ลป.กุหลาบ วัดใหญ่สว่างอารมณ์ (พระนันทวิริยาจารย์) อดีตเจ้าคณะอำเภอปากเกร็ด ท่านเกิดในนนทบุรี ในปีพ.ศ. 2443 ครับ ต่อมาเมื่ออายุครบ 11 ปีจึงบรรพชาเป็นสามเณร และย้ายไปพำนักอยู่วัดอนงคาราม ศึกษาร่ำเรียนอยู่กับ "สมเด็จพุฒาจารย์ (นวม)" เมื่ออายุครบ 21 ปี จึงเดินทางกลับมาอุปสมบทอีกครั้งที่จังหวัดนนทบุรี โดยมี "ลพ.ช่วง วัดบางแพรกใต้ "เป็นพระอุปัชฌาย์ จากนั้นจึงกลับไปพำนักอยู่วัดอนงค์ตามเดิม สมัยที่ ลป กุหลาบ ยังพำนักอยู่วัดอนงค์นั้น ทุกครั้งที่สมเด็จ(นวม) ท่านติดธุระไม่อยู่วัด เมื่อมีใครเจ็บไข้ หรือเดือดร้อนสิ่งใดมา ท่านก็แก้ไขรักษาไปให้แทนทุกครั้ง อีกทั้งบางครั้งคราว สมเด็จ ฯ (นวม) ยังให้ ลป กุหลาบ ถือพัศยศของสมเด็จฯ ไปนั่งร่วมพิธีแทนกับเถราจารย์รูปอื่นๆ บางพิธีปลุกเสกพระเครื่องนั้น ลป กุหลาบนั่งถัดจาก ลป.กลิ่น วัดสะพานสูงเพียงไม่กีรูปเท่านั้น อีกทั้งในช่วงที่เป็นพระภิกษุอยู่วัดอนงค์นั้น ท่านเคยถูกนิมนต์ให้ไปแสดงพระธรรมเทศนาในพระราชวังอยู่เสมอ ลป.กุหลาบ ท่านรับนิมนต์มาเป็นเจ้าอาวาสวัดใหญ่สว่างอารมณ์ในปี 2472 ซึ่งในขณะนั้น วัดใหญ่สว่างอารมณ์นับเป็นวัดเล็กๆ ท่านเลือกมา ตรากตรำพัฒนาวัดใหญ่สว่างอารมณ์จนได้รับความเจริญเป็นอย่างมาก ลป.กุหลาบ วัดใหญ่ ท่านมรณภาพอย่างสงบในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2519 ในช่วงที่ท่านมีชีวิตอยู่ ลป.กุหลาบ จากคำบอกเล่าของคนในพื้นที่ ท่านเป็นประธานการปลุกเสกพระเครื่องพิธีใหญ่ๆ และร่วมปลุกเสกแทบจะทุกพิธีในจังหวัดนนทบุรี โดยเฉพาะในย่านปากเกร็ด ช่วงปี 2500-2518 เกือบทั้งสิ้น พิธีดังๆ อาทิ เช่นเหรียญทุกรุ่นของ ลพ.ทองสุข วัดสะพานสูง ทั้ง "บล็อคเอื่อม" , "บล็อคเอี่ยม" , "ข้าวหลามตัดยันต์เล็ก /ยันต์ใหญ่" เหรียญประสบการณ์ของ ลป เผือก วัดสาลีโข สำหรับวัดใหญ่สว่างอารมณ์ สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยตอนปลายราว พ.ศ. 1963 แต่เดิมในสมัยกรุงศรีอยุธยาชื่อว่า วัดน้อย เพราะเรียกตามที่ตั้งที่อยู่ติดคลองบางน้อย ต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็นวัดใหญ่ยิ่ง จนมาถึงในสมัยรัชกาลที่ 5 ก็เปลี่ยนมาเป็นชื่อ วัดใหญ่บางน้อย เพราะมีเจ้าอาวาสชื่อหลวงพ่อน้อย
ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2463 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสได้เสด็จมาพักผ่อนอริยบทพร้อมประทับ ณ ตำหนักชั่วคราวที่ข้าหลวงประจำจังหวัดสร้างถวายเป็นเวลาหลายวัน และทรงพอพระทัยในพระตำหนักที่พัก ทรงมีพระอารมณ์ผ่องใสพร้อมทั้งสุขภาพและพลานามัยดีขึ้น จึงได้ขนานนามวัดให้ใหม่ว่า “วัดใหญ่สว่างอารมณ์” แต่เมื่อเวลาผ่านไปพระตำหนักของสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ได้ทรุดโทรมมากทางวัดจึงรื้อลง
เมื่อมาถึงวัดเราก็พลาดไม่ได้ที่จะต้องกราบไหว้พระขอพรให้สราญใจกันก่อน ภายใน “พระอุโบสถ” ทรงไทยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปหน้าตักกว้าง 4 ศอก ทำจากศิลาแลง ปางสมาธิ สมัยสุโขทัย เป็นพระประธานของอุโบสถ ส่วนวิหารที่อยู่ข้างกันนั้น เป็นที่ประดิษฐาน “หลวงพ่อแสนล้าน” ที่ประชาชนนิยมมากราบไหว้ขอพร และเสี่ยงเซียมซีขอโชคลาภ
ใกล้กันเป็น “หอระฆังสูง” ที่มีลักษณะทรงไทยดูอ่อนช้อยสวยงาม ถัดไปเป็น “มณฑปหลวงพ่อกุหลาบ ธัมมวิริโย” อดีต เจ้าอาวาส หรือพระนันทวิริยาจารย์ (พ.ศ. 2443-2519) ซึ่งถือเป็นพระเกจิชื่อดังของจังหวัดนนทบุรี เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่ผู้นิยมวัตถุบูชา ว่ากันว่าท่านเป็นศิษย์สายสมเด็จนวม วัดอนงค์ฯ ท่านได้เป็นประธานในการปลุกเสกพระเครื่องครั้งสำคัญๆ ของจังหวัดนนทบุรี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2500 เป็นต้นมา จนหลวงปู่กุหลาบมรณภาพในปี พ.ศ. 2530 พระเครื่องของท่านที่ได้รับความนิยม เช่น พระลอย เหรียญรูปเหมือน และพระปรกใบมะขาม
|