เครื่องรางของขลัง
ตะกรุดหลวงพ่อพิธ วัดฆะมัง ฝาบาตรพร้อมตะกั่ว มีอั่วทองเหลือง
|
|
ชื่อพระ :
ตะกรุดหลวงพ่อพิธ วัดฆะมัง ฝาบาตรพร้อมตะกั่ว มีอั่วทองเหลือง
รายละเอียด :
เมื่อเอ่ยถึงเครื่องรางของขลังจะมีหลายประเภทด้วยกันแต่ที่โดดเด่นนิยมกัน มาก ก็คือ “ตะกรุด” ในยุคโบราณมาจนถึงปัจจุบันมีหลายอาจารย์ อาจารย์แต่ละองค์จะเก่งและมีลูกศิษย์มากมายหลายอาชีพ บางองค์มีลูกศิษย์เป็นถึงนายตำรวจใหญ่ และมหาโจรใหญ่ก่อนที่จะมาเป็นศิษย์ร่วมสำนักเดี่ยวกันต่างก็สาบานกันว่า จะไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน และฆ่าแกงซึ่งกันและกัน โจรบ้างคนต้องเดือดร้อนถึงหลวงพ่อต้องไปไกล่เกี่ย ให้มอบตัวและเลิกอาชีพที่ไม่ดีเสีย พระเกจิอาจารย์ที่สร้างตะกรุดและโดดเด่นมีหลายหลวงพ่อด้วยกัน เช่น หลวงพ่อโพธิ์ วัดวังหมาเน่า หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง เป็นต้น แต่วันนี้ผมจะนำประวัติและตะกรุด พร้อมทั้งเครื่องรางของขลังของพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง จังหวัดพิจิตรซึ่งมีราคาแพงมาก ๆ คือ หลวงพ่อพิธ วัดฆะมัง จ. พิจิตร อย่างแน่นอน มีผู้สนใจเช่าหากันมาก เรียกได้ว่ามีใบสั่งมาก แต่ของหาไม่ค่อยได้ ตะกรุดหลวงพ่อพิธนี้แหละ ถ้าเอาไปวางในสนามพระจะออกได้เร็วกว่าตะกรุด หลวงพ่ออื่น ๆ ทั้งหมด ไม่ว่าดอกที่คนขายยืนยันว่าเป็นของวัดมะขามเฒ่า หรือหลวงพ่อเนียม หรือหลวงพ่อเดิม ข้าพเจ้าว่าถ้าผู้ขายไม่ตีราคาตะกรุดของหลวงพ่อพิธสูงจนเกินไป ข้าพเจ้าเชื่อว่า ตะกรุดหลวงพ่อพิธจะขายได้ก่อนแน่นอน ถ้าราคาเท่ากันด้วยแล้วตะกรุดหลวงพ่อพิธถูกนิมนต์ไปก่อนแน่ ในสมัยก่อนย้อนไปอีก 50 ปีเศษ ๆ คอระหว่างปี พ. ศ. 2470 – 2485 ตะกรุดหลวงพ่อพิธนี้และมีราคาจำหน่ายเพื่อทำบุญสร้างพระอุโบสถที่วัดสามขา ถึงดอกละ 10 บาท ข้าพเจ้าเชื่อว่า ระยะนั้นราคาตะกรุดหลวงพ่อพิธจะแพงที่สุดในระยะนั้น รูปหล่อหลวงพ่อเงินราคาในท้องถิ่นไม่เกิน 10 บาทแน่ มีแต่ราคาในกรุงเทพฯ ที่พ่อค้าคนจึนในสำเพ็งซื้อเท่านั้นที่ให้ราคารพระหลวงพ่อเงินถึงองค์ละ 10 บาท เพราะพ่อค้าไม่มีเวลาเดินทางไปพิจิตรได้ เมื่อต้องการก็สั่งให้ผู้อื่นไปเอา และให้ค่าตอบแทนองค์ละ 10 บาท ตะกรุดหลวงพ่อพิธระยะนั้นในท้องถิ่นราคา 10 บาท นับว่าราคาสูงมาก ผู้ไม่ศรัทธาจริง ๆ คงไม่มีใครแสวงหา เรื่องตะกรุดหลวงพ่อพิธนั้นเป็นเรื่องยืดยาวประวัติด้านคงกระพันมีมาก เชื่อถือได้แน่นอน ท่านเป็นศิษย์ หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน ได้วิชาทำตะกรุดมาจากท่าน มีหลักฐานยืนยันไว้แน่ชัด มีเอกสารเป็นหลักฐานยืนยันไว้ว่า ยันต์นี้ หลวงพ่อเตียง (วัดเขารูปช้าง) เรียนมาจากหลวงพ่อพิธ หลวงพ่อพิธเรียนมาจาก หลวงพ่อเงิน ตะกรุดหลวงพ่อเตียงก็ได้เลียนแบบอย่างของหลวงพ่อพิธ แต่มีเอกลักษณ์บางอย่างที่เราสามารถแยกได้ว่า ตะกรุดดอกไหนเป็นของอาจารย์องค์ไหนกันแน่ ตะกรุดหลวงพ่อพิธโดยส่วนใหญ่ในขณะนี้เช่าหากันในราคาสูงหลักพัน ดอกที่สมบูรณ์ ๆ ก็หลายพันบาท แล้วแต่ว่าจะได้มาจากแหล่งไหน
ตะกรุดของท่านสังเกตได้ง่าย ๆ คือ
1. ตะกั่วที่ใช้จารเป็นตะกั่วน้ำนม (เนื้ออ่อน)
2. ส่วนใหญ่มีอั่วทองเหลืองเป็นแกนกลาง
3. ยันต์ที่ใช้จารเป็นยันต์คู่ชีวิต หรือยันต์อะสิสันติ เป็นหลัก
ข้อ ควรระลึกคือ ของเทียม มีมากพอสมควรต้องดูความเก่าเป็นหลักพิจารณา สำหรับเชือกถักนั้นจะมีหรือไม่ก็ได้ ของเดิมรุ่นเก่าจริงมีขนาดย่อมและถักเชือกลงรักสวยงามมาก ต่อมาได้พัฒนาให้มีขนาดใหญ่ขึ้น มีทั้งถักเชือกเฉย ๆ และไม่ถักเชือก
ส่วน ยันต์ของท่าน ข้าพเจ้าได้นำมาลงพิจารณาประกอบแล้ว ตะกรุดท่านจะจารทั้ง 2 ด้านการสร้างประณีต ไม่สุกเอาเผากิน ยันต์ต่าง ๆ ที่ปรากฏเป็นตะกรุดส่วนใหญ่เป็นยันต์ของหลวงพ่อเงินที่ใช้ลงตะกรุดของท่าน ตะกรุดของท่าน ตะกรุดหลวงพ่อเงินก็มีหลายแบบซึ่งจะได้กล่าวแยกไว้ต่างหากโดยเฉพาะ หลวงพ่อพิธ เกิดเมื่อ พ. ศ. 2415 มรณภาพเมื่อ พ. ศ. 2488 จากปากคำของผู้รู้เล่าว่า ท่านเป็นหลานแท้ ๆ ของ หลวงพ่อเงิน จึงได้วิชาอาคมมาเต็มที่ ในสมัยหนุ่มเมื่อได้บวชเรียนแล้วได้ไปศึกษาพุทธาคม จากแหล่งอื่นอีก เคยอยู่ที่วัดหัวคง วัดบางคลาน วัดวังปราบ วัดบางไผ่ วัดดงป่าคำ วัดสามขา (วัดนี้แหละที่ท่านตำตะกรุดให้ผู้ศรัทธาได้ทำบุญช่วยวัด) ต่อมาก็ได้มาอยู่ที่วัดใหญ่ (วัดมหาธาตุ) พิษณุโลก หลังจากนั้นก็กลับไปอยู่ทางพิจิตรและมรณภาพที่วัดฆะมัง เมื่อปี 2488 ดังกล่าวข้างต้น
ตะกรุดหลวงพ่อพิธมีอานุภาพด้านคงกระพันสูงมาก ผู้ใช้หลายรายโดนทั้งปืนทั้งมีดไม่เคยระคายผิว ชาวบ้านบางคนถูกแทงจนเสื้อขาดแต่ก็ไม่เข้า พวกเศรษฐีมีเงินก็ทุ่มทุนซื้อตะกรุดอกนั้น เมื่อได้ราคาหลายหมื่นก็ขายเหมือนกัน เพราะทนเงินง้างไม่ไหว ยันต์อะสิสัตติ ธนูเจวะฯ นี้เป็นยันต์ที่มีมาแต่โบราณกาล เกจิอาจารย์รุ่นเก่าทั้งภาคกลางและภาคเหนือใช้กันมาก หลวงพ่อดัง ๆ เช่น หลวงพ่อโพธิ์ วัดวังหมาเน่า หลวงพ่อเรือง วัดบ้านดง หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน หลวงพ่อน้อย วัดป่ายางนอก ฯลฯ ซึ่งเกจิอาจารย์ที่กล่าวถึงนี้มีอายุอยู่ในศตวรรษก่อนทั้งสิ้น และแต่ละท่านก็มรณภาพไปอย่างน้อย 70 ปี แล้วทั้งนั้น จากหลักฐานที่ได้ศึกษามา แต่ละท่านใช้ยันต์นี้ลงตะกรุด บางดอกของท่าน กรณีที่เป็นตะกรุดดอกสำคัญ
ยันต์นี้ดีอย่างไร ? ในสมัยก่อนเราเรียกยันต์นี้ว่า ยันต์คู่ชีวิต คือ มีอยู่แล้วชีวิตอยู่คง เป็นยันต์ที่ได้ใช้กันมานานตั้งแต่สมัยอยุธยายังรุ่งโรจน์ เป็นยันต์ ๆ หนึ่งในตำราพิชัยสงครามได้ระบุไว้ เป็นยันต์ชั้นสูงหาค่ามิได้
จากตำรา สมุดข่อยของ หลวงพ่อเรือง วัดบ้านดง อ. ชาติระการ จ. พิษณุโลก เขียนไว้ว่า “ยันต์นี้ลงกะตุด (ตะกรุด) ไม่ต้องเสกยิงเอาเถิด” จะเห็นได้ว่า ยันต์นี้มีอานุภาพเพียงใด ขลังเพียงใด ? คาถาที่ลงในตารางทั้งสี่มุมเขียนไว้ว่า
อะสิสัตติธะนูเจวะ สัพเพเตอาวุธานิจะ ภัคคะภัคคาวิจุณณานิ โลมังมาเมนะผุสสันติ
การ ลงอักขระจะลงสลับไปมาในช่องต่าง ๆ ไม่ได้เรียงกันอย่างการอ่านธรรมดา คาถานี้ใช้เป็นคาถาหลักในการปลุกเสกตะกรุด ทั้งการอาราธนาใช้โปรดดูรายละเอียดเกี่ยวกับการอาราธนาใช้ตะกรุดของท่าน
เมื่อ หลวงพ่อพิธมรณภาพ หลังจากประชุมเพลิงแล้ว มีสิ่งอัศจรรย์เกิดขึ้น คือ ดวงตาทั้งสองของท่านไฟเผาไม่ไหม้ และทางวัดฆะมังยังเก็บรักษาไว้จนทุกวันนี้ ชาวบ้านเลยเรียกท่านว่า หลวงพ่อพิธตาไฟ
สมัยที่ท่านไม่มรณภาพ ท่านมีดวงตาที่ดุมากตอนนั้นเรียกท่านว่า หลวงพ่อพิธตาเสือ พอมรณภาพแล้วเลยเรียกว่า หลวงพ่อพิธตาไฟ คงหมายถึงดวงตาทนต่อไฟได้นั่นเอง ปัจจุบันนี้ เรายังโชคดีที่อาจารย์องค์หนึ่งยังมีชีวิตอยู่ คือท่าน มหาลำเจียก ท่านมีศักดิ์เป็นญาติกับหลวงพ่อพิธว่าหลวงน้า อายุท่านก็เกือบ 90 ปีแล้ว ถ้าจะถามเรื่องหลวงพ่อพิธท่านให้ความกระจ่างได้ และท่านเป็นพระองค์หนึ่งที่ได้จารตะกรุดให้หลวงพ่อพิธในสมัยนั้น ยันต์ทุกตัว รวมทั้งการลงคาถากำกับ ท่านจำได้หมด แม้ว่าดวงตาจะไม่ค่อยเห็นแล้วก็ตาม จากปากคำของท่าน ท่านเป็นหนึ่งในหกของลูกศิษย์หลวงพ่อพิธ ที่เคยจาร อักขระลงตะกรุดให้หลวงพ่อ แล้วหลวงพ่อพิธก็จะไปปลุกเสกกำกับเป็นครั้งสุดท้ายอีกครั้ง แต่ขณะลงผู้ลงก็เสกกำกับไว้อย่างบริบูรณ์แล้ว แต่เพื่อให้สาธุชนศรัทธายิ่งขึ้น หลวงพ่อพิธจะนำไปปลุกเสกให้อีกครั้งหนึ่ง จากการศึกษาของข้าพเจ้า ตะกรุดหลวงพ่อพิธมีด้วยกันหลายแบบ (เพราะศิษย์หลายคนจารอักขระให้ต่างกัน) ดอกที่หลวงพ่อพิธจารเองด้วยมือนั้น อักขระจะอ่านค่อนข้างยากเพราะท่าน จารด้วยปราณ หมายถึง จะต้องจารอักขระให้เสร็จในอึดใจเดียว ตะกรุดดอกที่ท่านจารด้วยมือนี้ ขณะนี้ข้าพเจ้าได้มอบให้ คุณประกิจ มหาแถลง ไว้ใช้แต่ที่เราสามารถพิจารณาเป็นยันต์หลักได้ก็คือ ยันต์อะสิสัตติฯ ดังกล่าวข้างต้น
อั่ว ก็คือ หลอดทองเหลืองที่ใช้เป็นแกนกลางของตะกรุด โดยปกติจะบัดกรี เสริมหัวท้ายด้วยลวดเพื่อให้คุ้มกันการสึกหรอของตะกรุดทั้งด้านในและด้านหัว ตะกรุด นี่คือเทคนิคประการหนึ่งในการอนุรักษ์ตะกรุดของท่านให้คงทนกว่าอาจารย์อื่น แนวความคิดนี้มิใช่หลวงพ่อพิธนำมาใช้เป็นท่านแรก ความจริงมีอาจารย์เก่า ๆ ก่อนท่านได้ใช้มาก่อนแล้ว ตะกรุดหลวงพ่อโพธิ์ วัดวังหมาเน่า ก็สร้างในลักษณะนี้ ตะกรุดหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน บางดอกก็สร้างในลักษณะนี้ แต่ทว่าไม่ได้บัดกรีเสริมลวดที่หัวท้ายเท่านั้น เมื่อท่านเห็น ตะกรุดเก่ามีแกนทองแดง หรือ ทองเหลืองอยู่ตรงกลาง แล้วข้าพเจ้าเชื่อว่า มากกว่า 95% เป็นตะกรุดทางจังหวัดพิจิตร แต่จะเป็นของอาจารย์อะไรสายไหนนั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งต้องศึกษากันต่อไป เท่าที่ได้ทราบมา ตะกรุดประเภทนี้มิได้มีเฉพาะสายหลวงพ่อเงินเท่านั้น ต้นตอมาจาอาจารย์เดียวกันคือ หลวงพ่อโพธิ์ วัดวังหมาเน่า หลวงพ่อโพธิ์ก็มีลูกศิษย์หลายท่าน ฉะนั้นอาจารย์สายอื่นก็จะสร้างตะกรุดชนิดเดียวกันนี้ เช่นกัน จากการที่ได้มีโอกาสไปสนทนากับ หลวงพ่อเปรื่อง เจ้าอาวาสวัดบางคลานปัจจุบัน ท่านไม่เชื่อว่าหลวงพ่อเงินเป็นลูกศิษย์ หลวงพ่อโพธิ์ ท่านว่าหลวงพ่อโพธิ์มีอายุอ่อนกว่าหลวงพ่อเงิน และเสียชีวิตอยู่องค์เดียว ไม่มีใครดูแล หลวงพ่อเปรื่องจะได้หลักฐานมาจากที่ใดข้าพเจ้าไม่ทราบ แต่จากการศึกษาหลาย ๆ ด้านน่าเชื่อว่า หลวงพ่อโพธิ์เป็นอาจารย์องค์หนึ่งของหลวงพ่อเงินแม้ อาจารย์เภาศกุนตะสุต ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติเถระต่าง ๆ ทั่วประเทศ ยังยืนยันไว้ว่า หลวงพ่อโพธิ์เป็นอาจารย์ หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน เช่นกัน ตะกรุดของหลวงพ่อพิธ จะมีแบบอื่นอีกหรือไม่? ขณะนี้ยังไม่ทราบได้ ต้องศึกษาต่อไปอีก เพราะของเหล่านี้ท่านก็ได้สร้างไว้นานแล้ว ระยะเวลาที่ต่างกัน ท่านอาจจะสร้างไว้ ท่านอาจจะสร้างด้วยยันต์อื่นก็ได้ นี่เป็นเพียงข้อสันนิษฐานเท่านั้น แต่การเล่นหาจะต้องยึดของที่เป็นมาตรฐานไว้ก่อน ดังที่ได้เรียนให้ทราบข้างต้น
กลับมาสู่เรื่อง ตะกรุดหลวงพ่อพิธ อีกครั้งท่านผู้รู้ไว้ดังนี้
ถ้าจะปลุกเสกตะกรุดของท่านให้ครบเครื่องให้เสกดังนี้
นะโมพุทธายะฯ จะภะกะสะ สะกะภะจะฯ อิติปิโส ภะคะวาติฯ
ไตรสระณาคมฯ อะสังอิสุโลปุสะพุภะฯ อิสวาสุ สุสวาอิฯ เมตัญจะ
สัพพะโลกัสสมิงฯ อะสิสัตติธะนูเจวะ สัพเพเตอาวุธานิจะ ภัคคะภัคคาวิจุณณานิ โลมังมาเมนะผุสสันติฯ
เสก บทละ 108 คาบ จะสังเกตได้ประการหนึ่งว่า คาถาที่ปลุกเสกก็คือ คาถาที่ลงในตะกรุดนั่นเอง ตะกรุดเก่าผู้สร้างจะลงถมไว้ การลงถมคือการลงอักขระแล้วลบทิ้ง ลงใหม่เช่นนี้หลาย ๆ ครั้ง ตามตำราให้ลง 108 ครั้งคงเป็นไปได้ยาก แต่ทว่าการลงหลาย ๆ ครั้งในทางปฏิบัติอาจทำ 7 ครั้ง หรือ 9 ครั้ง ก็พอจะเป็นไปได้
การที่จะให้ลง 108 ครั้งนั้น ถ้าทำอย่างนั้นจริงเดือนที่คงลงได้ไม่กี่ดอกเท่านั้น ถ้าจะทำกันสัก 10 คงใช้เวลากันเป็นปีกว่าจะเสร็จ นอกเสียจากจะให้ลูกศิษย์หรือผู้อื่นลงให้วัตถุประสงค์ในการลงถมก็คือ การเสกซ้ำซึ่งตามตำราว่าในการลง 108 ครั้งนั้นคงจะมีสักครั้งหนึ่งหรอกที่สมาธิจิตดี มั่นคง และลงคาถากำกับได้ถูกต้อง เท่านี้ก็พอแล้วการที่กำหนดให้ลงมาก ๆ เข้าไว้คงเป็นการเผื่อไว้เท่านั้น ถ้าผู้ลงมีสมาธิจิตดีแล้ว ก็คงไม่ต้องถึง 108 ครั้ง
เป็นอย่างไรครับประวัติความเป็นมาของการสร้างตะกรุดหลวงพ่อ พิธ ท่านได้อ่านและทราบขั้นตอนการสร้างไม่ใช่ง่าย ๆ เหมือนที่ท่านคิด ตะกรุดแต่ละดอกจึงมีราคาแพงมาก ๆ มาในปัจจุบันเซียนพระทั้งใหญ่และเล็ก ห้อยสมเด็จไว้นอกเสื้อเพื่อเสนอขาย แต่เครื่องราง เช่น ตะกรุดใส่ไว้ในเสื้อเพื่อไว้ใช้ป้องกัน เสนียดจัญไร ขับไล่สิ่งอัปมงคล และขอให้แคล้วคลาดปลอดภัย ส่วนมากจะเป็นอย่างนี้เป็นส่วนใหญ่ ทุกท่านไม่ต้องสงสัยเลยว่า ทำไม เครื่องรางบางชนิดจึงหายากถามบางคนเขาก็ไม่บอก ฉะนั้นการที่ทุกท่านจะหาเครื่องรางของขลัง เอาไว้บูชาพกพาอาราธนาติดตัวสักหนึ่งดอก โปรดหาคนที่รู้แจ้งเห็นจริงและท่านจะไม่ผิดหวังตลอดชีวิต สวัสดีครับ
ที่มา
|
ราคาเปิดประมูล :
1000 บาท
ราคาสูงสุด ขณะนี้ :
1000 บาท
ราคาที่ต้องเพิ่มขึ้น ขั้นต่ำ :
100 บาท
ผู้ตั้งประมูล :
ประริชาติ ชมภูงาม
ที่อยู่ :
43 ม.5 ต.จอมหมอกแก้ว อ.แม่ลาว จ.เชียงราย ไทย
เบอร์โทรติดต่อ :
0877888022, 0877888022
E-mail :
papiyong2520@hotmail.co.th
ชื่อบัญชี :
ประริชาติ ชมภูงาม
เลขที่ บัญชี :
1101496614
ธนาคาร :
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
วันที่ :
Fri 4, Dec 2015 09:19:13
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|