พระดีแห่งพระอารามหลวงชั้นตรี นาม บดินทรกู้กึกก้อง
ประวัติการสร้างพระกริ่งบดินทรนั้น สร้างขึ้นระหว่าง เททองหล่อพระประธาน ( พระพุทธชัยสิงหมุนินทร ธรรมบดินทร โลกนาถเทวนรชาติอภิปูชนีย์ ) ระหว่างวันที่ ๑๓ -๑๔ ธันวาคม ๒๕๐๒ เพื่อเชิดชูเกียรติประวัติของเจ้าพระยาบดินทรเดชา ( สิงห์ สิงหเสนี ) รวมทั้งแจกสมนาคุณแก่ผู้บริจาคทรัพย์ และมอบให้ผู้มีจิตศรัทธาเช่าบูชา จำนวนที่สร้าง ๑,๙๙๙ องค์ โดยนิมนต์พระเถระและพระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคม ร่วมประกอบพิธีปลุกเสก
.........หลังจากประกอบพิธีเสร็จแล้ว ทางวัดได้นำมาให้ผู้มีจิตศรัทธา ทำบุญในงาน ฝังลูกนิมิต เมื่อวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๐๓ ครั้งแรกไม่มีใครสนใจ มีแต่ญาติ ตระกูลสิงหเสนี คหบดี และข้าราชการ ทหาร ตำรวจ ได้เช่าบูชา ไว้จำนวนหนึ่ง ทำให้พระกริ่งบดินทรเหลืออยู่จำนวนมาก เจ้าอาวาสจึงให้พระภิกษุ แจกแก่คนงาน ที่มาสร้างระเบียงวิหารคด หอกลอง หอระฆัง จนหมด
.........พระกริ่งบดินทร เริ่มเป็นที่ต้องการของผู้คน ก็ต่อเมื่อเกิดประสบการณ์แก่ผู้บูชา คือ ตำรวจจราจรบริเวณสี่แยกวัดตึก ถูกรถบรรทุก ๖ ล้อ ซึ่งเบรกแตก พุ่งเข้าชนเต็มแรง กระเด็นกลิ้งฟาดกับพื้นหลายตลบ แต่ตำรวจนายนั้นไม่ได้รับบาดเจ็บแต่อย่างไร เพียงเสื้อและกางเกงขาดเท่านั้น ผู้ที่เห็นเหตุการณ์ หรือทราบเรื่องราวต่าง ก็เริ่มเสาะแสวงหาพระกริ่งบดินทรตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
.........อาจารย์ศศิเทพ ปร่ำนาค อาจารย์ ๓ ระดับ ๘ โรงเรียนบดินทรเดชา ( สิงห์ สิงหเสนี ) ยังเล่า ด้วยว่า หลังจากนั้นเป็นต้นมามีพุทธศาสนิกชนจำนวนมาก ได้เข้าไปขอเช่าบูชาพระกริ่งจาก พระปริยัติวราภรณ์ ( ยิน วรกิจฺโจ ) เจ้าอาวาส วัดชัยชนะสงคราม แต่ท่านตอบปฏิเสธไปพร้อมกับบอกว่า พระกริ่งบดินทร มีคนมาขอเช่าในราคา ๒๐,๐๐๐-๓๐,๐๐๐ บาท แต่ไม่มีพระจะให้ เพราะตอนนั้นได้แจกญาติโยมที่มาทำบุญหมดแล้ว
การแกะพิมพ์ปั้นหุ้น ของพระกริ่งบดินทร
แกะ โดยช่าง ฟุ้ง อ้นเจริญ ซึ่ง เป็น อาจาย์ และศิลปิน ด้านงานปั้นหุ้น แขวงบ้านช่างหล่อ โดย ใช้พุทธลักษณะ ของพระพุทธรูชสมัยเชียงแสนทรงเครื่อง เป็นแม่แบบ และได้ ประยุกต์ ให้มีหม้อน้ำมนต์ให้ดูเป็นพระกริ่งมากขึ้น และเพิ่ม ประภาณมณฑล เพิ่มฐานให้สูงขึ้น
และสลักชื่อราชทินนามบรรดาศักดิ์ ย่อ บดินทรไว้ ที่ฐาน
พระพุทธลักษณะของพระกริ่งบดินทร
เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยลอยองค์ขนาดเล็ก ศิลปเชียงแสนทรงเครื่องประทับบนบัลลังก์ สูง 2ชั้น ตอกอักษรไทยจมลึก บดินทร คำนี้แปลว่า พระเจ้าแผ่นดิน ครับ
องค์พระพักต์เป็นรูปไข่ดูอ่อนโยนแต่แฝงไว้ด้วยความขึงขลังในตัว
พระวรกาย ชะลูด ทรงเครื่ิงสวมมงกุฏ พระเกศแหลมบัวตูมใส่พระกุณฑล สวมสายสังวาลย์ สวมรัดพระกร 2ปล้อง
พิธีพุทธาภิเษก
เป็นพิธีใหญ่5วัน 5คืน นิมนค์พระเกจิอาจารย์ชื่อดังในยุคนั้นมานั่งปรกปลุกเสกถึง 108 องค์
อาทิเช่น
1. พระธรรมวโรดม วัดพระเชตุพน กทม
2. พระครูวรเวทย์มุนี ( เมี้ยน ) วัดพระเชตุพน
3. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ( อยู่ ) วัดสระเกศ
4. พระเทพสิทธินาถ ( นาค) วัดระฆัง
5. พระครูวินัยธร ( เฟื่อง ) วัดสัมพันธวงศ์
6. พระมหาโพธิวงศาจารย์ วัดอนงคาราม ฝั่งธนบุรี
7. พระธรรมโกษาจารย์ วัดมหาธาตุ กทม
8. พระธรรมมหาวีรานุวัฒน์ วัดไตรมิตรวิทยาราม กทม
9. พระเทพสุธี วัดมหาธาตุ กทม
10. พระเทพปริยัติ วัดปทุมคงคา กทม
11. พระราชศีลโศภิต วัดพระพิเรนทร์ กทม
12. พระครูชัยโศภณ วัดชัยชนะสงคราม กทม.
13. พระคูรธรรมสารสุนทร วัดคณิกาผล กทม.
14. พระสุนทรธรรมวิจารณ์ (หลวงปู่ธูป วัดแคนางเลิ้ง)
15. หลวงพ่อ เส็ง วัดกัลยาณมิตร ฝั่ง ธรบุรี
16. หลวง พ่อ เงิน วัด ดอนยายหอม นครปฐม
17. หลวงพ่อ น้อย วัด ธรรมศาลา นครปฐม
18. หลวงพ่อเทียม วัด กษัตราธิราช อยุธยา
19. หลวงพ่อ นอ วัดกลาง ท่าเรือ อยุธยา
20. หลวงพ้อ กึ๋น วัดดอนยายาวา กทม.
21. พระอาจารย์ ทิม วัดช้างให้
22. หลวงพ่อคล้าย วัดสวนขัน
23. พระปลัดเส่ง วัดกัลยณมิตร
24. พระอาจารย์ผ่อง วัดจักรวรรดิราชาวาส
|