รายนามพระเถรานเถนะ คณาจารย์### ที่ร่วมนั่งปรกบริกรรมปลุกเสก ประกอบด้วย 1. ท่านเจ้าคุณพระเทพสิทธินายก (หลวงปู่นาค) วัดระฆัง กรุงเทพฯ 2. ท่านเจ้าคุณพระราชธรรมาภรณ์ (หลวงพ่อเงิน) วัดดอนยายหอม นครปฐม 3. หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม นครปฐม 4. ท่านพระครูประสาทวิทยา (หลวงพ่อนอ) วัดกลางท่าเรือ อยุธยา 5. ท่านเจ้าคุณวิมลกิจจารักษ์ วัดชนะสงคราม กรุงเทพฯ 6. ท่านพระครูวิสัยโสภณ (อาจารย์ทิม) วัดช้างไห้ ปัตตานี 7. ท่านอาจารย์อำพล วัดปราสาทบุญญาวาส กรุงเทพฯ 8. ท่านอาจารย์สาธิต วัดวชิรธรรมสาธิต กรุงเทพฯ 9. ท่านอาจารย์แต้ม วัดพระลอย สุพรรณบุรี เนื้อหามวลสาร 1. มวลสารหลัก คือ ชิ้นส่วนพระสมเด็จบางขุนพรหมที่ชำรุดแตกหัก 2. ดินกรุที่ได้จากการเปิดกรุของทางวัดเมื่อปี พ.ศ.2500 3. ผงพุทธคุณจากพระคณาจารย์ต่างๆ ปูนขาว ปูนเปลือกหอย 4. เกสรดอกไม้อันมีนามที่เป็นมงคล ได้แก่ ดอกพิกุล ดอกบุนนาค ดอกมะลิ และเกสรดอกบัวหลวง 5. มีน้ำมันตังอิ๊ว น้ำอ้อยและน้ำผึ้ง เป็นตัวประสาน ###ศิลปสกุลช่าง### ช่างผู้แกะบล็อกแม่พิมพ์ พอแบ่งได้ 4 ผีมือช่างคือ 1. ลุงแฉล้ม บัวเปลี่ยนสี มีด้วยกันหลายพิมพ์ ลักษณะจะคลายพิมพ์มาตรฐานของวัดแต่จะแตกต่างออกไปบ้างเป็นเอกลักษณ์ เช่น องค์ค่อนข้างผอม รวมไปถึงพิมพ์พิเศษบางพิมพ์ 2. มานิตย์ ปฐพี (สมัยนั้นมียศเป็นจ่าทหารเรือ )รับผิดชอบแกะแม่พิมพ์บล็อกวัดตามพิมพ์มาตรฐานที่พบในการเปิดกรุ รวมไปถึงพิมพ์พิเศษอีกจำนวนหนึ่ง 3. ช่างเกษม มงคลเจริญ ซึ่งได้เข้ามาช่วยเหลือในช่วงระยะสุดท้ายแล้ว แม่พิมพ์ที่แกะจะมีความสวยงามคมชัดลึกมากเป็นพิเศษ 4. บล็อกกรรมการ หมายถึงผู้ที่มีจิตศรัทธาเข้ามาช่วยในการสร้างพระบางขุนพรหมปี 09 และมีพระกรุบางขุนพรหมอยู่ในครอบครองจึงนำมาถอดแม่พิมพ์ ทำเป็นบล็อกแม่พิมพ์ในการกดพิมพ์พระ ซึ่งพระบล็อกนี้โครงสร้างของพิมพ์ทรงจะคล้ายและใกล้เคียงกับพระกรุบางขุนพรหม มากเพียงแต่ขนาดเล็กกว่า พร้อมทั้งตื้นกว่า ด้วยสาเหตุการถอดพิมพ์มานั้นเอง ###องค์ประกอบพระ### การสร้างพระบางขุนพรหม ปี พ.ศ 2509 พระพิมพ์เนื้อผงต่างๆ เหล่านี้มีการจัดสร้างและเตรียมการมาก่อน คือเริ่มสร้างมาตั้งแต่เดือนตุลาคม มาแล้วเสร็จเอาเมื่อประมาณปลายเดือนพฤศจิกายน พ .ศ. 2508 ทำพิธีการสร้างตำผง กดพิมพ์พระกันภายในพระอุโบสถ โดยหลวงพ่อชม เป็นผู้กดพิมพ์เป็นปฐมฤกษ์ จากนั้นคณะกรรมการต่างๆ ตลอดจนผู้มีจิตศรัทธา ต่างร่วมแรงร่วมใจช่วยกันทำจนสำเร็จในที่สุด ###ลักษณะวรรณะพระ### ลักษณะการสร้าง แบ่งเป็น 2 ชนิดประเภทคือ 1. ประเภทให้บูชาเพื่อนำไปบรรจุกรุในพระเจดีย์ ให้ทำบุญองค์ละ 1 บาทด้านหลังจะปั๊มคำว่า บรรจุ จำนวนรวมกันทั้งหมดทุกพิมพ์ 84,000 องค์ 2. ประเภทให้บูชาทำบุญและนำติดตัวกลับบ้าน ให้ทำบุญองค์ละ 10 องค์ ยกเว้นพิมพ์ไสยาสน์ ทำบุญองค์ละ 25 บาท รวมไปถึงทำบุญเป็นกล่องชุด 11 พิมพ์ (ยกเว้นพิมพ์ไสยาสน์ ) ทำบุญุชุดละ 100 บาท ด้านหลังจะประทับตราเจดีย์ ซึ่งจำนวนการสร้างพระในประเภทนี้มีทั้งหมด 84,000 บาท องค์เช่นกัน เพียงแต่ภายหลังคัดพระที่ชำรุดแตกหักไม่สมบูรณ์ออกจึงเหลือเพียงประมาณ 72,518 องค์ เนื้อหามวลสาร มวลสารหลักของพระขุนพรหม ปี 09 คือ ชิ้นส่วนพระชำรุดแตกหักดินกรุที่ได้จากการเปิดกรุของทางวัดเมื่อปี พ . ศ . 2500 ผงพุทธคุณจากพระคณาจารย์ต่างๆรวมไปถึง ปูนขาว ปูนเปลือกหอย นำมันตัวอิ๊วน้ำผึง เกสรดอกบัวหลวง ดอกพิกุล และ ฯลฯ ###พุทธลักษณะ### บล็อกแม่พิมพ์ พระขุนพรหม ปี 09 มีบล็อกแม่พิมพ์หลายตัว เนื่องจากวัสดุที่ใช้ทำแม่พิมพ์ครั้งนั้นชำรุดแตกหักได้ง่าย เช่น ปูนพาสเตอร์ ซีเมนต์ขาว ยางทำฟัน เป็นต้น เมื่อกดพิมพ์พระไปสักระยะแม่พิมพ์จะเริ่มชำรุดเสียหาย ต้องถอดพิมพ์ทำบล็อกใหม่ เช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้จำนวนพระตามต้องการในพระทุกพิมพ์ กล่าวกันว่า เฉพาะพระพิมพ์ใหญ่เพียงพิมพ์เดียว มีแม่พิมพ์ถึง 27 แม่พิมพ์ สำหรับพิมพ์เกศทะลุซุ้มนั้น ครั้งแรกๆ ก็เป็นพิมพ์ใหญ่ธรรมดา ต่อมาบังเอิญตรงซุ้มเกิดกะเทาะ จึงแต่งเพิ่มกลายเป็นพิมพ์เกศทะลุซุ้ม เป็นต้น ###จำแนกพิมพ์### ประกอบด้วยพระพิมพ์ต่างๆ รวม 12 พิมพ์คือ 1. พิมพ์ใหญ่หรือพิมพ์พระประธาน 2. พิมพ์เส้นด้าย 3. พิมพ์ทรงเจดีย์ 4. พิมพ์เกศบัวตูม 5. พิมพ์สังฆาฏิ 6. พิมพ์ปรกโพธิ์ 7. พิมพ์ฐานคู่ 8. พิมพ์ฐานแซม 9. พิมพ์อกครุฑ 10. พิมพ์ไสยาสน์ 11. พิมพ์คะแนน 12. พิมพ์จันทร์ลอย ข้อมูลพิเศษ กรุพระบางขุนพรหม ปี พ .ศ. 2509 พระทั้งหมดจะบรรจุภายในพระเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดใหม่อมตรส โดยภายในกรุก่อเป็นแบบแท๊งค์น้ำ มีช่องระบายอากาศจำนวน 10 ช่อง เอาทรายเทปูพื้น แล้วจึงนำพระมาบรรจุ เสร็จแล้วก็กลบเป็นชั้นๆ มาถึงด้านบน ใช้แผ่นเงินจำนวน 6 แผ่น จารึกข้อความว่า บรรจุปี 09 จึงค่อนข้างมั่นใจได้ว่า พระกรุนี้จะมีสภาพพระที่สวยและสมบูรณ์ กว่ากรุแรกแน่นอน
|