เหรียญพระเจ้าตนหลวง พิมพ์นั่งเต็มองค์ ตัวหนังสือใหญ่(ต.ใต้ห่วง) ทองแดง ปี2521
พระเจ้าตนหลวง เป็นพระพุทธรูปแบบองค์พระประทับนั่งปางมารวิชัยปัจจุบันมีหน้าตักกว้าง ๑๔เมตร สูงจากพื้นฐานถึงพระโมลีสูง ๑๖ เมตร นับเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง ของจังหวัดพะเยา เป็นพระพุทธรูปเชียงแสนที่ใหญ่ที่สุดในล้านนาไทย สร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๐๖๗ รัชสมัยพระเจ้าเมืองแก้ว กษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนาและทรงพระราชทานนามพระพุทธเจ้าองค์นี้ว่า “พระเจ้าตนหลวง ทุ่งเอี้ยง เมืองพะเยา ”
ตามตำนานจดจำจารึกไว้ว่า สองตายายเป็นผู้ริเริ่มงานสร้างพระพุทธรูปใช้เวลา ๓๓ ปี จึงแล้วเสร็จในปีพุทธศักราช ๒๐๓๐ พระยานาค รับคำพระพุทธองค์ไว้ตามสัญญา ได้แปลงกายเป็นชีปะขาวนำทองคำสี่แสนห้าร้อยให้สองตายายมาลงทุนถมหนองเอี้ยงจนเต็ม เสียเวลา ๒ ปี ๗ เดือน เสร็จการก่อสร้างพระพุทธรูปตรงกับวันพุธขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ปีวอก หลังจากนั้นได้สร้างพระวิหาร และทำบุญสมโภชพระพุทธรูป ในเดือน ๘ ปี ๒๐๖๙ สันนิษฐาน ว่าระหว่างการก่อสร้างพระเจ้าตนหลวงนั้น ได้มีการสร้างพระพิมพ์ยอดขุนพลขึ้นมาด้วย โดยได้แกะแม่พิมพ์หลายแบบ และได้นำพระยอดขุนพลพะเยาติดในองค์พระ แล้วพอกปูนลงรักปิดทอง และวัดต่าง ๆ ได้นำดินของตนมากดแม่พิมพ์พระยอดขุนพลไปใส่ในเจดีย์พระธาตุในวัดต่าง ๆ ของตนในยุคนั้น หากไม่พอก็จะถอดพิมพ์เพิ่ม ทำพระเพิ่มใส่ธาตุอีกภายหลัง ทำให้แต่ละกรุสีกระแสเนื้อพระต่างกัน
ใน ปี พ.ศ.๒๔๖๕ พระครูบาศรีวิชัย นักบุญผู้ยิ่งใหญ่แห่งล้านนา ท่านได้รับนิมนต์จากพระครูบาศรีวิราชอดีตเจ้าคณะแขวงเมืองพะเยา ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นนักปราชญ์แห่งเมืองพะเยาในยุคนั้น โดยพระครูบาศรีวิชัยท่านเป็นผู้นำในการบูรณปฏิสังขรณ์ วัดพระเข้าตนหลวง พร้อมด้วยแรงศรัทธาของชาวพะเยาทั้งมวล
เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๖ วันที่ ๗ สิงหาคม เวลา ๐๖.๐๐ น. น้ำได้ท่วมวัดศรีโคมคำ องค์พระประธาน “พระเจ้าตนหลวง” ได้แตกร้าวทรุดลงเอียงไปด้านหลัง ๔ นิ้วเศษ น้ำในวิหารลึก ๑.๒๐ เมตร ขังอยู่นานถึง ๔๘ วัน จึงลดลง หลังจากนั้น เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๙ ได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์ซ่อมแซม โดยวิธีขุดเจาะส่วนที่ผุพังออกแล้วเทคอนกรีตเสริมเหล็กรับองค์พระโดยตลอด ด้านหลัง ส่วนเศษปูนเดิมที่กะเทาะออกได้ขนไปไว้ด้านหลังวิหารโดยพระเณรและชาวบ้าน หลังจากนั้นได้พบพระยอดขุนพลพะเยาหลายพิมพ์ที่กะเทาะออกจากก้อนปูน สภาพสมบูรณ์ ไม่เกิน ๒๐ องค์ แตกหักชำรุดอีกจำนวนหนึ่ง พระเณรก็นำไปถวายหลวงพ่อใหญ่ ลูกศิษย์ใกล้ชิดหรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่ทราบก็ได้ขอพระยอดขุนพลพะเยาจาก หลวงพ่อท่าน ท่านก็ได้แจกจนหมด และเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๕ ได้จัดให้มีการสมโภชพระเจ้าตนหลวง ครบรอบ ๕๐๐ ปี จึงได้จัดงานเฉลิมฉลอง จึงได้จัดบริเวณรอบวิหารให้กว้าง โดยได้เอาเศษอิฐ เศษปูนที่กะเทาะจากองค์พระนั้นไปไว้ข้างกำแพงวัดข้างหุ่นปูนปั้น ชาวบ้านก็ได้พบพระยอดขุนพลอีกหลายองค์ องค์ ที่แตกหักก็มีส่วนหนึ่ง ส่วนการสร้างวัตถุมงคลรูปเหมือนพระเจ้าตนหลวงออกมาเพื่อให้ผู้ที่มานมัสการ ได้บูชาเป็นที่ระลึกนั้นได้สร้างขึ้นประมาณปี ๒๔๖๕ เป็นต้นมาจวบจนถึงปัจจุบัน มีหลายรุ่นหลายแบบ และในช่วงปัจจุบันนี้เป็นที่ต้องการของนักสะสม หาเช่าบูชากันมากขึ้น
กำหนดพิธีพุทธาภิเษกพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ พระเจ้าตนหลวง วัดศรีโคมคำ อำเภอพะเยา ในระหว่างวันที่ ๒๒-๒๓ มีนาคม ๒๕๒๐ ทาง วัดได้อาราธนานิมนต์พระคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิทางเมตตามหานิยม และวิทยาคม จากจังหวัดต่างๆ มาทำพิธีปลุกเศกครั้งสำคัญและยิ่งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง โดยมีรายนามพระคณาจารย์ ต่อไปนี้
๑. พระราชสุตาจารย์ เจ้าคณะจังหวัดลำพูน วัดจามเทวี จ.ลำพูน
๒. พระญานมงคล รองเจ้าคณะจังหวัดลำพูน วัดมหาวัน จ.ลำพูน
๓. พระมหาเมธังกร รองเจ้าคณะจังหวัดแพร่ วัดหนองม่วงไข่ จ.แพร่
๔. พระสังวรวิมลเถร(หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพมหานคร
๕. หลวงปู่คำแสน วัดดอนมูล เชียงใหม่
๖. หลวงพ่อครูบาธรรมชัย วัดทุ่งหลวง เชียงใหม่
๗. พระครูภาวนาภิรัตน์ วัดน้ำบ่อหลวง เชียงใหม่
๘. พระครูญาณวิภาต วัดดอนจืน เชียงใหม่
๙. พระอาจารย์หล้า วัดพระธาตุจอมศักดิ์ เชียงราย
๑๐. พระครูรัตนานุรักษ์(อ.แก้ว) วัดปงสนุกใต้ ลำปาง
๑๑. หลวงพ่อแสน วัดท่าแหน ลำปาง
๑๒.หลวงพ่อแก้ว วัดเขื่อนคำลือ แพร่
๑๓. หลวงพ่อนำ วัดมัชฌิมภูมิ
๑๔.พระครูมงคลธรรมสุนทร(หลวงพ่อเส็ง) วัดบางนา อ.สมาโคก ปทุมธานี
๑๕.พระครูภาวนาวิจารณ์(พระอาจารย์สงัด) วัดพระเชตุพน กรุงเทพฯ
๑๖.พระครูเนกขัมมาภินันท์ วัดดอนตัน อ.ท่าวังผา จ.น่าน
๑๗.พระครูมงคล วัดศรีมงคล(วัดทุ่ง) อ.ท่าวังผา จ.น่าน
๑๘.พระครูพุทธมนต์โพธิวัตร วัดศรีบุญเรือง อ.เมือง จ.น่าน
๑๙.พระครูนันทวุฒิคุณ วัดอรัญญาวาส อ.เมือง จ.น่าน
|