สวยเก่าเดิมๆหายยากครับของแท้นานๆเจอครับ
... บันทึกเกี่ยวกับปรอทกรอคือเป็นวัตถุมงคล เป็นของดีที่แต่ละวัดจะมีเพียงลูกเดียวเท่านั้นฝังไว้ใต้ฐานพระอุบสถ(มีหลาย ขนาด) เพื่อป้องกันสิ่งชั่วร้ายและสิ่งอัปมงคลทั้งปวง ในเรืองของความศัทธาความเชื่อศาสนาพุทธก่อนโบราณ เมืองโบราณ ณ หนึ่งเมือง เช่น จ.เชียงใหม่มีอำเภอแบ่งเป็น 24 อำเภอ แต่ละอำเภอก็มีตำบล บ้าน แบ่งย่อยออกมา คนโบราณก็แบ่งเป็น เมือง เช่น เมือง ฮอดโบราณ อำเภอฮอด ในปัจจุบันเมืองหนึ่งก็สร้างวัดหลายวัด คนโบราณ เชื่อกันว่าหนึ่งวัดได้บรรจุของวิเศษแทนคนรักษาวัดวาอารามของวิเศษนี้ชื่อ ว่า ปรอทกรอ บรรจุไว้ใต้ฐานวิหาร หรือ อุโบสถ "วัดละหนึ่งลูกเท่านั้น" คนสมัยโบราณเชื่อกันว่ามีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ปกป้องวัดจึงให้หญิงสาวบริสุทธิ์ และชายโสด มาร่วมพิธีกรรมฝังวิญาณพร้อมกันไปกับปรอทกรอ คนโบราณจึงเชื่อกันว่ามีสิ่งวิเศษของดีปกป้องภัย เช่น กันภูตผีปีศาจร้าย กันขโมย สร้างความร่มเย็นเป็นสุจแก่ศัทธาลูกวัด ตามความเชื่อแต่ครั้งโบราณเชื่อกันว่า "ของบก" ก็มีเหมือนกัน เช่น บ้าน ตลาด วัด เป็นต้น สันนิฐานว่าน่าเป็น "ของวิเศษใช้ปกป้องคุ้มครองภัย"
ปรอทกรอแบ่งเป็นชนิดๆ เช่น 1. ปรอทกรอทองคำ 2.ปรอทกรอเนื้อสำริด 3.ปรอทกรอสำริดแก่ทองคำ 4.ปรอทกรอดินเผา(พบน้อยมากส่วนมากบรรจุอุโบสถวัดที่ห่างใกล้) และแบ่งเป็นขนาดๆ ที่พบเห็นตามมาตรฐานสากล คือ 1.เส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 2เซนติเมตร 2.เส้นผ่าศูนย์กลางขนาด1นิ้ว 3.เส้นผ่าศูนย์กลางขนาด1นิ้วครึ่ง 4.เส้นผ่าศูนย์กลางขนาด2นิ้ว(พบเห็นน้อยมาก) การสร้างปรอทกรอได้มีผู้พิสูตรลองผ่าดู พบว่ามีแผ่นเรียกว่าแผ่นสำริดบางเฉียบวางซ้อนๆ กันเป็นซั้นๆ สลับๆ กันและบางลูกสร้างเป็นขดลวดสำริดกลไกที่ซับซ้อนมีลูกในที่ทำให้เกิดเสียงสัน นิฐานว่าเป็นลูกเหล็ก(คนโบราณเชื่อว่าเป็นเหล็กไหล) แล้วแต่ความเชื่อส่วนบุคคล เป็นศิลปะความคิดคนโบราณที่สร้างกลไกที่สุดยอดที่คนปัจจุบันสร้างทำเลียนแบบ ไม่ได้ ปรอทกรอที่ดัง คือ ปรอทกรอที่ไม่ตายจะมีเสียงดังดีไหลลื่นตลอดเป็นเวลานานๆ ส่วนมากแผ่นการเวลามานานบวกกับสภาพผิวของเมืองหรือวัดบางที่อาจสร้างอยู่ ลุ่มน้ำ ทำให้แช่น้ำเป็นเวลานานๆ หรือขึ้นอยู่กับสภาพผิวดินในแต่ละที่ๆ เสียงดังไม่ดี เมืองที่มีความเจริญมาก เช่น "วัดหัวเมือง" ก็จะสร้างปรอกรอ เช่น ปรอทกรอทองคำ รองมาเป็นระดับๆ จนถึงปรอทกรอดินเผาซึ่งพบเห็นน้อยที่สุดมีก็ไม่สมบูรณ์ ข้อมูลความรู้จากนักสะสมของเก่าและนักวิชาการเรื่องเมืองโบราณล้านนา ชมรมนักสมของเก่าศิลปะวัฒนธรรมและชมรมเครื่องรางแดนล้านนา
ปรอทกรอเป็นเครื่องรางของขลังยุคโบราณที่หายากมากชนิดหนึ่งมีสร้างขึ้น ตั้งแต่สมัยเชียงแสนจนถึงอยุธยา อีกทั้งยังถือเป็นยุทธโธปกรณ์ทางการทหารในสมัยโบราณ มีใช้ในชนชั้นสูง เช่น วรรณะกษัตริย์และแม่ทัพนายกอง เมื่อถูกสั่นสะเทือนแม้เพียงเล็กน้อยจะส่งเสียงร้องคล้ายจั๋กจั่น เสียงกังวานไพเราะ เมื่อยามช้างศึกม้าศึกกรีฑาทัพมาจะส่งเสียงร้องเตือนภัยแก่แม่ทัพนายกองได้ หรือเวลานอนก็นำมาวางข้างหู เพื่อเตือนภัยเช่นกัน ปัจจุบันใช้เป็นเครื่องรางร้องเตือนภัยแก่ผู้เป็นเจ้าของ และป้องกันสิ่งชั่วร้ายสิ่งอัปมงคลต่างๆ ทั้งยังเด่นด้านคงกระพันชาตรีและนำโชคลาภความร่มเย็นเป็นสุขมาสู่ผู้ครอบ ครอง
|