พระรอด วัดพระสิงห์ จ.เชียงใหม่ ปี 2496 พิมพ์หน้าหนูเล็ก มีหน้ามีตาจมูกปากครบครับ ใครไม่มีรีบเลยนะครับผมเพราะคนโบราณยังกล่าวไว้ว่าหากไม่มีพระรอดมหาวันห้อยให้ใช้พระรอดพระสิงห์แทนได้เลยครับ
<< รายละเอียดเพิ่มเติมครับ >>
พระรอด วัดพระสิงห์ จ.เชียงใหม่ ปี 2496 พระรอด วัดพระสิงห์ จ.เชียงใหม่ พุทธคุณเพียบ-เทียบรุ่นเก่า พระรอดเป็นพระหนึ่งใน 5 ของ "พระชุดเบญจภาคี" ซึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่ทางภาคเหนือ ตามประวัติกล่าวกันว่า เป็นพระเครื่องที่พระนางจามเทวี ผู้สร้างเมืองหริภุญชัย ได้เป็นผู้สร้างไว้ พระรอดเป็นพระเครื่องเนื้อดินผสมว่าน ฝีมือช่างหริภุญชัย ในแบบศิลปะลพบุรียุคต้นที่งดงาม และอลังการ เนื้อพระมีความละเอียด และหนึกนุ่ม บางองค์ใกล้เคียงกับเนื้อพระทุ่งเศรษฐีมาก มีด้วยกัน 4 สี คือ สีขาว สีเหลือง สีแดง และเขียว ซึ่งมีมูลค่าสูงเป็นหลักแสน และทะลุล้านในองค์ที่สวยแชมป์ "พระรอด วัดพระสิงห์ เชียงใหม่" ที่สร้างเมื่อปีพ.ศ.2496 ซึ่งเป็นพระที่มีพุทธคุณใกล้เคียงกับของเดิมมากที่สุด เซียนพระหลายท่านยืนยันว่า พระรอดวัดพระสิงห์ เชียงใหม่ บูชาได้ดีไม่แพ้พระรอดอายุพันกว่าปีของลำพูน พระชุดนี้สร้างขึ้นมาเพื่อเป็นอนุสรณ์ในการสร้างพุทธสถานเชียงใหม่ ซึ่งได้กระทำพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 28 พ.ค.2496 เวลา 11.45 น. และในเดือนเดียวกันนั้นเอง ตรงกับวันขึ้น 10 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเส็ง จัตวาศก จุลศักราช 1315 เริ่มพิธี 9 นาฬิกา 21 นาที 41 วินาที และเริ่มจุดเทียนชัยเวลา 19.20 น. โดยมี พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ เป็นประธานประกอบพิธีมหามงคล พระรอดชุดนี้สร้างจำนวน 84,000 องค์ เพื่อนำรายได้สมทบทุนสร้างพุทธสถานเชียงใหม่ วัสดุในการสร้างใช้ดินบริเวณทิศเหนือของวัดพระคง จังหวัดลำพูน ซึ่งเชื่อกันว่าพระรอดมหาวันในสมัยจามเทวีวงศ์ก็ใช้ดินบริเวณนี้สร้าง จึงทำพิธีตั้งศาลเพียงตาอาราธนาขอจากพระพุทธรูปและอารักษ์ที่รักษาดินแดนแห่งนั้น จากนั้นขุดลงไปเพียง 3 ศอกก็พบดินขวยปูตามที่ต้องการ ลักษณะดินละเอียดเหนียว เมื่อนำมา สร้างพระแล้วแกร่งและสวยงามมาก เมื่อได้ดินที่ต้องการแล้วก็ให้อาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิละลายดินด้วยน้ำพระพุทธมนต์ แล้วนำมากรองด้วยผ้าขาว เก็บผงดินที่ละเอียดเหมือนแป้งมาผสมกับผงพระธาตุ ผงพระเปิม ผงพระเลี่ยง ผงพระคง ผงพระรอด ผงสมเด็จบางขุนพรหม ผงตรีนิสิงเห ผงปถมัง ผงพุทธคุณ และผงอิทธิเจของพระเกจิอาจารย์รุ่นเก่า เช่น หลวงปุ่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า เมื่อผสมจนเข้าเนื้อเดียวกันแล้วก็ปั้นเป็นก้อนกลม ขนาดเท่าผลส้ม ส่งลงมากรุงเทพฯ ให้ อ.ฉลอง เมืองแก้ว (อาจารย์ขมังเวท) เป็นผู้ทำพิธีใส่ธาตุ แล้วนำกลับสู่เมืองลำพูน เพื่อให้ช่างพิมพ์องค์พระออกมาซึ่งมีทั้งหมด 11 พิมพ์ เมื่อถึงเวลาฤกษ์ พระมหาราชครูวามมุนี กับท่านพราหมณ์พระครูศิวาจารย์แห่งกรุงเทพฯ เป็นประธานฝ่ายพราหมณ์ มหาปัญจพิธีโอมอ่านศิวเวทอัญเชิญท้าวเทพยดาทั้งหลายที่สิงสถิตในแผ่นดินล้านนา อัญเชิญพระวิญญาณเจ้าแม่จามเทวีและกษัตริย์ทุกพระองค์ เมื่อจุดเทียนชัยพระมหาราชครูอ่านโองการชุมนุมเทวดา เสร็จแล้วพราหมณ์เป่าสังข์ จบแล้วคณาจารย์ทั้งหมดนั่งปรกบริกรรมปลุกเสกเป็นเวลา 3 วัน 3 คืน คณาจารย์ที่ร่วมในพิธีก็ล้วนแล้วแต่เป็นที่เคารพนับถือของประชาชน เช่น เจ้าคุณพระศรีสมโพธิ วัดสุทัศน์, เจ้าคุณพระศรีสุวรรณวิสุทธิ์ เจ้าคณะจังหวัดลำปาง, หลวงปู่นาค วัดระฆังฯ, หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ, หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม, ครูบาวัง วัดบ้านเด่น, พระครูอาคมสุนทร วัดสุทัศน์, หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้, หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี, หลวงพ่อภักตร์ วัดบึงทองหลาง, หลวงพ่อทบ วัดเขาชนแดน, หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง, หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ, หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ, หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว, หลวงพ่อสำเนียง วัดเวฬุวัน เป็นต้น ในขณะที่ทำพิธีบวงสรวงเจ้าแม่จามเทวีมีฝูงผีเสื้อเป็นจำนวนมากบินมาอยู่เหนือเครื่องสังเวย แล้วกระจายบินหายไป คืนที่กระทำพิธีฟ้าคะนองตลอด เกิดแสงแปลบปลาบทั่วท้องฟ้า อากาศเยือกเย็นผิดจากวันอื่นๆ ส่วนคณาจารย์ทั้งหลายต่างเกิดนิมิตเป็นมงคลต่างๆ กัน ถือเป็นเหตุการณ์ที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง!!! ประสบการณ์ของ "พระรอดวัดพระสิงห์" ก็เป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณ ชน เช่น ในคราวที่เกิดสงครามเวียดนาม ประเทศไทยได้ส่งทหารไปร่วมรบกับอเมริกา ส.อ.ธาริน แสงศิริ ได้ถูกส่งตัวไปร่วมรบด้วย (กองพันเสือดำ) ซึ่งส.อ. ธารินได้เล่าว่า ได้รับพระรอดรุ่น 96 จากบิดา คล้องคอไปเพียงองค์เดียว เมื่อได้รับมอบหมายให้ออกลาดตระเวนขากลับขณะกำลังกลับเข้าค่ายก็โดนระเบิด และถล่มยิงด้วยอาวุธหนักของเวียดกง ชนิดที่ว่าไม่ได้ตั้งตัว ส.อ.ธารินบอกว่า ขณะกำลังล้มตัวลงเพื่อยิงต่อสู้ได้เห็นเพื่อนทหารร่วมกองลาดตระเวนโดนอาวุธของเวียดกงล้มตายกันเกลื่อนกลาด มารู้ตัวอีกทีก็อยู่บนเตียงในโรงพยาบาลแล้ว ร่างกายไม่มีบาดแผล แต่ปรากฏรอยช้ำเป็นจุดๆ ทั่วร่างกาย ปัจจุบันนี้ "พระรอดของวัดพระสิงห์" ยังพอหาได้ตามสนามพระ แต่ต้องดูให้ดี พระที่สร้างมาแล้วห้าสิบปีจะยังสดใหม่ และมีกลิ่นดินไม่ได้แล้ว สนนอัตราเช่าหาก็ยังไม่สูงมาก อยู่ในหลักพันกว่าๆ เท่านั้น ยังไม่สูงเกินไป ห้อยพระหลักพันพุทธคุณไม่ต่างจากพระหลักแสน หลักล้าน อย่างนี้สิครับถึงเรียกได้ว่า "ของดีราคาถูก" อย่างแท้จริง พระรอดวัดพระสิงห์มีทั้งหมด 11 พิมพ์ด้วยกัน สีขององค์พระก็มีหลายสี ที่พบกันมากก็ได้แก่ เนื้อเขียว เนื้อแดง เนื้อพิกุล ที่พบน้อยคือ สีเทา สีขาว และสีดำ ที่ว่ามี 11 พิมพ์ 11 สีนั้นอาจเข้าใจคลาดเคลื่อนกันสักเล็กน้อย ที่ว่ามี 11 พิมพ์นั้นถูกต้อง แต่สีของพระรอดวัดพระสิงห์ รวมถึงพระรอดอื่นๆ นั้นต้องทำความเข้าใจกันตามหลักวิชาการสักนิดว่า พระรอดที่กล่าวนี้ทำมาจากเนื้อดิน ซึ่งการจะทำให้เนื้อพระแกร่งนั้นต้องนำไปผ่านความร้อนโดยการอบ หรือการเผา เหมือนกับอิฐหรือเซรามิก ซึ่งแน่นอนต้องมีการนำพระจำนวนมากเข้าเตาเผา เพราะมากมายถึง 84,000 องค์ ดังนั้น ความร้อนจากการเผาจึงไม่สามารถสัมผัสกับองค์พระได้ครบทุกองค์ สำหรับองค์ที่ใกล้กับไฟหรือสัมผัสกับความร้อนมากที่สุดจะมีสีดำ และสีเขียว และหดเล็ก เพราะสูญเสียความชุ่มชื้นหรือน้ำที่อยู่ในตัวดิน บางองค์เกิดหมัดไฟ เป็นเม็ดเล็กๆ แตกกระจายตามองค์พระบริเวณต่างๆ คล้ายอีสุกอีใส ซึ่งเกิดจากการทำปฏิกิริยาของธาตุบางอย่างในดินกับความร้อน ส่วนองค์ที่อยู่ตรงกลางๆ ซึ่งไม่ผ่านหรือผ่านไฟหรือความร้อนน้อย ก็จะมีสีดินธรรมชาติ และขนาดโตกว่าองค์สีดำ และสีเขียว เพราะไม่เกิดการหดตัวมากนัก โดยไล่ไปตามสีน้ำตาล สีแดง สีเทา สีเหลือง สีพิกุล สีขาว แต่ก็ไม่เสมอไป ขึ้นอยู่กับว่าเป็นพิมพ์ใด ดังนั้น สีของพระจึงไม่อาจกำหนดได้ตอนกดพิมพ์พระ แต่จะมาคัดแยกสีกันตอนกรรมวิธีสร้างพระเสร็จสมบูรณ์แล้ว โดยมีการแยกตามโทนสีจากเข้มไปอ่อน จึงอาจมีโทนสีมากกว่า หรือน้อยกว่า 11 สีก็ได้ และราคาในขณะนั้นก็ไม่ได้แยกตามสี แต่ให้เช่าบูชาในราคาเดียวกัน "พระรอดวัดพระสิงห์" ที่สมบูรณ์จริงๆ มีไม่ถึง 84,000 องค์ เช่นเดียวกับพระรอดมหาวัน บางองค์จึงอาจแตกหัก ชำรุด สภาพใช้การไม่ได้ บางส่วนหลังจากทำพิธีพุทธาภิเษกที่วัดพระสิงห์แล้ว ยังถูกนำไปเข้าพิธีปลุกเสกที่วัดสุทัศน์อันเลื่องชื่ออีกด้วย โดยทำพิธีปลุกเสกโดยเจ้าอาวาสวัดสุทัศน์ และคณะสงฆ์ ปีละ 2 วาระทุกปีเรื่อยมา จนกระทั่งเจ้าอาวาสวัดสุทัศน์มรณ ภาพ ถ้าจำไม่ผิดประมาณปี 2507 จึงหยุดพิธีปลุกเสก จึงเป็นที่มาของการเรียกชื่อว่าพระรอดวัดสุทัศน์ โดยเอกลักษณ์คือมีการปั๊มด้วยหมึกสีม่วงใต้ฐานพระทุกองค์ ทำให้พระรอดวัดสุทัศน์ไม่ค่อยพบในสนามพระมากนัก และมีราคาเช่าหาสูง นอกจากนั้นยังมีอีกบางส่วนที่เกจิอาจารย์ชื่อดังสมัยนั้น อาทิ หลวงพ่อเงิน นำกลับไปปลุกเสกเดี่ยวให้กับศิษยานุศิษย์ด้วย พระรอดวัดพระสิงห์นอกจากมีเจตนาสร้างมาเพื่อหารายได้สร้างพุทธ สถานเชียงใหม่ (ปัจจุบันอยู่ใกล้จวนผู้ว่าฯ และบ้านพักอธิบดีผู้พิพากษาภาค 5) แล้วยังมีเจตนาสร้างมาเพื่อใช้แทนพระรอดมหาวัน ลำพูน ตั้งแต่สมัยนั้นแล้ว จึงมีผู้คนกล่าวกันว่า หากหาพระรอดมหาวันไม่ได้ก็หาพระรอดวัดพระสิงห์แทน ราคาหลักพันถึงหลักหมื่น (ตามพิมพ์และตามสภาพ) แต่
|