เหรียญหลวงปู่ใจหลังหลวงพ่อพลบ วัดปราโมทย์ ออกปี 2495 ปลุกเสกโดย สามพระอาจารย์ที่ไม่ธรรมดาคือหลวงปู่ใจ หลวงพ่อทองศุข วัดตะโหนดหลวง หลวงพ่อพลบ วัดปราโมทย์ พุทธคุณแค่ 1 อาจารย์ก็คุ้มตัวคุ้มภัยได้แล้ว
สำหรับประวัติหลวงปู่ใจ ผู้สร้างเหรียญอริยสัจ รุ่นแรกขึ้นมานั้น ท่านเกิดเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 2 ค่ำ เดือนอ้าย ปีจอ ตรงกับวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ.2405 ณ บ้านตำบลบางกุ้ง อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม มีชื่อเดิมว่า ใจ ขำสมชัย บิดาชื่อ นายขำ ขำสมชัย มารดาชื่อ นางหุ่น ขำสมชัย หลวงปู่ใจมีพี่น้องด้วยกันถึง 11 คน โดยเป็นหญิง 6 ชาย 5 ต่อมาครอบครัวของท่านได้ย้ายมายังหมู่ที่ 9 ตำบลเหมืองใหม่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม อันเป็นภูมิลำเนาเดิมของปู่ และบิดา จึงเมื่ออายุได้ 21 ปีบริบูรณ์ ก็ได้อุปสมบท ณ อุโบสถวัดบางเกาะเทพศักดิ์ เมื่อวันแรม 11 ค่ำ เดือน 7 ปีมะแม โดยมีพระอุปัชฌาย์จุ้ย วัดบางเกาะเทพศักดิ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า "อินฺทสุวณฺโณ" พระราชมงคลวุฒาจารย์ (ใจ อินฺทสุวณฺโณ) หลังจากบวชแล้วได้จำพรรษายังวัดบางเกาะเทพศักดิ์ เพื่อศึกษาทั้งด้านวินัยและด้านพระปริยัติ จนมีความรู้แตกฉาน ทั้งอักษรไทยและขอม สำหรับการเรียนหนังสือขอม เป็นที่สำคัญยิ่งสำหรับพระภิกษุสงฆ์ ด้วยพระไตรปิฎกนั้น แต่เดิมเขียนด้วยอักษรขอม เพิ่งจะเขียนด้วยอักษรไทยในสมัยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส นี่เอง นอกเหนือไปจากการศึกษาด้านพระวินัย พระปริยัติแล้วนั้น หลวงปู่ใจยังให้ความสนใจในเรื่องของคาถาอาคม และได้ขอเล่าเรียนจากครูบาอาจารย์หลายท่าน ต่อเมื่อท่านออกเดินธุดงค์เพื่อฝึกจิตสมาธิในพงไพรกว้าง ตอนใดที่พบพานพระธุดงค์ด้วยกัน ท่านมักขอศึกษาวิชาด้วย กล่าวว่าท่านมีโอกาสได้เรียนรู้วิชาทางสมาธิจากพระอุปัชฌาย์ยิ้ม วัดหนองบัว จากในป่านั้นเอง ในคราที่ท่านเดินธุดงค์ไปพบกับหลวงปู่ยิ้ม ต่อมาได้มีนางอิ่มและนายอ่อน ซึ่งมีศักดิ์เป็นอาของหลวงปู่ใจ ได้ยกที่ดิน 3 ไร่ 3 งาน 91 ตารางวา ถวายให้พระสมุห์แพ วัดใหม่ยายเงิน (วัดราษฎร์บูรณะ) ฐานานุกรมของพระครูวิมลเกียรติ (เกลี้ยง) วัดบางสะแก แต่ด้วยพระสมุห์แพ อาพาธลงเสียก่อน จึงได้มอบโฉนดที่ดินให้แก่ขุนศรีโยธามาตย์ภักดี (บุตร) กับหมื่นชำนาญ (โพน) เพื่อนำไปมอบให้แก่เจ้าอาวาสวัดใดวัดหนึ่ง เพื่อดำเนินการสร้างวัดขึ้นตามเจตนาของผู้บริจาค ซึ่งที่ดินเหล่านี้ ได้นำมามอบให้กับพระอุปัชฌาย์จุ้ย วัดบางเกาะ และได้ดำเนินการสร้างเป็นสำนักสงฆ์ขึ้นในเดือนมิถุนายน พ.ศ.2434 ด้วยเงินสมทบบริจาคจำนวน 260 บาท พร้อมทั้งแต่งตั้งให้หลวงปู่ใจ ซึ่งอุปสมบทมาได้ 8 พรรษาแล้ว เป็นผู้ปกครองสำนักสงฆ์แห่งนี้ มีพระภิกษุจำพรรษาด้วย 4 รูป วันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ.2434 ตรงกับวันขึ้น 11 ค่ำ เดือน 8 ปีเถาะ ท่านพระครูวิมลเกียรติ (ป้าน) เจ้าอาวาสวัดเหมืองใหม่ เจ้าคณะแขวงเมืองราชบุรี ได้แต่งตั้งให้พระใจ เป็นเจ้าอาวาส และเป็นพระอธิการปกครองวัด มีชื่อวัดว่า วัดใหม่ยายอิ่ม ตามนามผู้ถวายที่ดิน เมื่อได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตเป็นวิสุงคามสีมาแล้ว จึงให้ชื่อวัดใหม่ว่า "วัดใหม่ใต้ปากคลองดอน" ครั้นเมื่อปี พ.ศ.2458 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เสด็จมาตรวจการณ์คณะสงฆ์ และได้เสด็จมายังวัดใหม่ใต้ปากคลองดอน ได้ทรงตั้งนามวัดใหม่ว่า "วัดเสด็จ" อีกบทความหนึ่งครับ.............................. ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีลูกศิษย์ลูกหาเคารพนับถือท่านมากมาย ท่านได้เคยสร้างพระไว้หลายอย่าง ทั้งเหรียญและพระหล่อเนื้อเมฆพัด พระปรกใบมะขามเนื้อเมฆพัดของท่านจัดเข้าอยู่ในชุดพระเบญจฯปรกใบมะขาม ซึ่งโด่งดังมาก // นอกจากพระเครื่องแล้วท่านยังได้สร้างตะกรุดไว้หลายแบบ ที่โดดเด่นมากก็คือตะกรุดลูกอม ที่มีทั้งเนื้อทองคำ เนื้อเงิน และเนื้อนาค ซึ่งท่านได้รับการถ่ายทอดมาจากหลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว กาญจนบุรี หลวงปู่ใจท่านเกิดเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2405 หลวงปู่ใจท่านได้รับสมณศักดิ์ดังต่อไปนี้
พ.ศ. 2458 เป็นผู้รั้งเจ้าคณะแขวงบางคนที
พ.ศ. 2460 เป็นเจ้าคณะแขวงบางคนที และได้รับพระราชทานสัญญาบัตรมีพระราชทินนามว่า "พระครูสุทธิสาร" /
พ.ศ. 2469 เป็นเจ้าคณะแขวงอัมพวา พ.ศ. 2495 เป็นพระสุทธิสารวุฒาจารย์
พ.ศ. 2504 เป็นพระราชมงคลวุฒาจารย์
หลวงปู่ใจท่านมรณภาพวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2505 สิริอายุได้ 100 ปี พรรษาที่ 78 // ในสมัยที่หลวงปู่ใจท่านกำลังสร้างวัดเสด็จอยู่นั้นท่านได้เดินทางไปที่จังหวัดกาญจนบุรีอยู่บ่อยๆ เพื่อไปหาซื้อไม้มาสร้างวัด ท่านขึ้นล่องอยู่หลายปีจึงสร้างวัดได้สำเร็จ // และทุกปีท่านจะมาแวะพักที่วัดหนองบัว เอาหมากพลูมาถวายหลวงปู่ยิ้ม ซึ่งท่านเคารพหลวงปู่ยิ้มมาก มีอยู่ปีหนึ่งหลวงปู่ยิ้มพูดเปิดทางให้กับท่านว่าถ้าสนใจในวิทยาคมก็จะถ่ายทอดให้ // ท่านจึงรีบขอเป็นศิษย์ทันที หลวงปู่ยิ้มได้มอบบทเรียนบทแรกว่าด้วยการทดสอบพลังจิต โดยจุดเทียนตั้งไว้ที่ขัดน้ำมนต์ แล้วให้ท่านเพ่งกระแสจิตไปที่เทียนให้เทียนขาดกลางให้ได้ // ถ้าทำได้เมื่อใดจึงจะมอบวิชาให้ หลวงปู่ใจท่านทำอยู่ 7 คืน เทียนก็ไม่ยอมขาด หลังจากกลับมาพัก ท่านจึงตัดสินใจว่าถ้าหากคืนพรุ่งนี้เทียนยังไม่ขาด ก็จะกลับอัมพวา ปรากฏว่าคืนวันที่ 8 ท่านทำได้สำเร็จ // ท่านสามารถเพ่งกระแสจิตตัดเทียนให้ค่อยๆ ละลายขาดลงตรงกลาง หลวงปู่ยิ้มได้กล่าวชมว่า "เมื่อแรกเรียนท่านก็เก่งกว่าเสียแล้ว" เพราะหลวงปู่ยิ้มเองต้องทำอยู่ถึง 15 วัน // หลวงปู่ยิ้มจึงถ่ายทอดวิชาว่าด้วยการสร้างตะกรุดปราบหงสามหาระงับ ตะกรุดลูกอมอันเลื่องลือของท่านให้แก่หลวงปู่ใจจนหมดสิ้น // ตะกรุดของหลวงปู่ใจท่านจะสร้างด้วยความพิถีพิถันใช้ความประณีตบรรจง ตะกรุดแต่ละดอกจะมีขนาดเท่ากัน ลักษณะการม้วนจะเหมือนกัน การขวั้นไหม 5 สี ร้อยตะกรุดลูกอม ก็ต้องใช้ไหมที่มีขนาดเท่ากันทุกเส้นเวลาขวั้นต้องจัดเกลียวให้เป็นระเบียบ และท่านจะปลุกเสกของๆ ท่านเพียงองค์เดียวเท่านั้น ตะกรุดลูกอมของหลวงปู่ใจจะมีอยู่ 3 เนื้อคือ เนื้อทองคำ เนื้อนาค และเนื้อเงิน ปัจจุบันตะกรุดลูกอมของหลวงปู่ใจนั้นหายาก ทุกคนที่มีต่างหวงแหนครับ
วัตถุมงคลอันได้ชื่อว่าโดดเด่นยิ่งของพระราชมงคลวุฒาจารย์ (ใจ อินฺทสุวณฺโณ)
กล่าวเฉพาะตะกรุดที่พระราชมงคลวุฒาจารย์ (ใจ อินฺทสุวณฺโณ) ได้สร้างไว้ มีหลายรูปแบบ ทั้ง ตะกรุดโทนยาว ตะกรุดโทนสั้น ตะกรุดมหาระงับ ตะกรุดมหาปราบ ตะกรุดลูกอมสอดไหม ตะกรุดมหารูด ตะกรุดคลอดลูก ตะกรุดแปดทิศ
ในอักขราภิธานศรับท์ ของหมอบรัดเลย์ ซึ่งตีพิมพ์เมื่อปี พ.ศ.2416 ได้กล่าวถึงตะกรุด ว่า
"ตะกรุด, เปนชื่อเครื่องสำหรับแต่งตัว, ทำด้วยทองคำบ้าง เงินบาง ทองแดงบ้าง ตะกั่วบ้าง, เหมือนอย่างที่พวกไปทับผูกกันอันตรายนั้น"
และพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 กล่าวถึงตะกรุด ว่า
"ตะกรุด น. เครื่องรางอย่างหนึ่ง ทำด้วยโลหะ หรือใบลาน เป็นต้น โดยปกติลงคาถาอาคมแล้วม้วนเป็นรูปกลมยาวและกลวง, ตะกรุด ก็ว่า"
กล่าวสำหรับตะกรุดลูกอมโลกธาตุ สร้างขึ้นด้วยแผ่นโลหะเนื้อเงิน มีจารอักขระเลขยันต์ และเสกกำกับด้วยหัวใจคาถาโลกธาตุ 10 ทั้งสองด้าน และที่สำคัญจะร้อยด้วยไหมถัก 4 สี เรียกกันโดยมากว่า 7 สีบ้าง, 5 สีบ้าง ให้เป็นมงคล แต่ความจริงมีเพียง 4 สีเท่านั้น โดยถือเอาสีที่อยู่ในวรรณะกสิณ หรือวรรณะ (สี) 4 คือ เขียว เหลือง แดง และขาว
|