พระสมเด็จวัดระฆัง : มุมมองทางด้านวิชาการ
Phra Somdej Wat Rakang in Academic Perspective
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐนนต์ สิปปภากุล
Asst. Prof. Dr.Natdhnond Sippaphakul
D.A. ( Arts and Culture Research)
ตอนที่ 1
พระดีนอกกำมือเซียน
พวกเราชาวพุทธคงเคยได้ยินคำสอนของพระพุทธองค์ที่ได้ตรัสกับเหล่าสาวกเมื่อครั้งพุทธกาลว่า ความรู้หรือธรรมะบางข้อที่พระพุทธองค์นำมาสั่งสอนพระสาวกนั้น เป็นความรู้หรือความจริงแท้เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น เปรียบเสมือนใบไม้ที่อยู่ในกำมือของพระองค์ แต่ใบไม้ที่อยู่นอกกำมือนั้นมีอยู่มากมาย ลองหันไปดูบนต้นไม้ ในป่านี้ หรือในป่าทั้งโลก และยังมีอยู่ในจักรวาลและอนันตจักรวาลอีกมากมาย ฉะนั้น ในการศึกษาพระเครื่องหรือในเรื่องใดๆก็ตาม ที่เราเรียนรู้มาจากครูอาจารย์ จากเซียน จากคำบอกเล่า หรือจากตำราที่อ้างสืบๆกันมานั้น มันก็เป็นเพียงความรู้เพียงส่วนหนึ่ง ซึ่งอาจมีทั้ง
ถูกต้องและ
ไม่ถูกต้อง(
ธรรมะของ
พระพุทธเจ้าเท่านั้นที่ถูกต้องและเที่ยงแท้ไม่เปลี่ยนแปลง) แล้วนับประสาอะไรกับ
ความรู้ของเซียนที่อ้างสืบๆต่อกันมา มันจะเป็นความจริงไปเสียทั้งหมดเช่นนั้นหรือ แล้วไฉนหลายๆท่านจึงยังคงเชื่อเฉพาะความรู้เก่าๆ โดยไม่เปิดใจไปเรียนรู้
ใบไม้นอกกำมือเซียน บ้าง บางทีท่านอาจพบกับความมหัศจรรย์ของสิ่ง(พระ)ดีๆ อย่างคาดไม่ถึงก็เป็นได้
อย่างไรก็ตาม การเสนอความคิดเห็นในบทความนี้ ก็นับเป็นความรู้ที่เกิดจากการเรียนรู้หรือ ประสบการณ์ และความมหัศจรรย์จากการปฏิบัติธรรม(ปัจจัตตัง)ของผู้เขียน จึงเป็นเพียงมุมมองหนึ่งเท่านั้น ขอให้ทุกท่านจงใช้สติปัญญา อย่าพึ่งเชื่อ จนกว่าท่านจะได้พิสูจน์ด้วยตัวของท่านเอง(ตามหลักกาลามสูตร) หรือจนกว่าท่านจะได้ประมวลความรู้จากแหล่งต่างๆอย่างถี่ถ้วนแล้ว จึงควรจะเชื่อไปตามนั้น แนวทางการศึกษาพระเครื่องจึงมีหลายแนวทาง ผู้เขียนจึงขอสรุปดังนี้