การจัดสร้างวัตถุมงคลรุ่นแรกครั้งนี้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 20 เม.ย.2556 เวลา 09.00 น. ประ กอบพิธีเททองนำฤกษ์ มี นายจำลอง ยิ่งนึก ผู้ช่วยผู้อำนวยการกองงานราชพิธี สำนักพระราชวัง เป็นประธานในพิธีเททองนำฤกษ์ และมีพระเกจิอาจารย์เข้าร่วมประกอบพิธี โดยมี หลวงปู่แขก ปภาโส แห่งวัดสุนทรประดิษฐ์ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก เป็นประ ธานจุดเทียนชัยมงคล
สำหรับพิธีพุทธาภิเษกอย่างยิ่งใหญ่ เวลา 09.00 น. วันที่ 27 เม.ย.2556 เป็นพิธียิ่งใหญ่และครั้งแรกที่จัดสร้างวัตถุมงคลดังกล่าว ภายในสถูปเจดีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชานุสรณ์ ที่บ้านเมืองงาย อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ แห่งนี้
มีพระเกจิอาจารย์ชื่อดังร่วมบริกรรมภาวนา อาทิ ครูบาคำตั๋น วัดม่อนปู่อิ่น อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่, ครูบาออ วัดดอยธาตุเมืองนะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่, ครูบาประเสริฐ วัดหนองปลามัน อ.พร้าว จ.เชียงใหม่, ครูบาอินถา วัดยั้งเมิน อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่, ครูบาอุ่น วัดโรงวัว อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่, ครูบาคำตั๋น วัดย่าปาย อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่, หลวงพ่อพยูร วัดพนมเศษเหนือ อ.เมือง จ.นครสวรรค์ ฯลฯ
มวลสารที่นำมาสร้างวัตถุมงคลรุ่นดังกล่าวได้รับจากพระคณาจารย์ชื่อดังหลายท่าน อาทิ หลวงปู่สังข์ วัดป่าอาจารย์ตื้อ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่, ครูบาบุญทา วัดเจดีย์ 3 ยอด อ.ป่าซาง จ.ลำพูน, ครูบาผาสุข วัดอรัญญวาสี อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่, หลวงปู่หลวง วัดหัวฝาย อ.ฝาง จ.เชียงใหม่, พ่อท่านห้อง สำนักเข้าค้อ จ.พัทลุง, พ่อท่านเงิน วัดโพรงงู จ.พัทลุง, พ่อท่านเขียว วัดห้วยเงาะ จ.ปัตตานี, พ่อท่านพรหม วัดพลานุภาพ จ.ปัตตานี เป็นต้น
"วัตถุมงคลรุ่นสมเด็จพระนเรศวรมหาราช 408 ปี" จัดสร้างเป็นเหรียญพระนเรศวร เนื้อทองคำ 1 เหรียญ, เนื้อเงินหน้าทอง 3 เหรียญ, เนื้อเงิน 408 เหรียญ, เนื้อนวะหน้าเงิน 408 เหรียญ, เนื้อนวะ 408 เหรียญ, เนื้อแร่ 408 เหรียญ, เนื้อทองชมพู 4,999 เหรียญ, เนื้อทองฝาบาตร 4,999 เหรียญ, พระกริ่งเนื้อเงิน 25 ชุด, เนื้อนวะ 408 ชุด, เนื้อสัมฤทธิ์ 999 ชุด ส่วนพระกริ่งช่อ เทนำฤกษ์ 29 ช่อ, พระชัยช่อ เทนำฤกษ์ 29 ช่อ, พระขุนแผน พิมพ์ใหญ่ 19,999 องค์ และพระขุนแผน พิมพ์เล็ก 19,999 องค์
|