ลูกอมผงพรายกุมาร หลวงปู่ปัน วัดแม่ยะ จังหวัดตาก ตอกโค๊ตใบพัด
ทางวัดนำออกมาให้บูชาเมื่อปี พ.ศ.2521 มวลสารที่สำคัญ ผสมผงพรายกุมารหลวงปู่ทิม ที่ได้จากลูกอมผงพลายกุมาร ผงสัตตนาเค ของหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ที่ลูกศิษย์ของท่านคือ คุณชินพร และคุณสุเทพ ได้นำผงที่เหลือสะสมไว้จำนวนหนึ่ง หลังจากหลวงปู่ละสังขารแล้ว จึงได้นำไปมอบให้ หลวงปู่ปัน โพธิรังสี วัดแม่ยะ จังหวัดตาก สร้างเป็นลูกอม ถือว่าเป็นพระอีกรุ่นหนึ่งที่อนาคตไกลทั้งมวลสารผงพรายขององค์หลวงปู่ทิม วัดระหารไร่ ที่ใส่ค่อนข้างมาก(เมื่อก่อนผงยังมีปริมาณที่มากและความนิยมยังไม่มากเท่าทุกวันนี้ จากปากคำของคนในพื้นที่) บวกกับผู้ปลุกเสกเองก็เป็นพระครูบาล้านนาโบราณผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบและมีเมตตาเปี่ยมล้น เรื่องพุทธคุณหายห่วงดีทุกทาง เมตตาค้าขาย คลาดแคล้ว แล้วแต่อธิษฐานเอาเถิดเกิดผลดังปรารถนา
ลูกอมของหลวงปู่ปัน วัดแม่ยะ นี้ สร้างตั้งแต่สมัยหลวงปู่ทิม มรณะภาพใหม่ๆ ผสมผงพรายกุมารเยอะมากๆเพราะตอนนั้นผงพรายกุมารยังมีเยอะและค่านิยมเล่นหายังไม่สูง ความนิยมยังไม่สูง จึงมีผงพรายกุมารผสมอยู่มาก ท่านที่ต้องการวัตถุมงคลที่ผสมผงพรายกุมารเข้มข้นพอๆกับยุคที่หลวงปู่ทิมสร้างเองไม่ควรพลาดครับ เป็นอีกชิ้นที่อยากแนะนำน่าใช้มากๆครับ
สนใจสอบถามได้ครับ0861936900
ประวัติของหลวงปู่ปัน โพธิรังสี (อายุ 102 ปี พรรษา 80) หลวงปู่ปัน ได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ 15 ปี ก็ประมาณ พ.ศ. 2450 ที่วัดสันดอนรอม โดยมีครูบามาเป็นพระบรรพชา ให้ท่านอยู่วัดสันดอนรอม ไม่นานก็ย้ายไปอยู่วัดประตูลี้ หรือ วัดสังฆาราม ปัจจุบันนี้ ต่อมาพี่น้องของหลวงปู่ปันได้ขอร้องให้สึกเพื่อไปช่วยกันทำนา เพราะทางบ้านยากจนมาก แต่หลวงปู่ปันไม่สึก ได้ย้ายไปอยู่วัดชัยมงคล ขณะนั้นครูบาศรีวิชัยนักบุญแห่งลานนาไทย ได้มาเป็นประธานสร้างวิหารและเจดีย์พอดี ท่านจึงถือโอกาสไปช่วยงานจนกระทั่ง อายุล่วงเข้า 22 ปี จึงได้อุปสมบท หลวงปู่ปัน เป็นคนยากจนจึงไม่ได้อุปสมบทในเวลาอันควร เจ้าราชภาติกวงศ์เห็นว่า หลวงปู่ปันเป็นเณรโข่งก็สงสาร จึงเป็นเจ้าภาพอุปสมบทให้ โดยมี ครูบากัณฑา วัดพระธาตุหริภุญไชย ลำพูน เป็นพระอุปัชฌาย์ และมีครูบากัณฑะวงศ์ กับ ครูบาตัน เป็นคู่สวด ท่านได้จำพรรษาอยู่วัดไชยมงคลหลายพรรษา จึงออกเดินทางมาอยู่จังหวัดตาก จาริกแสวงบุญ หลวงปู่ปัน ออกจากลำพูนมุ่งสู่จังหวัดลำปาง ต้องเดินทางผ่านดอยขุนตาลมา จนถึงจังหวัดลำปาง ได้พบกับหลวงปู่ฟ้าเยื้อนกำลังจะเดินทางไปนมัสการพระธาตุตะโก้ง ประเทศพม่าก็ขอเดินทางไปด้วย โดยเดินทางผ่านจังหวัดตากและเข้าประเทศพม่าทางอำเภอแม่สอด เมื่อไปนมัสการพระธาตุตะโก้งแล้ว ก็อยู่ในพม่าอีกหลายเดือน และได้กลับมาจังหวัดตาก ก่อนจะเข้าพรรษาในปีนั้นและได้กลับมาจำพรรษาอยู่วัดพร้าว อำเภอเมืองตาก จากนั้นไปวัดดงยาง อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก 1 พรรษา ต่อมาได้ไปอยู่วัดป่ายางกิ่ง อำเภอสามเงา จังหวัดตาก เมื่อเจ้าอาวาสวัดดงยางมรณภาพไป ทางวัดได้นิมนต์หลวงปู่ปันไปรักษาการแทนเจ้าอาวาสระยะหนึ่ง ต่อมาเมื่อทางวัดมีเจ้าอาวาสแล้ว หลวงปู่ปันก็ได้รับนิมนต์ไปอยู่วัดหัวบ้าน อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก (ขณะนี้เป็นวัดร้างไปแล้ว) ท่านอยู่ 2 พรรษาก็ป่วยเป็นไข้มาเลเรีย พระครูอินตา วัดป่ายางไปรับเอามารักษาตัวอยู่วัด แม่ยะ เมื่อหายดีแล้วก็เลยจำพรรษาอยู่ วัดแม่ยะ และอยู่ต่อมาจนกระทั่งเจ้าอาวาสวัดแม่ยะมรณภาพลง ท่านก็ได้เป็นเจ้าอาวาสแทนจนถึงปัจจุบันนี้ และได้มรณภาพที่วัดนี้สิริรวมอายุ 102 ปี พรรษา 80 รวมเวลาที่จำพรรษาที่วัดแม่ยะนี้ 64 ปี การศึกษา หลวงปู่ปัน ชอบการศึกษาหาความรู้ทั้งทางอักษรศาสตร์โหราศาสตร์ และไสยศาสตร์ สมัยนั้นยังไม่มีโรงเรียนต้องไปหาครูเรียนที่วัด ท่านเรียนอักษรลานนา เมื่อบวชแล้วก็สวดปาฏิโมกข์ได้แม่นยำ สามารถสอนอักษรลานนาให้ลูกศิษย์ได้จำนวนมาก ท่านเดินทางไปพม่าหลายครั้ง ได้วิชาไสยศาสตร์และโหราศาสตร์มาจากพม่า สามารถพูดภาษาพม่าได้ นอกจากนี้ยังมีความรู้ทางแพทย์แผนโบราณ ปรุงยาสมุนไพรช่วยรักษาผู้ป่วยได้ จนเป็นที่เลื่องลือของคนในละแวกนั้น ด้านการอบรมสั่งสอน ท่าน ได้อบรมศีลธรรม จารีตประเพณีให้แก่ศรัทธาประชาชนทั่วไป ตลอดจนญาติพี่น้อง จนทำให้การอบรมของท่านได้ผล ศรัทธาวัดแม่ยะ และหมู่บ้านใกล้เคียงใจบุญสุนทานมีความประพฤติปฏิบัติดี มีความสามัคคีกัน โจรผู้ร้ายไม่มีทุกคนมีความเชื่อถือในหลวงปู่ปันมาก ลูกศิษย์ของท่านเคารพยำเกรงขยันหมั่นเรียน จนเรียนจบชั้นสูงๆ ก้าวหน้าในการงาน บางคนได้ไปทำงานต่างประเทศ นำความผาสุกมาสู่ครอบครัว หมู่บ้านแม่ยะ จึงเป็นหมู่บ้านแผ่นดินทองแผ่นดินธรรมโดยแท้ ด้านสาธารณูปการ หลวง ปู่ได้ร่วมกับศรัทธาประชาชนสร้างศาสนสถานหลายอย่าง เช่น วิหาร ศาลาธรรม ศาลาบาตร กุฏิหอ ระฆัง ห้องสรงน้ำ กำแพง ของวัดแม่ยะ ช่วยทะนุบำรุง โรงเรียนวัดแม่ยะ สุขศาลาบ้านแม่ยะ ให้ทุนการศึกษานักเรียนยากจน สร้างศาลาของฌาปนสถานบ้านแม่ยะ เป็นต้น หลวงปู่ท่านมีความเมตตา กรุณา โอบอ้อมอารี ท่านช่วยเหลือผู้ที่มาของความช่วยเหลือเสมอ แม้ชาวเขาก็เคยลงมาขอความเมตตาจากท่านอยู่เสมอ แม้ว่าท่านจากลำพูนมานานแล้ว ท่านก็ยังไม่ลืมได้ไปทอดผ้าป่าทางโน้นอยู่เนืองนิตย์ ก่อนท่านจะมรณภาพ ท่านได้บริจาคเงินจำนวนหนึ่งช่วยสร้างเจดีย์วัดสังฆารามด้วย จึงนับว่าหลวงปู่ของเราเป็นนักบุญโดยแท้ ที่พวกเราจะลืมไม่ได้ วาระสุดท้ายของชีวิต หลวง ปู่ปัน ได้ป่วยด้วยโรคชรามีอาการอ่อนเพลีย และได้มรณภาพลงเมื่อวันที่ 6 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 สิริรวมอายุได้ 102 ปี