" แมลงภู่คำ " ถือได้ว่าเป็น...สุดวิชาสายเครื่องรางของชนเผ่าไตใหญ่ (ไทยใหญ่) และม่าน(พม่า)...โดยเครื่องรางชนิดนี้ มีถิ่นกำเนิดจากประเทศพม่า รัฐไทยใหญ่ และเข้ามาทางล้านนา เป็นเครื่องรางที่ตั้งแต่ระดับพระมหากษัตริย์ของพม่า (มีความเชื่อถือสืบต่อกันมาว่า แมลงภู่คำปรากฏพบ...บนเสลี่ยงของพระเจ้าบุเรงนองด้วย) จนถึงระดับสามัญชนคนธรรมดา ต้องมีติดตัวไว้กันแทบทุกคน " แมลงภู่คำ " เป็นเครื่องรางอย่างหนึ่งของสายเหนือ เป็นงานแกะเนื้อไม้รูปตัวแมลงภู่...โดยไม้ที่ใช้นั้น ต้องทำมาจากไม้ดุมล้อเกวียนโบราณ ซึ่งเป็นไม้ประดู่แดงเท่านั้น เรียกปรอทบรรจุไว้ให้อยู่ข้างใน...โดยที่ใช้คำว่าเรียกปรอทเข้า เพราะหารูเจาะที่ใช้บรรจุปรอทเข้าไม่เจอ จึงเชื่อกันว่า ใช้วิชาอาคมเรียกปรอทเข้าไปแทน หรือบางแห่งก็เชื่อถือกันว่า ผู้มีวิชาอาคมที่ปลุกเสกแมลงภู่คำได้นั้น จะทำการปลุกเสกจนแมลงภู่ที่แกะขึ้นมานั้นมีชีวิต และบินไปกินปรอทได้เอง...
**ไม้แกะเก่าลงรักทาทองโบราณตัวจริงเสียงจริง**
ขนาดสูง 3.5 ซม. กว้าง 1.5 ซม.
|