หลวงปู่คำบุ วัดกุดชมภู อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
พระครูวิบูลย์นวกิจ ชาวบ้านย่านบ้านกุดชมภูหรือพิบูลย์คงจะไม่คุ้นเคย นอกจากศิษย์ใกล้ชิด
คงเป็นเพราะว่าชื่อสมณศักดิ์จำยากกระมังไม่เหมือนนามว่า พ่อใหญ่หรือหลวงปู่คำบุ ละก็ชาวบ้านร้องอ๋อทุกคนให้ความเคารพเทิดทูลเสมอ ท่านเป็นพ่อใหญ่ของชาวบ้านเรียกกันจนติดปาก ว่า พ่อใหญ่คำบุ ครับ
ชาติกำเนิดของหลวงปู่ ท่านถือกำเนิดในตระกูลคำงาม ของพ่อสาและแม่หอม ท่านเกิดวันจันทร์ ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๓ปีจอ ตรงกับวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๕ ซึ่งเป็นวันมาฆบูชา ณ บ้านกุดชมภู
บรรพชาอุปสมบท ได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อปี ๒๔๘๒ โดยมี พระครูญาณวิสุทธิคุณ ( กอง ) วัดโพธิ์ตากเป็นพระอุปัชฌาย์ สมัยเป็นสามเณรได้เคยไปกราบไหว้หลวงปู่รอด วัดทุ่งศรีเมือง พระครูวิโรจน์ รัตนโนบลเจ้า คณะจังหวัดอุบลราชธานีอยู่หลายครั้ง ซึ่งขณะนั้นหลวงปู่รอดอยู่ในวัยชราภาพได้ให้ความเมตตากับสามเณรคำบุเป็น อย่างยิ่ง นอกจากนั้นแล้วท่านได้พบกับพระอาจารย์รอด วัดบ้านม่วง ซึ่งขณะนั้นท่านเป็นพระอุปัฏากพระครูวิโรจน์รัตนโนบลอยู่ ด้วยความเป็นคน บ้านเดียวกัน จึงสนิทสนมกับสนามเณรคำบุเป็นอย่างมากพระอาจารย์รอด วัดบ้านม่วงท่านเป็นพระที่ร้อนวิชา มีวิชาอาคมแก่กล้ามาตั้งแต่หนุ่ม ชอบลองวิชาอาคมอยู่เสมอด้วยความเอ็นดูสามเณรคำบุ จึงได้สอนวิชาอาคมให้ ตั้งแต่นั้นมา พระอาจารย์รอด วัดบ้านม่วง รูปนี้ถ้าไปถามชาวบ้านแถบพิบูลย์มังสาหารจะกล่าวกันว่าวัตถุ มงคลของท่านยอดเยี่ยม จริง ๆ ทั้งตะกรุดและสีผึ้งเรียกว่าสุดยอดเลยที่เดียวต่อมาสามเณรคำบุได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๖ โดยมีพระครูสาธุธรรมจารี ( สาป วัดดอนจิกเป็นพระอุปัชฌาย์ ) โดย ยังเรียนวิชาอาคมกับพระอาจารย์รอด วัดบ้านม่วง อยู่เสมอมาอย่างเดิม พระอาจารย์รอดผู้เป็นศิษย์อุปัฐฏากพระครูวิโรจน์ วัดทุ่งศรีเมือง ซึ่งท่านก็เป็นที่กล่าวขานกันว่าเป็นหนึ่งในด้านวิทยาคมของไทยในยุคนั้นเป็น ผู้สร้างเหรียญหลักเมืองอุบล จนเป็นตำนานมาแล้ว จึงนับได้ว่าหลวงปู่คำบุ เป็นศิษย์ในสายของหลวงปู่รอดวัดทุ่งศรีเมืองและศิษย์พระอาจารย์รอด วัดบ้านม่วง เป็นหลัก ส่วนอาจารย์อื่นๆนั้น ก็มีสายของสำเร็จลุ่นแห่งเมืองลาว พระกัมมัฏฐานแพงและหลวงปู่ญาท่าสวนที่ หลวงปู่ไปเรียนวิชาด้วย
|