แมลงภู่ เนื้อไม้งิ้วดำไม้ศักดิ์สิทธิ์มีพุทธคุณในตัว “แมลงภู่” ชาวล้านนาและชาวไทยใหญ่เรียกขานกันว่า หรือ “แมลงบู๊” มีถิ่นกำเนิดมาจากทางพม่าและไทยใหญ่ แล้วเข้ามาสู่ดินแดนล้านนา แมลงภู่ เป็นเครื่องรางที่เรืองอิทธิฤทธิ์ โดยเครื่องรางชนิดนี้ มีถิ่นกำเนิดจากประเทศพม่า รัฐไทยใหญ่ และเข้ามาทางล้านนา เป็นเครื่องรางที่ตั้งแต่ระดับพระมหากษัตริย์ ตามความเชื่อถือสืบต่อกันมาว่า แมลงภู่คำปรากฏพบบนเสลี่ยงของ “พระเจ้าบุเรงนอง” ด้วย จนถึงระดับสามัญชนคนธรรมดา ต้องมีติดตัวไว้กันแทบทุกคน การปลุกเสกตามราของ “ไทยใหญ่” ดั้งเดิมกล่าวกันว่า จะต้องเสกจนแมลงภู่ สามารถบินได้และกินปรอทได้จึงจะสำเร็จวิชา แมลงภู่กินปรอทตัวนั้นจึงมีฤทธิ์สามารถปลุกใช้ได้ทุกเวลาเป็นตำนานโบราณได้กล่าวไว้ อานุภาพของแมลงภู่มีดังนี้
1. เด่นทางมหานิยมคนรักคนหลง
2. อยู่ดีมีโชค ซื้อง่ายขายคล่อง
3. ป้องกันภยันตรายทั้งปวง
4. ดับอวิชาการทำร้ายด้วยคุณไสย
5. กันโจรภัยได้
6. ปกป้องคุ้มครองภัยที่จะกระทำต่อเด็กเล็ก
7. เดินทางใกล้ไกล กันภูตผีและคนร้าย เป็นที่รักของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
จะเห็นได้ว่า “แมลงภู่” นี้มีอานุภาพเพียงใดและนี้จึงเป็นเหตุผลให้ “แมลงภู่” ถูกจัดเป็นหนึ่งในสุดยอดเครื่องรางแห่งล้านนาตามตำราหนึ่งพิธี หรือ หนึ่งการสร้างหนึ่งครั้งจะทำได้เพียงครั้งละ 32 ตัวและ จะแกะตัวจ่าฝูงเพียงหนึ่งตัว เป็น ตัวใหญ่ไม่เหมือนกับตัวอื่น โดยจะทำสัญลักษณ์ลักษณะเครื่องหมายไว้ หรือ “การลงรักชาดทอง” การปลุกเสกหนึ่งพิธี หรือ หนึ่งคราวนั้น ปู่ครูผู้สร้าง จะนำตัวจ่าฝูงไว้กลาง ล้อมรอบด้วยตัวเล็ก ซึ่งมีทั้งตัวพ่อ ตัวแม่ ตัวลูก อีก 31 ตัว กล่าวกันว่า... “จะเสกตัวจ่าฝูงให้บินก่อน ให้ตัวอื่นบินตามมา (เป็นเรื่องเล่าต่อกันมาโปรดใช้วิจารณญาณ) ตัวจ่าฝูงจึงหายาก และ เป็นที่แสวงหาของผู้ที่ทำงานด้านการเป็น “ผู้นำ”เพราะมีความเชื่อว่า“จ่าฝูง”ก็คือ“หัวหน้า”ผู้ดูแลบริวารนั่นเอง “คุณแห่งแมลงภู่ ว่าด้วย ทางมหาอำนาจเครื่องรางเจาะใจ กับ ป้องกันภัยสี่ทิศ” แมลงภู่นั้นเป็นเครื่องราง “ทางมหาอำนาจ” และทางมหาเสน่ห์อย่างล้ำลึก ดั่งเห็นได้จาก ที่ใดมีดอกไม้ที่มีช่อเกสรที่หอมหวานถ้ามีผึ้งหรือแมลงอื่นตอมดอกไม้นั้นอยู่ ถ้าแมลงภู่บินเข้าไปฝูงแมลงก็จะบินหนี แมลงภู่จึงเป็นดั่งพญาของเหล่า “ภมร” ทั้งหลายและทางด้านมหาเสน่ห์นั้น แมลงภู่ยังมีปากที่แหลมแข็ง สามารถเจาะไม้เจ้าได้ จึงเชื่อว่า เครื่องรางแมลงภู่ทางเสน่ห์นั้น “ใจนางที่ว่าแข็ง” ก็มิอาจต้านฤทธิ์ทางเสน่ห์แห่งแมลงภู่ที่สามารถเจาะเข้าไปถึงข้างในใจนางได้ ฉันนั้น ส่วน “ด้านป้องกันภัย” นิยมใช้แมลงภู่สี่ตัวบรรจุที่เสาเรือนเพื่อป้องกันภัยทั้งสี่ทิศ เช่นเดียวกับทางล้านนา ที่หาปรอทกรอมาใส่ตรงหัวเสาเพื่อกันภัยและเรียกลาภ และในอดีตเชื่อกันว่า ทางด้านป้องกันภัยนั้น แม้ บัลลังค์ของพระเจ้าบุเรงนองหรือผู้ชนะสิบทิศนั้นก็ยังมีแมลงภู่อาคมไม้แกะฝังไว้เพื่อรักษาและดูแลครับ ซึ่งบรมครูผู้สร้างแมลงภู่นั้นก็คือ ท่านโบโบอ่อง หรือ พูพู่อ่อง ผู้เป็นอาจารย์ราชครูของท่าน ซึ่งบางตำนานยังได้กล่าวถึงว่า ท่านได้สร้างเครื่องรางแมลงภู่ถวายแด่องค์พระเจ้าบุเรงนองด้วย
(ขอขอบพระคุณอาณุภาพ แปลจากตำราโบราณ โดย ผ.ศ.วิลักษณ์ ศรีป่าซาง ที่ปรึกษาชมรมเครื่องรางล้านนา และขอขอบคุณข้อมูลจาก พี่เชน เชียงใหม่ ณ ที่นี้ด้วยครับ)
|