พระล้านนาดอทคอม แหล่งรวมพระเครื่องเมืองเหนือ
พระเกจิอาจารย์ทั่วไป

เหรียญพระพุทธชินราช หลังสมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น) ปี2517


เหรียญพระพุทธชินราช หลังสมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น) ปี2517


เหรียญพระพุทธชินราช หลังสมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น) ปี2517

ชื่อพระ :
 เหรียญพระพุทธชินราช หลังสมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น) ปี2517
รายละเอียด :
 

เหรียญรมดำสวยกิ๊บ หลวงปู่โต๊ะท่านเป็นประธานปลุกเสก พลังเข้มแข็งแน่นอน หายากครับไม่

ค่อยเจอ 

 
ราคาเปิดประมูล :
 100 บาท
ราคาสูงสุด ขณะนี้ :
 100 บาท
ราคาที่ต้องเพิ่มขึ้น ขั้นต่ำ :
 100 บาท

เงื่อนไขการรับประกัน :
 เก๊คืนเต็ม

ผู้ตั้งประมูล :
 wichai y.dithee
ที่อยู่ :
 30/90หมู่1 ถนนพระราม2 ซอย 49 แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กทม. thailand (ID LINE : hanuman99)

เบอร์โทรติดต่อ :
  0918849213, 0918849213
E-mail :
 chutchaiy@yahoo.com

ชื่อบัญชี :
 นายอภิชัย แย้มแก้วดิถึ
เลขที่ บัญชี :
 1180342568
ประเภท บัญชี :
 ออมทรัพย์
ธนาคาร :
 ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
สาขา :
 สีลม

วันที่ :
 Wed 7, Sep 2011 08:58:11
โดย : hanuman2499    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   Wed 7, Sep 2011 08:58:11
 








 

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณฺณสิริ)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช
(ปุ่น ปุณฺณสิริ)
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (ปุ่น ปุณฺณสิริมหาเถร).jpg เกิด พ.ศ. 2439
อุปสมบท พ.ศ. 2460
มรณภาพ 7 ธันวาคม 2517
พรรษา 57 อายุ 77 วัด วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม จังหวัด กรุงเทพมหานคร สังกัด มหานิกาย วุฒิการศึกษา น.ธ.โท,ป.ธ.๖ ตำแหน่งทางคณะสงฆ์ สมเด็จพระสังฆราช


สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณฺณสิริมหาเถร) เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 17 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ. 2515 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงดำรงตำแหน่งอยู่ 1 พรรษาเศษ สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2517 พระชนมายุได้ 77 พรรษา

[แก้] พระประวัติ

พระองค์มีพระนามเดิมว่า ปุ่น ประสูติเมื่อปี พ.ศ. 2439 ที่อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี การศึกษาในเบื้องต้น เรียนกับบิดาของท่าน จนอ่านออกเขียนได้ แล้วจึงไปเรียนภาษาบาลี อักษรขอม และมูลกัจจายน์ (กับพระอาจารย์หอม และอาจารย์จ่าง) ที่วัดสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี

เมื่อพระชนม์ได้ 10 พรรษา (พระอาจารย์หอมได้พามาฝากให้เป็นศิษย์พระอาจารย์ป่วน) ได้มาอยู่ที่วัดมหาธาตุ ฯ เมื่อพระชนม์ได้ 16 พรรษา ได้ย้ายมาอยู่กับพระอาจารย์สด (พระมงคลเทพมุนี วัดปากน้ำภาษีเจริญ) ณ วัดพระเชตุพน แล้วกลับไปบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี และได้อุปสมบท เมื่อปี พ.ศ. 2460

พ.ศ. 2456 สอบได้นักธรรมตรี พ.ศ. 2458 สอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค ขณะเป็นสามเณร พ.ศ. 2462 สอบได้นักธรรมโท พ.ศ. 2463, 2466, 2470 สอบได้เปรียญธรรม 4,5 และ 6 ประโยค ตามลำดับ พ.ศ. 2483 เป็นกรรมการแปลพระไตรปิฎก แผนกพระวินัย เป็นภาษาไทย พ.ศ. 2484 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะ ชั้นสามัญ ที่ "พระอมรเวที" เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนฯ เป็นคณาจารย์เอกทางเทศนา พ.ศ. 2486 เป็นเจ้าคณะตรวจการณ์ภาคบูรพา (8 จังหวัด ภาคตะวันออก) เป็นเจ้าคณะตรวจการณ์ภาค 2 (10 จังหวัดภาคกลาง) และเป็นกรรมการสังคายนาพระธรรมวินัย พ.ศ. 2488 เป็นสมาชิกสังฆสภา พ.ศ. 2489 เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ "พระราชสุธี" พ.ศ. 2490 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่ "พระเทพเวที" รักษาการเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพน และเป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. 2491 เป็นสังฆมนตรีสมัยที่ 1 เป็นเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพน เป็นกรรมการ และเลขาธิการคณะกรรมการสังมาณัติระเบียบพระคุณาธิการ และได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ ชั้นธรรม ที่ "พระธรรมดิลก" พ.ศ. 2492 เป็นเจ้าคณะตรวจการภาค 2 (ภาคบูรพาเดิม) และเป็นสภานายกสภาพระธรรมกถึก พ.ศ. 2493 เป็นสังฆมนตรีสมัยที่ 2 พ.ศ. 2494 เป็นสังฆมนตรีสมัยที่ 3 และ 4 เป็นเจ้าคณะตรวจการภาค 7 (8 จังหวัดภาคกลาง) เป็นกรรมการเจ้าคณะตรวจการภาค และเป็นอนุกรรมการอบรมศีลธรรมและวัฒนธรรมแก่ข้าราชการ และประชาชน พ.ศ. 2499 เป็นพระราชาคณะ เจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ ที่ "พระธรรมวโรดม" และเป็นสังฆมนตรี (ว่าการองค์การสาธารณูปการ) สมัยที่ 5 พ.ศ. 2503 เป็นสังฆมนตรี (ว่าการองค์การเผยแผ่) สมัยที่ 6 พ.ศ. 2504 ได้รับโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็น สมเด็จพระราชาคณะ ชั้นสุพรรณบัฏ ที่ "สมเด็จพระวันรัต" และเป็นกรรมการพิจารณาหลักสูตรการศึกษาปริยัติธรรมแผนกบาลี พ.ศ. 2506 เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม พ.ศ. 2508 เป็นเจ้าคณะใหญ่หนกลาง และรักษาการเจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก หนเหนือ และหนใต้ พ.ศ. 2509 เป็นแม่กองงานพระธรรมทูต พ.ศ. 2510 เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช ระหว่างที่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฐายี) เสด็จเยือนประเทศศรีลังกา พ.ศ. 2515 เป็นเจ้าคณะนครหลวงกรุงเทพธนบุรี

[แก้] พระกรณียกิจ

Search Wikisource วิกิซอร์ซ มีเนื้อความต้นฉบับเกี่ยวกับ:

ผลงานของพระองค์ นอกจากที่ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติงานตามตำแหน่งหน้าที่ และงานพิเศษต่าง ๆ ที่ได้รับมอบอย่างครบถ้วนแล้ว ยังมีงานด้านพระศาสนาที่ทรงริเริ่มพัฒนาอีกเป็นจำนวนมาก กล่าวคือ งานด้านการก่อสร้าง และปฏิสังขรณ์ ทรงก่อสร้างและปฏิสังขรณ์ทั้งปูชนียสถาน เช่น พระอาราม สาธารณสถาน เช่น พิพิธภัณฑ์ โรงเรียน โรงพยาบาล ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเป็นจำนวนมาก

งานด้านมูลนิธิ ทรงก่อตั้งและสนับสนุนมูลนิธิ ที่ดำเนินงานด้านธรรม ด้านวิชาการ และการศึกษา และด้านสาธารณูปการ เป็นจำนวนมาก งานด้านพระนิพนธ์ มีพระธรรมเทศนาจำนวนมาก วันสำคัญทางศาสนา ประมวลอาณัติคณะสงฆ์ สารคดี เช่น สู่เมืองอนัตตา พุทธชยันตี เดีย-ปาล (อินเดีย-เนปาล) สู่สำนักวาติกัน และนิกสัน และบ่อเกิดแห่งกุศล คือ โรงพยาบาล เป็นต้น ธรรมนิกาย เช่น จดหมายสองพี่น้อง สันติวัน พรสวรรค์ หนี้กรรมหนี้เวร ไอ้ตี๋ ดงอารยะ เกียรติกานดา คุณนายชั้นเอก ความจริงที่มองเห็น ความดีที่น่าสรรเสริญ อภินิหารอาจารย์แก้ว กรรมสมกรรม งานด้านต่างประเทศ ทรงไปร่วมประชุมฉัฎฐสังคายนาพระไตรปิฎก ณ ประเทศพม่า เมื่อปี พ.ศ. 2497 ไปร่วมงานฉลองพุทธชยันตี (25 พุทธศตวรรษ) ณ ประเทศศรีลังกา เมื่อปี พ.ศ. 2499 นอกจากนี้ยังทรงไป และสังเกตการณ์ พระศาสนาและเยือนวัดไทยในต่างประเทศ อีกเป็นจำนวนมาก
 
โดย : hanuman2499    [Feedback +0 -0] [+0 -0]     [ 1 ] Wed 7, Sep 2011 09:11:34

 
ประมูล เหรียญพระพุทธชินราช หลังสมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น) ปี2517 : พระล้านนา.คอม เว็บ พระเครื่อง พระบูชา อันดับหนึ่ง ของภาคเหนือ ออกแบบเว็บไซต์โดย 2WinWeb design บริการรับทำเว็บไซต์
Copyright Pralanna.com All right reserved. © สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดย บริษัท พระล้านนาดอทคอม จำกัด.