*** หายากที่สุดตอนนี้ ***
เหรียญรุ่นปลอดภัย หลวงปู่ครูบาอิน วัดฟ้าหลั่ง ๒๕๔๐ เนื้ออัลปาก้า ๒,๐๐๐ เหรียญ
ขออนุญาตจัดสร้างโดยคุณเฒ่า สุพรรณ เพื่อสมทบทุนสร้างมณฑปและเมรุ วัดหัวเด่น จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวนการจัดสร้าง เนื้อนวะ ๓๐๐ เหรียญ เนื้ออัลปาก้า ๒,๐๐๐ เหรียญ และเนื้อทองพระธาตุ ๘,๐๐๐ เหรียญ
คุณเฒ่า สุพรรณ ลูกศิษย์หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม ได้ทำพิธีฯขออนุญาตหลวงพ่อกวย ใช้ยันต์มวงกุฏพระพุทธเจ้าและได้จุดธูปอัญเชิญขอท่านมาช่วยปลุกเสก การจัดสร้างขึ้นเพื่อหาปัจจัยสร้างมณฑป และเมรุ วัดหัวเด่น จ.สุพรรณบุรี หลวงปู่ครูบาอิน วัดฟ้าหลั่ง ได้เมตตาปลุกเสกให้ตลอด ๔ เดือน พอออกพรรษาจึงได้นำเข้าพิธีพุทธาภิเษกอีก ๗ วัน ๗ คืน โดยพระเถระ ๑๐๘ รูป ณ วัดหม้อคำตวง (หลวงปู่ครูบาอิน ก็ยังไปร่วมพิธี) จากนั้นกลับมาถวายหลวงปู่ครูบาอิน ปลุกเสกซ้ำอีกปรากฏว่าท่านเสกไม่เข้าแล้ว จนท่านต้องให้พระเลขาฯโทรมาติดต่อหนานขวัญผู้ประสานงาน ให้โทรมาขอเหรียญนี้จากคุณเฒ่า สุพรรณ โดยให้เหตุผลว่า "กลัวคนเจียงใหม่จะบ่ได้ใช้ของดีๆ" ผู้สร้างจึงได้ถวายหลวงปู่ครูบาอินไว้แจก จำนวนประมาณ ๒ ถาดใหญ่
หลังจากนั้นผู้สร้างได้นำเหรียญที่เหลือมาเก็บไว้ที่วัดหลวงปู่หม้อคำตวง โดยขอให้ท่านปลุกเสกให้ด้วย ซึ่งท่านก็เมตตาเสกให้ทั้งลังแบบนั้น แต่ท่านก็แปลกใจจนถามออกมาว่า "เป็นเหรียญไผ จะไดเสกบ่อเข้า ขอชมดูสักหน่อย " จึงให้กรรมการแกะลังออกดู เมื่อท่านได้เห็นเหรียญแล้ว ท่านถึงกับพูดขึ้นมาว่า "อ๋อ เหรียญท่านฟ้าหลั่งนี่เอง"
ยันต์พระคาถามงกุฎพระพุทธเจ้า เป็นยันต์แบบเดียวกับยันต์ด้านหลังเหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม
พระคาถามงกุฎพระพุทธเจ้าบทนี้ถือว่าเป็นพุทธมงคลคาถาที่มีอานุภาพสารพัด ตั้งแต่เมตตามหานิยม แคล้วคลาด ไปจนถึงคงกระพันและมหาอุด แล้วแต่จะปรารถนา
ยันต์พระคาถามงกุฎพระพุทธเจ้า แสดงถึงภูมิปัญญาของบูรพาจารย์ของไทยที่ได้ผูกรูปยันต์พระคาถามงกุฎพระพุทธเจ้า เป็นรูปคล้ายดอกบัว มีวิธีการลงพระคาถาที่เป็นแบบแผนเข้มขลัง
เมื่อดูจากตัวอย่างเหรียญ มีวิธีการอ่านดังนี้
อ่านจากตรงกลาง คือ “อิ” อ่านขึ้นไปด้านบนอีก ๒ ตาราง รวมเป็น “อิติปิ”
จากนั้นอ่านเวียนขวาอีก ๓ ช่อง จะได้ “อิติปิโสวิเส”
แล้วอ่านต่อกลับมาทางขวา จบตรงจุดเริ่มต้น อ่านรวมทั้งหมดได้ว่า “อิติปิโสวิเสเสอิ”
เป็นบทแรก (นี่คือซีกใน ด้านตะวันออก เฉียงเหนือ ของ "อิ" ที่อยู่ตรงกลาง )
อ่านเวียนขวา ในซีกตะวันออกเฉียงใต้ จะ ได้ "อิเสเสพุทธะนาเมอิ"
อ่านเวียนขวา ในซีกตะวันตกเฉียงใต้ จะได้ "อิเมนาพุทธะตังโสอิ"
และซีกสุดท้าย จะได้ "อิโสตังพุทธะปิติอิ"
ในที่สุด อ่าน ทั้ง สี่ วง จะได้พระคาถาเต็มๆ ว่า “อิติปิโสวิเสเสอิ อิเสเสพุทธะนาเมอิ อิเมนาพุทธะตังโสอิ อิโสตังพุทธะปิติอิ”
"ขอเธอจงไปกราบครูบาอินที่เชียงใหม่และขอศึกษาวิชาจากท่านให้ดีๆ เถิด ท่านเป็นพระผู้เก่งกล้าสามารถมากจริงๆ”
นี่คือคำกล่าวของ หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร สุดยอดพระเกจิอาจารย์ผู้เรืองนามแห่งวัดโฆสิตาราม จังหวัดชัยนาท ได้สั่งความให้ศิษย์ของท่านคนหนึ่งไว้ เมื่อหลายสิบปีที่แล้วมา
ในทัศนะของหลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร แล้วนั้นเห็นว่า ในเขตล้านนาภาคเหนือของสยามประเทศนั้น หากไม่นับครูบาเจ้าศรีวิไชย นักบุญแห่งล้านนาไทยผู้กระเดื่องเลื่องหล้าท่านนั้นแล้ว พระสายเหนือที่จะมักคุ้นตาและใจของ “ส่วนกลาง” จริงๆ ก็เห็นจะมีเพียงไม่กี่องค์ อาทิ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง เชียงใหม่, หลวงปู่หล้า ตาทิพย์ วัดป่าตึงเชียงใหม่, ครูบาพรหมจักร วัดพระพุทธบาทตากผ้า ลำพูน, หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร สำนักถ้ำผาปล่อง เชียงใหม่, หลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ ลำปาง ฯลฯ แต่เพียงประมาณเท่านี้ เท่านั้นจริงๆ
แต่ “ผู้รู้แจ้ง” เห็นจริง อย่างหลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร สุดยอดพระเกจิอาจารย์ผู้ชาญพระเวทย์แห่งวัดโฆสิตาราม ชัยนาท ถึงกับเอ่ยปากสั่งความแก่พระครูสมุห์ภาสน์ มังคลสังโฆ แห่งวัดซับลำไย ลพบุรี ศิษย์ใกล้ชิดของท่านรูปหนึ่งว่า “ให้ขึ้นไปกราบครูบาอิน วัดฟ้าหลั่งที่เชียงใหม่ และขอศึกษาวิชาจากท่านให้ดีๆ เถิด ครูบาอินนี้ท่านมีวิชาจิตตานุภาพแก่กล้าสามารถมากๆ จริงๆ...!!!!!!”ลองหลวงพ่อกวย สั่งการด้วยองค์เองเช่นนี้ ก็มิต้องสงสัยกันอีกแล้ว..!!!!!!!
และเมื่อท่านพระครูสมุห์ภาสน์เดินทาง ขึ้นเหนือไปยังจังหวัดเชียงใหม่ และในก้าวแรกที่ได้ย่างเข้าสู่อาณาบริเวณวัดฟ้าหลั่ง ท่านพระครูสมุห์ภาสน์ ศิษย์หลวงพ่อกวย ก็ได้ “เจอดี” ทันที เมื่อมีภิกษุรูปหนึ่งออกมาคอยรับอยู่ที่หน้าวัดฟ้าหลั่ง ก่อนที่จะได้กล่าวสัมโมทนียกถา อย่างชวนให้สะท้านใจไม่น้อยเลยว่า “นมัสการเชิญครับ...ท่านครูบาอินท่านว่า "..จะมีพระจากแดนไกลมาหา เลยสั่งให้ผมมาคอยรับท่านขอรับ..." เป็นท่าน ท่านจะพูดออกไหม เพิ่งเหยียบเข้าวัดฟ้าหลั่งเพียงไม่กี่ก้าว และยังไม่ทันเห็นหน้ากันแม้แต่เพียงวิบเดียว แต่ “ครูบาอิน” ท่านกลับล่วงรู้หมดสิ้นแล้ว ช่าง “เก่งแท้” สมกับที่หลวงพ่อกวยสั่งให้มา “ต่อวิชา” ด้วย ไม่ผิดเลย แม้แต่เพียงครึ่งคำ
“พระครูวรวุฒิคุณ” หรือ “หลวงปู่ครูบาอิน อินโท” หรือ “ครู บาฟ้าหลั่ง-ฟ้าลั่น” อมตะมหาเถราจารย์แห่งนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ ผู้สูงยิ่งด้วยศีล จริยาวัตร และพุทธาคม เชี่ยวชาญสรรพวิชาตามตำราโบราณล้านนา จนเป็นที่ประจักษ์ทั่วไป ดังคำกล่าวของบรรดาพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบที่ว่า
“ดีอยู่แล้ว ดีอยู่แล้ว พระของครูบาอิน ไม่ต้องเสกอะไรอีกแล้ว” เป็นคำกล่าวของหลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง
“จิตของครูบาอิน ประภัสสรยิ่งแล้ว” เป็นคำกล่าวของหลวงพ่อชม วัดโป่ง จังหวัดชลบุรี
“ครูบาอิน ท่านมีจิตมีจิตบริสุทธิ์ผุดผ่องยิ่งเลยทีเดียว” เป็นคำกล่าวของครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา (ครูบาวงศ์) วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
“หลวงปู่ครูบาอิน วัดฟ้าหลั่งนั้น ดีที่หนึ่งเลย” เป็นคำกล่าวของหลวงปู่สิม พุทธาจาโร สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง ตำบลบ้านถ้ำ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
“ครูบาอินท่านเป็นพระสุปฏิปันโน ผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบนะ” เป็นคำกล่าวของหลวงพ่อดาบส สุมโน อาศรมไผ่มรกต บ้านลูกกลอน ตำบลป่าอ้อดอนชัย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ฯลฯ
หลวงปู่ครูบาอิน อินโท ถือเป็นพระเถระสำคัญผู้เจริญด้วยพรรษาสูงแห่งเชียงใหม่ อีกทั้งยังเพียบพร้อมด้วยคุณธรรมและเมตตาธรรม ที่มีให้แก่ผู้เคารพนับถือตราบวาระสุดท้ายของชีวิต อันเป็นเหตุให้สมควรนำเถรประวัติและคำสอนของท่าน มาเผยแพร่เป็นสังฆบูชาสืบต่อไป
พระครูวรวุฒิคุณ มีนามเดิมว่า อิน วุฒิเจริญ เป็นบุตรของนายหนุ่ม-นางคำป้อ เขียวคำสุข ท่านเกิดเมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๔๖ (ตรงกับวันเสาร์ แรม ๕ ค่ำ เดือน ๓ เหนือ ปีเถาะอันเป็นฤกษ์พิเศษที่หาได้ยากยิ่ง เป็นวันเสาร์ ๕ ซึ่งโบราณจารย์ถือเป็นวันขลังและแรง ) ณ บ้านทุ่งปุย ตำบลยางคราม กิ่งอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ (ปีที่ครองราชย์ พ.ศ.๒๔๑๑-๒๔๕๓) โดยเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ในขณะนั้นคือ เจ้าอินทรวโรรสสุริยวงษ์ (ครองเมืองเชียงใหม่ พ.ศ.๒๔๔๔-๒๔๕๒) ท่านได้เล่าชีวประวัติว่า ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๕ คนด้วยกัน คือ
๑. นายแก้ว เขียวคำสุข (ถึงแก่กรรมแล้ว)
๒. พระครูวรวุฒิคุณ (มรณภาพแล้ว)
๓. นางกาบ ใจสิทธิ์ (ถึงแก่กรรมแล้ว)
๔. พ่อหนานตัน เขียวคำสุข (ถึงแก่กรรมแล้ว)
๕. นางหนิ้ว ธัญญาชัย
เมื่อเจริญวัยได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดทุ่งปุยเมื่ออายุ ๑๕ ปี และเจริญธรรมในสมณเพศมาโดยตลอด จนอุปสมบทเมื่ออายุ ๒๐ ปี มีพระอธิการยศ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการกว้าง วัดสองแคว และพระอธิการอ้าย วัดทุ่งปุย เป็นคู่สวด ได้รับฉายาว่า"อินโท" สอดคล้องกับนามเดิมของท่านอย่างสมบูรณ์แบบ ชีวิตภายหลังจากเป็น"พระ"หรือ"ตุ๊เจ้า"
ท่านพากเพียรเรียนธรรม ทั้งในฝ่ายปริยัติและปฏิบัติควบคู่กันไปอย่างจริงจัง อาศัยที่เป็นผู้ใส่ใจใฝ่หาความรู้ จึงเรียนพระบาลีและสมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐานแตกฉาน จากนั้นได้เดินทางมาเรียนกรรมฐานเพิ่มเติมที่วัดมหาธาตุ กทม. โดยฝึกกับพระเทพสิทธิมุนี มีสมเด็จพระพุฒาจารย์(อาจ อาสภเถร) ครั้งยังเป็นพระพิมลธรรม เป็นประธาน ครูบาอาจารย์จากทางเหนือที่ไปร่วมปฏิบัติวิปัสสนาด้วยกันคือ พระสุพรหมยานเถระ หรือครูบาพรหมจักร พรหมจกฺโก วัดพระพุทธบาทตากผ้า จ.ลำพูน, ครูบาอินทจักร วัดน้ำบ่อหลวง, อาจารย์ทอง สิริมังคโล วัดร่ำเปิง (ปัจจุบันเป็นที่พระสุพรหมยานเถระ) เมื่อมีความอิ่มเอิบในธรรม ท่านก็ประยุกต์ในการเจริญจิตภาวนาในแนว "พุทโธ" ดั้งเดิมอย่างลงตัว
|