พระกริ่งรอดนิรันตราย วัดพันอ้น จ.เชียงใหม่ ปีพ.ศ.๒๕๑๓ พิมพ์ใหญ่ ด้านหน้าพิมพ์พระรอด หลังพระฤๅษีนารอด ฝาอุดกริ่งรูปสิงห์และตอกโค้ดยันต์อุ เนื้อนวะโลหะ พิธีเดียวกันกับ พระกริ่งเอกาทศรถ
และ รูปหล่อครูบาศรีวิไชย
จัด สร้างขึ้นโดยท่านพระครูศรีปริยัติยานุรักษ์( ครูบาไฝ )เจ้าอาวาสวัดพันอ้นในขณะนั้น อ.ไสว สุมมโน เจ้าพิธี ในการจัดสร้างวัตถุมงคลโดยท่านเจ้าคุณไฝ แต่ละพิธี มักจะมีพระเกจิอาจารย์ที่ มีชื่อเสียงเป็นที่เคารพบูชาของคนทั่วไปเดินทางมาร่วมเสมอ แม้บางครั้งมิได้กำหนดเอาไว้ว่าจะต้อง นิมนต์ท่านใดบ้าง จึงมีพระเกจิอาจารย์ดังๆในสมัยนั้นมาร่วมปลุกเสกถึง ๑๙ รูปด้วยกันและหลังจากพิธีปลุกเสกแล้วยังมีการสวดมนต์สมโภช โดยคณาจารย์เช่น เจ้าคณะตำบล เจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะจังหวัดอีกรวม ๑๐๘ รูป ใช้เวลาสวดมนต์ถึง ๒ วัน ๒ คืนเต็มๆโดยผลัดเปลี่ยนกันโดยไม่ได้หยุดพิธี
รายนาม พระเกจิอาจารย์ ๑๙ รูปมี ดังนี้
๑.สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์วัดสามพระยา ก.ท.ม.
๒.สมเด็จพุฒาจารย์( เสงี่ยม )วัดสุทัศน์ ก.ท.ม.
๓.พระอาจารย์ไสว สุมโน วัดราชนัดดา
๔.หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม นครปฐม
๕.หลวงพ่อบุญส่ง วัดเขาบันไดอิฐ เพชรบุรี
๖.หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์ สุพรรณบุรี
๗.หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี
๘.หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ นครราชศรีมา
๙.พระธรรมโมลี วัดพระธาตุหริภุญชัย ลำพูน
๑๐.ครูบาพรหมจักร วัดพระพุทธบาทตากผ้า ลำพูน
๑๑.ครูบาชัยวงศา วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ลำพูน
๑๒.ครูบาอินทจักร วัดน้ำบ่อหลวง เชียงใหม่
๑๓.ครูบาวัง วัดบ้านเด่น ตาก
๑๔.ครูบาคำแสน วัดสวนดอก เชียงใหม่
๑๕.ครูบาคำแสนน้อย วัดดอนมูล เชียงใหม่
๑๖.ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี เชียงใหม่
๑๗.ครูบาอิน วัดฟ้าหลั่ง เชียงใหม่
๑๘.หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ก.ท.ม
๑๙.ครูบาไฝ วัดพันอ้น เชียงใหม่
จำนวนการสร้าง มี
๑.เนื้อทองคำจำนวน ๙ องค์
๒.เนื้อเงินยังไม่ทราบจำนวนที่แน่นอน
๓.เนื้อนวะโลหะจำนวน ๒,๕๑๓ องค์
โดยมีนายช่างเกษม มงคลเจริญ เป็นผู้ ออกแบบ และ แกะบล๊อค
สนใจสอบถามได้ครัย 0861936900