแรงชาวบ้านในละแวกนั้นให้มาช่วย กันขุดดินนำไปถมในที่ลุ่มและปรับพื้นที่ที่จะสร้างโบสถ์ พื้นที่ที่ถูกขุดดินไปเป็นบ่อเป็นสระใหญ่ สำหรับเก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง และเพื่อเป็นอนุสรณ์สินน้ำใจที่บรรดาศิษย์และชาวบ้าน ได้มาช่วยกันขุดและขนดินปรับพื้นที่ให้ทางวัด หลวงปู่ท่านจึงได้สร้างพระเนื้อผงขึ้นมาจำนวนหนึ่ง แจกเป็นของที่ระลึก ชาวบ้านจึงเรียกพระรุ่นนี้ว่า "พระรุ่นขุดสระ" และเรียกกันมาจนทุกวันนี้
วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม
หลวงปู่เผือก เป็นพระคณาจารย์ชื่อดังองค์หนึ่งของชาวสมุทรปราการ วัตถุมงคลของท่านมีอยู่เยอะมาก เช่น เหรียญ รูปหล่อ พระกริ่ง พระเนื้อผง และเครื่องรางของขลังอีกมากมาย และที่ได้รับความนิยมสูงสุด คือ พระผงรุ่นขุดสระ สร้างปี 2460-2465 มี 3 พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์เล็ก และพิมพ์สามเหลี่ยม
พุทธคุณที่เล่าสืบทอดกันมา
พุทธคุณในเหรียญรุ่นนี้เด่นทาง เมตตามหานิยม
สถานที่ท่องเที่ยวประวัติหลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว (พระครูกรุณาวิหารี ปัญญาธโร)
หลวงปู่เผือก ท่านเกิดที่บ้านคลองสำโรง ตำบลบางพลี สมุทรปราการ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2412 โยมบิดาชื่อนายทองสุข โยมมารดาชื่อ นางไข่ เมื่ออายุได้ 13 ปี บิดาได้นำไปฝากเรียนหนังสือกับท่านอาจารย์อิ่ม อินทสโร ที่วัดกิ่งแก้ว จนอายุครบ 15 ปี ก็ได้กลับมาช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพ และพออายุได้ 18 ปี ก็ถูกเกณฑ์เป็นทหารเรือ รับราชการอยู่ 2 ปี ต่อมาพอปลดประจำการแล้ว ในปี พ.ศ.2433 จึงได้อุปสมบทที่วัดกิ่งแก้ว โดยมีหลวงปู่ทอง วัดราชโยธา เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์อิ่ม อินทสโร วัดกิ่งแก้วเป็นพระกรรมวาจาจารย์ได้รับฉายาว่า "ปัญญาธโร"
เมื่ออุปสมบทแล้วหลวงปู่เผือก ท่านก็ได้ศึกษาพระธรรมวินัย อักขระขอมและวิปัสสนากรรมฐาน โดยมีพระอาจารย์อิ่ม เป็นผู้อบรมสั่งสอน จนกระทั่งมีความรู้แตกฉาน ครั้นต่อมาในปีพ.ศ. 2442 พระอาจารย์อิ่ม ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสได้มรณภาพลง ที่ประชุมสงฆ์และชาวบ้านถิ่นนั้นมีความเห็นพ้องต้องกัน อาราธนาหลวงปู่เผือก ขึ้นเป็นเจ้าอาวาส วัดกิ่งแก้วสืบไป จึงได้ทำหนังสือขอไปทางกรมการศาสนาและได้รับตราตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดกิ่ง แก้ว
หลังจากที่หลวงปู่เผือก ท่านได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสแล้ว ท่านก็เริ่มทำการบูรณะวัดเป็นการใหญ่ ตอนระยะแรกๆ ก็มีคนช่วยไม่กี่คน ต่อมาท่านเอ่ยปากขอร้องใครเขาก็เต็มใจช่วย ไม่ว่าจะเป็นกิจการใดๆ หลวงปู่เผือกเอ่ยปากจะสร้างโน่นสร้างนี่ พอทราบถึงชาวบ้านต่างๆ ก็มาช่วยแรงช่วยทุนทรัพย์ นำวัสดุสิ่งของมาให้ เนื่องจากชาวบ้านล้วนศรัทธาในตัวหลวงปู่เผือกเป็นอย่างมากนั่นเอง
หลวงปู่เผือกท่านได้สร้างพระอุโบสถ พระพุทธชินราชจำลองขนาดหน้าตัก 5 ศอกเศษ เป็นพระประธานประจำพระอุโบสถ วิหาร ศาลาการเปรียญ มณฑป โรงเรียนพระปริยัติธรรม โรงเรียนประชาบาลสำหรับการศึกษาเล่าเรียนของกุลบุตร-ธิดาแถบนั้น หลวงปู่เผือกท่านได้ลงมือสอนพระปริยัติธรรม และวิปัสสนากรรมฐานแก่พระภิกษุ สามเณร และอุบาสก อุบาสิกาอีกด้วย หลวงปู่เผือกท่านได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบล ในปี พ.ศ. 2443 ปี พ.ศ. 2446 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระสมุห์ฐานานุกรมของพระครูสุนทรสมุทร เจ้าคณะจังหวัดสมุทรปราการ ปี พ.ศ. 2446 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌายะ ในปี พ.ศ. 2480 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็น "พระครูกรุณาวิหารี" พอปี พ.ศ. 2487 ก็ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการสงฆ์ ในอำเภอบางพลี ต่อมาในปีพ.ศ. 2496 หลวงปู่เผือกท่านก็เริ่มอาพาธ จนถึงวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2501 ก็มรณภาพลง ด้วยอาการสงบ สิริอายุได้ 89 ปี พรรษาที่ 69 เป็นที่โศกเศร้าเสียใจของชาวบางพลีเป็นอย่างมาก
ในสมัยที่หลวงปู่เผือก ท่านยังมีชีวิตอยู่นั้น ท่านได้สร้างวัตถุมงคลไว้ให้แก่ศิษย์หลายอย่าง เช่น พระเนื้อผง พระเนื้อผงผสมว่าน พระสมเด็จ พระนางพญา พระปิดตา ส่วนเหรียญท่านก็สร้างเหรียญฝาบาตร และพระพุทธชินราช พระรูปเหมือน รูปถ่าย ตระกรุด แหวน ลูกอม ผ้ายันต์ ฯลฯ ในวัตถุมงคลของหลวงปู่เผือกนั้น ที่รู้จักกันแพร่หลายกันมากๆ ก็คือ พระผงรุ่นขุดสระ ซึ่งมีทั้งพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก มูลเหตุในการสร้างก็คือ พื้นที่ของวัดส่วนใหญ่เป็นที่ลุ่ม และหลวงปู่เผือกท่านก็ดำริจะสร้างโบสถ์จึงได้ขอแรงชาวบ้านในละแวกนั้นให้มาช่วย กันขุดดินนำไปถมในที่ลุ่มและปรับพื้นที่ที่จะสร้างโบสถ์ พื้นที่ที่ถูกขุดดินไปเป็นบ่อเป็นสระใหญ่ สำหรับเก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง และเพื่อเป็นอนุสรณ์สินน้ำใจที่บรรดาศิษย์และชาวบ้าน ได้มาช่วยกันขุดและขนดินปรับพื้นที่ให้ทางวัด หลวงปู่ท่านจึงได้สร้างพระเนื้อผงขึ้นมาจำนวนหนึ่ง แจกเป็นของที่ระลึก ชาวบ้านจึงเรียกพระรุ่นนี้ว่า "พระรุ่นขุดสระ" และเรียกกันมาจนทุกวันนี้
วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม
หลวงปู่เผือก เป็นพระคณาจารย์ชื่อดังองค์หนึ่งของชาวสมุทรปราการ วัตถุมงคลของท่านมีอยู่เยอะมาก เช่น เหรียญ รูปหล่อ พระกริ่ง พระเนื้อผง และเครื่องรางของขลังอีกมากมาย และที่ได้รับความนิยมสูงสุด คือ พระผงรุ่นขุดสระ สร้างปี 2460-2465 มี 3 พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์เล็ก และพิมพ์สามเหลี่ยม
พุทธคุณที่เล่าสืบทอดกันมา
พุทธคุณในเหรียญรุ่นนี้เด่นทาง เมตตามหานิยม
|