พระล้านนาดอทคอม แหล่งรวมพระเครื่องเมืองเหนือ
พระกรุล้านนา

พระกรุลัวะ (กู่หลวงขุนวิรังคะ) เชิงดอยสุเทพ

(ปิดการประมูลแล้ว)
ชื่อพระ :
 พระกรุลัวะ (กู่หลวงขุนวิรังคะ) เชิงดอยสุเทพ
รายละเอียด :
 

คาดว่าเป็นพระพิมพ์ที่สร้างในสมัยครูบาศรีวิชัย สร้างทางขึ้นดอยสุเทพ สร้างพระพิมพ์บรรจุไว้ในกู่ลัวะ เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา ลักษณะเป็นพระล้อพิมพ์ต่าง ต่าง โดยส่วนมากจะเป็นพระสกุลลำพูน เป็นพระไม่ตัดปีกเป็นเอกลักษณ์ เป็นพระเนื้อหยาบเป็นดินจากการสร้างทางขึ้นดอย ส่วนกู่ลัวะ (กู่หลวงขุนวิรังคะ) ตั้งอยู่เวียงเจ็ดลิน ในปัจจุบันมีถนนห้วยแก้ว ตัดผ่าน และเป็นที่ตั้งของหน่วยงานราชการหลายแห่ง เช่นมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพเชียงใหม่ สวนสัตว์เชียงใหม่องค์การส่งเสริมการโคนมภาคเหนือ (อสค.) โรงงานผลิตนมของโครงการโคนมไทย–เดนมาร์ก สถานีตำรวจภูธรภูพิงคราชนิเวศน์ สวนรุกขชาติห้วยแก้ว ศูนย์ราชการกรมปศุสัตว์จังหวัดเชียงใหม่ ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพ เป็นต้น

ลักษณะกายภาพเป็นที่ราบเชิงเขา มีพื้นที่สูงด้านตะวันตกและลาดเทมาทางตะวันออก พื้นที่ด้านตะวันตกสูงกว่าบริเวณอื่นมาก ทำให้ด้านนี้ไม่จำเป็นต้องมีคันดิน ส่วนด้านอื่น ๆ เป็นคันดินสองชั้น มีคูน้ำอยู่ระหว่างกลาง แต่ปัจจุบันบางแห่งถูกทำลายลง แต่คันดินที่สมบูรณ์จะอยู่บริเวณสวนรุกขชาติห้วยแก้ว ส่วนคันดินชั้นนอกถูกทำลายลงไปมากแต่ยังพอเห็นได้ในบางช่วง

รูปร่างของเวียงเจ็ดลิน เป็นรูปวงกลม มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 900 เมตร

โดยมีประวัติดังนี้ตำนานที่กล่าวถึงการสร้างเวียงเจ็ดลินคือ ตำนานสุวรรณคำแดง และตำนานเชียงใหม่ปางเดิม ที่ได้อธิบายถึงการก่อร่างสร้างเมืองของชนพื้นเมืองในแถบดอยสุเทพ ซึ่งในตำนานย้อนไปถึงเรื่องราวของเจ้าหลวงคำแดง อันเป็นอารักษ์ของเมืองเชียงใหม่ ว่าได้เดินทางตามเนื้อทรายทอง มาถึงดอยสุเทพ และได้มีลูกกับนางผมเฝือและนางสาดกว้าง จากนั้นก็สร้างเมือง “ล้านนา”ให้ลูกได้อยู่จากนั้นก็ได้กลับไปยังดอยหลวงเชียงดาว

เมืองที่เจ้าหลวงคำแดงได้สร้างนั้น ต่อมาได้ล่มเป็นหนองใหญ่ แล้วก็ได้สร้างเมืองใหม่ขึ้นมาอีกเมือง ชื่อว่า “เมืองนารัฏฐะ” โดยมีเจ้าเมืองชื่อว่า “มินนราช” สืบมาจนถึงสมัยของ “พระยามุนินทพิชชะ” คนไม่มีศีลไม่มีสัจ เจ้าเมืองขาดคุณธรรม ทำให้อารักษ์และเชนบ้านเชนเมืองไม่พอใจ บันดาลให้เมืองล่มลงเป็นคำรบสอง

ถัดมาก็ไปสร้างเมืองอีกเมืองหนึ่งอยู่ทางตะวันออกของตีนดอยอุสุปัพพตา นามว่า “เวียงเชฏฐบุรี” หรือ “เวียงเจ็ดลิน” ซึ่งขณะนั้นมีทั้งไทยและลัวะอยู่ด้วยกัน ฝ่ายข้างไทย มีพระยาสะเกต เป็นหัวหน้า ฝ่ายลัวะมีพระยาวีวอเป็นหัวหน้า

เวียงเชฏฐปุรีนี้มีผู้ปกครองสืบมา 14 ท้าวพระญา ก็ถูกผีขอกฟ้าตายืน มาล้อมเวียงทำให้ชาวเมืองเดือดเนื้อร้อนใจเป็นอันมาก ยามนั้นเจ้ารสี จึงขึ้นไปขอความช่วยเหลือจากพระยาอินทาธิราช พระยาอินท์จึงให้ชาวลัวะทั้งหลายถือ ศีล 5 ศีล 8 เมื่อนั้นผีทั้งหลายก็ไม่มาเบียดเบียนอีกต่อไป และนอกจากนี้ พระอินทร์ก็ยังให้ลัวะ 9 ตระกูลดูแลรักษา ขุมเงิน ขุมคำ (ทอง) และขุมแก้ว บ้านเมืองเจริญและบ้านเมืองขยายมากขึ้น

จากเวียงเชฏฐปุรีจึงขยายไปสร้างเวียงใหม่อีกสองแห่งคือ “เวียงสวนดอกไม้หลวง” และ “เมืองล้านนานพบุรี” ตามลำดับ สำหรับตำนานจะกล่าวถึงเวียงเจ็ดรินหรือเวียงเชฏฐปุรีเพียงเท่านี้ จากนั้นจะเป็นเรื่องราวของเสาอินทขีลต่อไป

นอกจากตำนานนี้แล้ว เวียงเจ็ดลิน หรือเวียงเชฏฐปุรี ยังกล่าวถึงในตำนานของขุนหลวงวิรังคะ อันเป็นเจ้าแห่งลัวะบริเวณเชิงดอยสุเทพ ที่ทำการสู้รบกับหริภุญไชย ด้วยเหตุที่พระนางจามเทวีไม่ตอบรับจิตปฏิพัทธ์ซ้ำยังดูหมิ่น จึงยกทัพเพื่อจะมาต่อท้ากับเมืองหริภุญไชย แต่สุดท้ายก็พ่ายให้กับสองโอรสฝาแฝดของพระนางจามเทวี

จากเรื่องนี้ชี้ให้เห็นว่า เวียงเจ็ดลิน เป็นเมืองที่มีการพัฒนาและเจริญมาในระดับหนึ่งในเชิงดอยสุเทพ และจากตำนานชี้ให้เห็นว่า การตั้งถิ่นฐานของผู้คนในดินแดนนี้มาเนิ่นนานแล้ว

และกู่ลัวะนี้ยังเป็นที่ขุนหลวงวิรังคะยิงสะเหน่าไปตกยังเมืองลำพูน ดังปรากฏในปัจจุบันคือหนองสะเหน่า ปัจจุบันกู่ลัวะนี้มีสภาพทรุดโทรมเนื่องจากมีร่องรอยการขุดค้นโบราณวัตถุ ของมีค่าภายในกู่ลัวะ จึงพบพระกรุนี้กระจัดกระจาย บริเวณกู่ลัวะนี้

 
ราคาเปิดประมูล :
 100 บาท
ราคาสูงสุด ขณะนี้ :
 100 บาท
ราคาที่ต้องเพิ่มขึ้น ขั้นต่ำ :
 50 บาท

เงื่อนไขการรับประกัน :
 แท้

ผู้ตั้งประมูล :
 อานนท์ จิโน
ที่อยู่ :
 246 หมู่2 ต.แม่สาบ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ ไทย

เบอร์โทรติดต่อ :
  0869120735, 0869120735
E-mail :
 fluk123hotmail.com

ชื่อบัญชี :
 
เลขที่ บัญชี :
 5400189938
ประเภท บัญชี :
 ออมทรัพย์
ธนาคาร :
 ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
สาขา :
 พระสิงห์

วันที่ :
 Sun 30, Jun 2013 09:34:27
โดย : พระคุณพระ    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   Sun 30, Jun 2013 09:34:27
 
 
ประมูล พระกรุลัวะ (กู่หลวงขุนวิรังคะ) เชิงดอยสุเทพ : พระล้านนา.คอม เว็บ พระเครื่อง พระบูชา อันดับหนึ่ง ของภาคเหนือ ออกแบบเว็บไซต์โดย 2WinWeb design บริการรับทำเว็บไซต์
Copyright Pralanna.com All right reserved. © สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดย บริษัท พระล้านนาดอทคอม จำกัด.