ชื่อพระ :
พระกริ่งเจ้าฟ้านเรศ เนื้อทองกายสิทธิ์ อุดผงจักรพรรดิ์
รายละเอียด :
พระกริ่งเจ้าฟ้านเรศ เนื้อทองกายสิทธิ์ อุดผงจักรพรรดิ์
ความเป็นมาของการจัดสร้างพระกริ่งเจ้าฟ้านเรศ เพื่อน้อมถวายพระราชกุศลแด่พระญาณของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเป็นเจ้าและพระ บูรพกษัตราธิราชเจ้าแห่งแผ่นดินไทยทุกพระองค์ ตลอดจนถึงผู้ที่มีพระคุณต่อผืนแผ่นดินไทยทุกท่าน
พระกริ่งเจ้าฟ้านเรศ เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องแบบพระมหากษัตริย์หรือแบบพระมหาจักรพรรดิ พระอิริยาบทนั่งขัดสมาธิเพชร พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา
ในพระหัตถ์ซ้ายมีมณีรัตนะ คือ มณีแก้ว หมายถึงความสว่างไสว
และหมายถึงพระปัญญาธิคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงแจ้งแล้วในโลก
พระหัตถ์ขวาวางหงายบนพระชานุ หมายถึงการให้อภัยทาน อันเป็นทานที่ประเสริฐยิ่งนัก
อีกประการหนึ่ง ในบรรดาทานทั้งหมดทั้งมวล
เปรียบเสมือนพระมหากรุณาธิคุณที่ประทับอยู่ในพระทัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงประทับบนดอกบัว อันหมายถึงพระบริสุทธิคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ด้านหลังจารึกคำว่า เจ้าฟ้านเรศ
อันหมายถึง สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเป็นเจ้า
วีรกษัตริย์ไทยผู้เกรียงไกร ผู้ทรงกอบกู้เอกราชแห่งชาติไทย
ให้ลูกหลานได้อยู่สุขสบายจนตราบเท่าทุกวันนี้
ประกอบกับได้มีการจัดสร้างพระพุทธสิหิงค์
ศิลปะล้านนาตอนต้น (พระสิงห์ ๑)
เนื้อหินหยกสีน้ำผึ้ง ขนาดหน้าตัก ๔๓ นิ้ว
และพระวิหารทรงล้านนาอันเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปดังกล่าว
ณ วัดป่าดาราภิรมย์ (พระอารามหลวง) อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
อันทีพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระโสภณธรรมสาร (หลวงพ่อฤทธิรงค์ ญาณวโร)
เจ้าอาวาสวัดป่าดาราภิรมย์ (พระอารามหลวง)
และพระเดชพระคุณพระวรงคต วิริยธโร (หลวงตาม้า)
เจ้าอาวาสวัดพุทธพรหมปัญโญ (วัดถ้ำเมืองนะ)
ลูกศิษย์ พระเดชพระคุณหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ
เป็นประธานการจัดสร้างพระพุทธสิหิงค์
และพระวิหารตามวัตถุประสงค์เพื่อน้อมเกล้าถวายเป็นพระราชกุศล
แด่พระญาณองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเป็นเจ้า
และพระญาณของบูรพกษัตราธิราชเจ้าแห่งแผ่นดินไทยทุกพระองค์ในอดีต
ตลอดจนถึงดวงวิญญาณของผู้มีพระคุณต่อผืนแผ่นดินไทยทุกท่าน
ทั้งนี้ ในวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๕๐
ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิดของพระเดชพระคุณพระวรงคต (หลวงตาม้า)
คณะศิษยานุศิษย์จึงกราบเรียนขออนุญาตสร้างวัตถุมงคลพระกริ่งเจ้าฟ้านเรศ
ณ วัดพุทธพรหมปัญโญ (วัดถ้ำเมืองนะ) เพราะมักจะมีผู้รู้กล่าวไว้ว่า
ณ ถ้ำเมืองนะแห่งนี้ เป็นสถานที่สวรรคตของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเป็นเจ้า
ด้วยหลักฐานหลายอย่างพอจะน่าเชื่อถือและเป็นไปได้
แต่ทั้งนี้ ก็ต้องรอผู้ที่มีความรู้ ความสามารถมาพิสูจน์ให้แน่ชัดอีกครั้ง
การจัดสร้างพระกริ่งเจ้าฟ้านเรศมีวัตถุประสงค์การจัดสร้างทั้งหมดทั้งมวลดังนี้
เพื่อเป็นการสืบอายุพระพุทธศาสนา
โดยผู้ที่บูชาพระกริ่งเจ้าฟ้านเรศน้อมนำเอาพระพุทธเจ้าเป็นสรณะของจิตใจ
เพื่อเทิดทูนพระเกียรติยศแห่งสถาบันพระมหากษัตริย์
อันเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวไทยทุกหมู่เหล่า
เพื่อนำปัจจัยจัดสร้างพระพุทธสิหิงค์หยกสีน้ำผึ้ง
ขนาดหน้าตัก ๔๓ นิ้ว
เพื่อประดิษฐาน ณ วัดป่าดาราภิรมย์ (พระอารามหลวง) อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
เพื่อนำปัจจัยสร้างพระวิหาร
เพื่อประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์หยกสีน้ำผึ้ง ขนาดหน้าตัก ๔๓ นิ้ว
เพื่อนำปัจจัยเข้ากองทุนพุทธพรหมปัญโญ
ของวัดพุทธพรหมปัญโญ (วัดถ้ำเมืองนะ) อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
ชนวนโลหะที่นำมาใช้ในการหล่อพระกริ่งในครั้งนี้ เพื่อให้เป็นสิริมงคลอย่างสูงสุด ทางผู้สร้างจึงได้พยายามรวบรวมแผ่นยันต์ และวัตถุมงคล อีกทั้งมีผู้ร่วมมอบชนวนสำคัญต่างๆดังนี้
๑. แผ่นยันต์ที่ผ่านการอธิษฐานจิตจากครูบาอาจารย์หลายๆท่าน
ลำดับที่ รายนามพระคณาจารย์ วัด จังหวัด
๑ หลวงปู่หลอด วัดใหม่เสนานิคม กรุงเทพฯ
๒ หลวงพ่อมหาโพธิ์ วัดคลองมอญ ชัยนาท
๓ พระครูวิจิตร (จวบ) วัดพลับ กรุงเทพฯ
๔ หลวงปู่ปลื้ม วัดสวนหงษ์ สุพรรณบุรี
๕ ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี เชียงใหม่
๖ หลวงปู่แป้น วัดไทรงาม สุพรรณบุรี
๗ ครูบาบุญปั๋น วัดร้องขุ้ม เชียงใหม่
๘ หลวงพ่อสังวาล วัดทุ่งสามัคคีธรรม สุพรรณบุรี
๙ ครูบาขัน สุสานไตรลักษณ์ แม่วาง เชียงใหม่
๑๐ พระครูภาวนาวรคุณ วัดเขาพระ สระบุรี
๑๑ ครูบาตั๋น สำนักสงฆ์ดอยม่อนปู่อิ่น เชียงใหม่
๑๒ หลวงปู่นาค วัดหนองโป่ง สระบุรี
๑๓ ครูบาคำตั๋น วัดสันทรายหลวง เชียงใหม่
๑๔ หลวงปู่เจียม วัดอินทราวาสุการาม สุรินทร์
๑๕ ครูบาเผือก วัดไชยสถาน เชียงใหม่
๑๖ หลวงปู่ถม วัดเชิงท่า ลพบุรี
๑๗ ครูบาอิ่นคำ วัดข้าวแท่นหลวง เชียงใหม่
๑๘ ครูบาหล้า วัดป่าลาน เชียงใหม่
๑๙ ครูบาผัด วัดศรีดอนมูล เชียงใหม่
๒๐ หลวงพ่อดาบส อาศรมไผ่มรกต เชียงราย
๒๑ ครูบาชัยวงศาพัฒนา วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ลำพูน
๒๒ ครูบาคำปัน วัดพระธาตุผาหนาม ลำพูน
๒๓ ครูบาอินตา วัดห้วยไช ลำพูน
๒๔ หลวงปู่สี วัดพระฉาย (เขาชะโงก) นครนายก
๒๕ หลวงปู่ผาง วัดป่าบ้านนายม มุกดาหาร
๒๖ หลวงปู่หมุน วัดบ้านจาน ศรีสะเกษ
๒๗ พระอาจารย์จ่อย วัดป่าหนองล่ม สระแก้ว
๒๘ หลวงพ่อธรรมยุต วัดหนองแท่นพระ ปราจีนบุรี
๒๙ หลวงปู่ทองมี วัดนิคมวนาราม ยโสธร
๓๐ หลวงปู่ทองสี วัดสุทธิมงคล ยโสธร
๓๑ หลวงปู่สอ วัดป่าหนองแสง ยโสธร
๓๒ หลวงปู่เหรียญ วัดอรัญบรรพต หนองคาย
๓๓ หลวงปู่ตี๋ วัดหลวงราชาวาส อุทัยธานี
๓๔ หลวงน้าสายหยุด วัดสะแก อยุธยา
๓๕ หลวงปู่กอง วัดสระมณฑล อยุธยา
๓๖ หลวงพ่อรวย วัดตระโก อยุธยา
๓๗ หลวงปู่ชม วัดนางใน อ่างทอง
๓๘ หลวงปู่ศรี วัดป่ากุง ร้อยเอ็ด
๓๙ หลวงปู่บุญมี วัดสระประสานสุข อุบลราชธานี
๔๐ หลวงปู่จันทา วัดป่าเขาน้อย พิจิตร
๒ . แผ่นยันต์ที่ครูบาอาจารย์ทั้งหลายท่านได้เมตตามอบให้เพื่อนำเป็นชนวน
ลำดับที่ รายนามพระคณาจารย์ วัด จังหวัด
๑ หลวงพ่อพูน (๑ แผ่น) วัดบ้านแพน อยุธยา
๒ หลวงพ่อหวล (๓ แผ่น) วัดพุทไธศวรรย์ อยุธยา
๓ หลวงพ่อเอียด (๑ แผ่น) วัดไผ่ล้อม อยุธยา
๔ หลวงพ่อหมื่นอุดม (๑ แผ่น) วัดตูม อยุธยา
๕ หลวงพ่อเพิ่ม (๑ แผ่น) วัดป้อมแก้ว อยุธยา
๖ หลวงพ่อพุฒ (๓ แผ่น) วัดขนอนเหนือ อยุธยา
๗ หลวงพ่ออุดม (๑ แผ่น) วัดพิชัยสงคราม อยุธยา
๘ พระอาจารย์ธรรมนูญ (๓ แผ่น) วัดมณีชลขัณฑ์ ลพบุรี
๙ พระครูวินัยธรนิพนธ์ (๓ แผ่น) วัดกล้วย อยุธยา
๑๐ หลวงปู่บุญ (๓ แผ่น) วัดหัวเขา ลพบุรี
๑๑ เจ้าคุณไวทย์ (๓ แผ่น) วัดพนัญเชิง อยุธยา
๑๒ หลวงพ่อเพี้ยน (๓ แผ่น) วัดเกริ่นกฐิน ลพบุรี
๑๓ หลวงปู่ชื้น (๑ แผ่น) วัดญาณเสน อยุธยา
๑๔ หลวงปู่เทพ (๑ แผ่น) วัดป่าเทพเนรมิต ลพบุรี
๑๕ หลวงปู่ทิม (๑ แผ่น) วัดพระขาว อยุธยา
๑๖ หลวงปู่นนท์ (๑ แผ่น) วัดเหนือวน ราชบุรี
๑๗ หลวงปู่สวัสดิ์ (๑ แผ่น) วัดศาลาปูน อยุธยา
๑๘ หลวงพ่อน้อย (๑ แผ่น) วัดไผ่ท่าโพธิ์ใต้ พิจิตร
๑๙ หลวงพ่ออุตตมะ (๔ แผ่น) วัดวังก์วิเวการาม กาญจนบุรี
๒๐ หลวงตาพวง (๒ แผ่น) วัดศรีธรรมาราม ยโสธร
๒๑ ครูบาเที่ยงธรรม (๓ แผ่น) วัดเวฬุวัน ศรีสะเกษ
๒๒ หลวงปู่สรวง (๑ แผ่น) วัดศรีฐานใน ยโสธร
๒๓ หลวงพ่อสุทัศน์ (๑ แผ่น) วัดกระโจมทอง นนทบุรี
๒๔ หลวงพ่อดุล (๓ แผ่น) สำนัดสงฆ์คงคำโคกทม บุรีรัมย์
๒๕ หลวงปู่ชื่น (๒ แผ่น) วัดตาอี บุรีรัมย์
๒๖ หลวงพ่อสิริ (๓ แผ่น) วัดตาล นนทบุรี
๒๗ หลวงปู่สินธุ์ (๓ แผ่น) วัดสะพานสูง นนทบุรี
๒๘ หลวงปู่ธีร์ (3 แผ่น) วัดจันทราวาส บุรีรัมย์
๒๙ หลวงปู่จันทร์แรม (๑ แผ่น) วัดเกาะแก้วธุดงคสถาน บุรีรัมย์
๓๐ หลวงปู่ฤทธิ์ (๒ แผ่น) วัดชลประทานราชดำริ บุรีรัมย์
๓๑ หลวงปู่เหลือง (๑ แผ่น) วัดกระดึงทอง บุรีรัมย์
๓๒ หลวงปู่จุ่ม (๑ แผ่น) วัดป่ารักษ์น้ำ ธุดงคสถาน บุรีรัมย์
๓๓ หลวงพ่อสิริ (๑ แผ่น) ศูนย์ฟื้นฟู ผู้ติดยาเสพติด ชัยภูมิ
๓๔ อาจารย์ศุภรัตน์ แสงจันทร์ (๑ แผ่น) บ้านพุทธฉัตร อยุธยา
๓๕ หลวงปู่คำพันธ์ (๑ แผ่น) วัดธาตุมหาชัย นครพนม
๓๖ หลวงปู่พวง (๑๒ แผ่น) วัดป่าปูลู อุดรธานี
๓๗ หลวงปู่จันทร์โสม (๑ แผ่น) วัดป่านาสีดา อุดรธานี
๓๘ หลวงปู่หรุ่ม (๑ แผ่น) วัดบางจักร อ่างทอง
๓๙ หลวงปู่ชุป (๔ แผ่น) วัดหนองเต่าทอง สุพรรณบุรี
๔๐ ครูบาอินทร (๔ แผ่น) วัดสันป่ายางหลวง ลำพูน
๔๑ ครูบาอินตา (๔ แผ่น) วัดวังทอง ลำพูน
๔๒ ครูบาสุข (๑ แผ่น) วัดป่าซางน้อย ลำพูน
๔๓ ครูบากฤษดา (๖ แผ่น) วัดสันพระเจ้าแดง ลำพูน
๔๔ ครูบาอริยชาติ (๘๖ แผ่น) วัดวังมุย ลำพูน
๔๕ หลวงพ่อบุญรัตน์ (๑ แผ่น) วัดโขงขาว เชียงใหม่
๔๖ ครูบาน้อย (๓ แผ่น) วัดศรีดอนมูล เชียงใหม่
๔๗ ครูบาดวงดี (๔ แผ่น) วัดบ้านฟ่อน เชียงใหม่
๔๘ ครูบาอิน (๑ แผ่น) วัดทุ่งปุย เชียงใหม่
๔๙ ครูบาเทือง (๒ แผ่น) วัดบ้านเด่น เชียงใหม่
๕๐ หลวงตาม้า (๓ แผ่น) วัดพุทธพรหมปัญโญ เชียงใหม่
๕๑ ครูบาจันทร์ (๑ แผ่น) วัดสันเจดีย์ริมปิง เชียงใหม่
๕๒ หลวงพ่อแดง (๓ แผ่น) วัดแม่ฮ่องไคร้ เชียงใหม่
๕๓ หลวงปู่ลี (๒ แผ่น) วัดเอี่ยมวนาราม อุบลราชธานี
๕๔ หลวงปู่สังข์ (๓ แผ่น) วัดบ้านท่าช้างใหญ่ อุบลราชธานี
๕๕ หลวงปู่สวน (๓ แผ่น) วัดนาอุดม อุบลราชธานี
๕๖ พระโพธินันทมุนี (๒ แผ่น) วัดบูรพาราม สุรินทร์
๕๗ หลวงปู่ธรรมรังษี (๓ แผ่น) วัดพระพุทธบาทเขาพนมดิน สุรินทร์
๕๘ หลวงปู่หงส์ (๒ แผ่น) วัดเพชรบุรี สุรินทร์
๕๙ หลวงพ่อประวิทย์ (๑ แผ่น) วัดหนองจระเข้ ปราจีนบุรี
๖๐ หลวงปู่วาส (๓ แผ่น) วัดสะพานสูง นนทบุรี
๖๑ หลวงพ่อสง่า (๓ แผ่น) วัดเขมาภริตาราม นนทบุรี
๖๒ หลวงพ่อประสิทธิ์ (๒ แผ่น) วัดไทรน้อย นนทบุรี
๖๓ หลวงปู่แยง (๑ แผ่น) วัดภูทอก หนองคาย
๖๔ หลวงพ่อคำ (๑ แผ่น) วัดถ้ำบูชาภูวัว หนองคาย
๖๕ หลวงปู่เคน (๑ แผ่น) วัดป่าประชานิยม มหาสารคาม
๖๖ หลวงพ่อจำเนียร (๑ แผ่น) วัดถ้ำเสือ กระบี่
๖๗ หลวงปู่ผ่าน (๔ แผ่น) วัดประทีปปุญญาราม สกลนคร
๖๘ หลวงปู่บุญมา (๒ แผ่น) วัดป่าสีห์พนม สกลนคร
๖๙ หลวงปู่แปลง (๒ แผ่น) วัดป่าอุดมสมพร สกลนคร
๗๐ หลวงปู่บุญพิณ (๓ แผ่น) วัดป่าเทพนิมิตร สกลนคร
๗๑ หลวงพ่อเจียม (๓ แผ่น) วัดเทพวิสุทธาราม สกลนคร
๗๒ หลวงปู่สุภา (๓ แผ่น) สำนักสงฆ์เทพขจรจิต ภูเก็ต
๗๓ หลวงปู่ท่อน (๑ แผ่น) วัดป่าศรีอภัยวัน เลย
๗๔ หลวงปู่หลุย (๓ แผ่น) วัดราชโยธา กรุงเทพฯ
๗๕ พระครูสถิตย์ (๑ แผ่น) วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ
๗๖ หลวงพ่อน้ำมนต์เดือด (๑ แผ่น) ว่าป่าสมเด็จ มุกดาหาร
๗๗ หลวงพ่อคำ (๑ แผ่น) วัดท่ายาง นครศรีธรรมราช
๗๘ หลวงพ่อชำนาญ (๔ แผ่น) วัดบางกุฏีทอง ปทุมธานี
๗๙ หลวงปู่เมตตา (๓ แผ่น) วัดโพธิ์เลื่อน ปทุมธานี
๘๐ พระอาจารย์ประกอบ (๓ แผ่น) วัดป่ามหาชัย สมุทรสาคร
๘๑ หลวงปู่บ๊ก (๑ แผ่น) วัดเนินพยอม อุทัยธานี
๘๒ หลวงพ่อวิชัย (๓ แผ่น) วัดถ้ำผาจม เชียงราย
๘๓ พระครูสมุห์อวยพร (๒ แผ่น) วัดดอนยายหอม นครปฐม
๘๔ หลวงปู่ผูก (๑ แผ่น) วัดพระปฐมเจดีย์ นครปฐม
๘๕ หลวงปู่จ่าง (๓ แผ่น) วัดเขื่อนเพชร เพชรบุรี
๘๖ หลวงปู่อุ้น (๓ แผ่น) วัดตาลกง เพชรบุรี
๘๗ หลวงปู่จันทร์หอม (๕ แผ่น) วัดสว่างวนาราม อุบลราชธานี
๘๘ หลวงปู่พร้า (๓ แผ่น) วัดโคกดอกไม้ ชัยนาท
๘๙ หลวงพ่อแดง (๓ แผ่น) วัดห้วยฉลองราษฎร์ อุตรดิตถ์
๙๐ หลวงพ่อทองคำ (๑ แผ่น) วัดท่าทอง อุตรดิตถ์
๙๑ หลวงพ่อวัดป่าพุทธคยา (๑ แผ่น) อินเดีย
๓. ห่วงเหรียญและเหรียญคณาจารย์
ลำดับที่ รายนามพระคณาจารย์ วัด จังหวัด
๑ เหรียญหลวงปู่เหรียญ วัดอรัญบรรพต หนองคาย
๒ เหรียญหลวงปู่ทวด รุ่นต่างๆ วัดช้างให้และวัดอื่นๆ ปัตตานี
๓ เหรียญสมเด็จองค์ปฐมต้น โครงการโพธิจิต
๔ เหรียญหลวงพ่อสงวน วัดทุ่งทองทิพย์ กาญจนบุรี
๕ เหรียญพระนิพานหลวงปู่บุญศรี วัดศรีสุทธาวาส นครสวรรค์
๖ เหรียญหลวงพ่ออินทร์ ปี ๒๕๐๔
๗ เหรียญพระครูสิริกันทรลักษณ์ ปี ๒๕๒๑ วัดศรีขุนหาญ ศรีสะเกษ
๘ เหรียญหลวงพ่อรุ่ง วัดป่าน้ำจืด
๙ เหรียญบาทขวัญถุง ครูบาชัยวงศาพัฒนา วัดพระบาทห้วยต้ม ลำพูน
๑๐ เหรียญหลวงปู่มี ปี ๒๕๒๕ วัดสิงห์
๑๑ เหรียญ 10 บาทขวัญถุงครูบาอริยชาติ วัดพระธาตุดงสีมา เชียงราย
๑๒ แหนบ-เหรียญหลวงพ่อฤาษีลิงดำ หลังยันต์เกราะเพชร วัดท่าซุง
๑๓ เหรียญหลวงพ่อบุญเย็น สำนักสงฆ์พระเจ้าพรหมมหาราช เชียงใหม่
๑๔ เหรียญหลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวกการาม กาญจนบุรี
๑๕ เหรียญหลวงพ่อสิน วัดบุณยประดิษฐ์
๑๖ เหรียญหลวงพ่อวิชัย วัดถ้ำผาจม เชียงราย
๑๗ เหรียญหลวงพ่อผล วัดดักคะนน ชัยนาท
๑๘ เหรียญหลวงปู่ธูป วัดวังอ่าง
๑๙ เหรียญหลวงปู่คำพันธ์ วัดธาตุมหาชัย นครพนม
๒๐ เหรียญหลวงพ่อเชิญ วัดโคกทอง อยุธยา
๒๑ เหรียญหลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง เชียงใหม่
๒๒ เหรียญหลวงปู่ทอง วัดบ้านกลึง นครราชสีมา
๒๓ เหรียญรุ่นสุดท้ายหลวงพ่อโอภาสีและรุ่นหลัง อาศรมบางมด กรุงเทพฯ
๒๔ เหรียญหลวงพ่อบุญช่วย วัดไผ่แก้ว ฉะเชิงเทรา
๒๕ เหรียญพระคณาจารย์ตั๊กฮี ปี ๒๕๓๔ วัดเซี่ยนฮุดยี่ ชลบุรี
๒๖ เหรียญหลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์ วัดแปลงกะดิน ชลบุรี
๒๗ เหรียญพรหม ๔ หน้า หลวงพ่อคอน วัดชัยพฤกษ์มาลา กรุงเทพฯ
๒๘ เหรียญหลวงปู่ปาน วัดหนองปลาไหล
๒๙ เหรียญอนุสรณ์ ๘๐ ปี หลวงพ่อเดิม วัดหนองบัว นครสวรรค์
๓๐ เหรียญรุ่นแรกหลวงปู่พวง วัดป่าปูลู อุดรธานี
๓๑ รูปหล่อพระพุทธชินราชรุ่น ๒ หลวงตา
มหาบัวอธิษฐานจิต วัดป่ากู่ทอง
๓๒ เหรียญ ร.๙ สภากาชาดไทย
๓๓ เหรียญพระสัมพุทธสิรี สมเด็จพระวันรัต วัดโสมนัส กรุงเทพฯ
๓๔ เหรียญหลวงปู่ฝั้น วัดป่าอุดมสมพร สกลนคร
๓๕ พระปิดตาเนื้อตะกั่วหลังเฮง หลวงพ่อดำ วัดสันติธรรม สนระแก้ว
๓๖ เหรียญหลวงพ่อสุด ปี ๒๕๑๗ วัดกาหลง สมุทรสาคร
๓๗ เหรียญสมเด็จพระญาณสังวร ปี ๒๕๓๕ วัดพิชัยญาติการราม กรุงเทพฯ
๓๘ เหรียญพระชัยหลังช้าง
๓๙ เหรียญพระวันรัต วัดสังเวชวิทยาราม
๔๐ เหรียญหลวงพ่อธรรมงาม
๔๑ เหรียญหลวพ่อโตชินะราช ปี ๒๕๑๗ วัดบัวปากท่า นครปฐม
๔๒ เหรียญหลวงพ่อม่วง วัดยางงาม ราชบุรี
๔๓ เหรียญหลวงพ่อผาง ปี ๒๕๑๒ วัดอุดมคงคาคีรีเขตต์ ขอนแก่น
๔๔ เหรียญหลวงพ่อดี วัดพระรูป สุพรรณบุรี
๔๕ เหรียญสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ปี ๒๕๒๘
๔๖ เหรียญ ๙ มหาราช ๙ สังฆราช วัดบางมุกนาก พิจิตร
๔๗ เหรียญหลวงปู่วงษ์ วัดโกรกแก้ววงพระจันทร์ ฉะเชิงเทรา
๔๘ เหรียญหลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม นครปฐม
๔๙ เหรียญหลวงปูฤทธิ์ วัดชลประทานราชดำริ บุรีรัมย์
ชนวนมวลสารศักดิ์สิทธิ์ที่ได้นำมาร่วมหล่อพระกริ่งนี้ มีมากมายเหลือคณานับได้ ด้วยเหตุนี้จึงไม่สามารถระบุรายละเอียดได้จนครบ ยังมีอีกมากที่ไม่ได้กล่าวรายละเอียดปลีกย่อยลงไป กระแสพลังของพระกริ่งมีมากนักผู้ที่มีบุญวาสนาได้ครอบครองจงเก็บรักษาไว้ให้ เป็นมรดกตกทอดต่อไป
|
ราคาสูงสุด ขณะนี้ :
300 บาท
ราคาที่ต้องเพิ่มขึ้น ขั้นต่ำ :
100 บาท
เงื่อนไขการรับประกัน :
รับประกันความพอใจภายใน 7 วัน นับจากวันที่ได้รับพระ (คืนพระเกินกำหนดรับประกัน หัก 20 %)
ผู้ตั้งประมูล :
วันศีล โกวัง
ที่อยู่ :
323/332 ม.12 ต.สันผักหวาน อ.หางดง จ.เชียงใหม่ ไทย
เบอร์โทรติดต่อ :
0861936900, 0861936900
ชื่อบัญชี :
นายวันศีล โกวัง
เลขที่ บัญชี :
8922097432
ธนาคาร :
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
สาขา :
สาขาย่อยเทสโก้ โลตัส เชียงใหม่ - กาดคำเที่ยง
วันที่ :
Wed 26, Mar 2014 21:15:49