เห็นพระเกจิที่ร่วมปลุกเสกแล้วไม่เก็บไม่ได้แล้วครับ
หล่อโบราณ ระฆังหลังฆ้อน สุดสวย ผิวสวยเดิมมากครับ จัดเป็นพระแท้ดูง่าย เนื้อจัดมากครับ
ประวัติย่อๆครับ
วัดระฆังหลังฆ้อน เป็นพระสมเด็จเนื้อโลหะผสม ขนาดองค์พระเล็กกะทัดรัด กว้างประมาณ 1.2 ซ.ม. สูงประมาณ 1.7 ซ.ม. จัดสร้างโดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ญาณฉันทมหาเถร (เจริญ อิศรางกูร ณ อยุธยา) ผู้เป็นบุตรของหม่อมเจ้าถึก (พระโอรสสมเด็จพระเจ้าสัมพันธวงค์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรานุรักษ์ ผู้เป็นต้นราชกุล อิศรางกูรฯ) ซึ่งท่านเป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ 8 ของวัดระฆังก่อนหน้า พระเทพสิทธินายก (หลวงปู่นาค) โดยสร้างขึ้นเมื่อประมาณปี 2453--2457 ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่ พระพิมลธรรม (ต่อมาได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็น สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เมื่อปี 2464) และสร้าง พระสมเด็จ หลังฆ้อน อีกครั้งช่วงปี 2458-2470 โดยท่านได้นำเอาแผ่นโลหะที่พระอาจารย์ต่าง ๆ ได้ลงอักขระไว้นำมาหลอมหล่อรวมกับชนวนพระพุทธชินราช ที่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 ได้โปรดให้สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐาน ณ พระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร ทำเป็นเชื้อชนวนในการสร้างพระวัดระฆังหลังฆ้อนนี้ พระที่สร้างในวาระแรก จะมีกระแสเหลืองออกทองลูกบวบ และเนื้อสำริด และเนื้อเมฆสิทธิ์ก็เคยพอเห็น ..แต่หายากมาก ส่วนพระที่สร้างในคราวหลังจะมีสีอ่อนกว่า แต่ที่จริง ๆ ก็ ไม่ได้มีการแบ่งแยกรุ่นกันอย่างชัดเจนนัก เพราะว่าค่อนข้างจะแยกกันอย่างชัดเจนได้ยาก สำหรับ พระที่มาร่วมพิธีปลุกเสกในสมัยนั้น มีจำนวนถึง 60 รูป ได้แก่
หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก, หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง, หลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่, หลวงพ่อพ่วง วัดกก, กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์, หลวงพ่อชู วัดนาคปรก, หลวงพ่อสาย วัดอินทราราม(ใต้), หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ, หลวงพ่อคง วัดบางกะพร้อม, หลวงพ่อบ่าย วัดช่องลม, หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้, หลวงพ่อฉุย วัดคงคาราม, หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก, หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว, หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน, พระสังวรานุวงศ์เถร (ชุ่ม) วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ), สมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม) วัดอนงคาราม, หลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน, หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า , หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ, ...
(จากบันทึกประวัติที่ พระราชธรรมภาณี รองเจ้าอาวาสวัดระฆัง เมื่อปี 2513 ซึ่งสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ญาณฉันทมหาเถร (เจริญ อิศรางกูร ณ อยุธยา) เป็นพระอุปัชฌาย์ของท่าน บันทึกไว้ ที่หลงเหลืออยู่มีดังต่อไปนี้) พิธีกรรม เนื่องด้วยการสร้างพระเนื้อทองเหลืองนี้ เริ่มด้วยการส่งแผ่นทองเหลืองไปถวายพระอาจารย์ต่าง ๆ ในพระนครฯ ธนบุรี และต่างจังหวัด มากท่านด้วยกันได้ทำการลงเลขยันต์แล้วส่งคืนกลับมา เมื่อรวมแผ่นทองเหลืองที่ลงเลขยันต์เสร็จแล้ว จึงเริ่มพิธีโดยอาราธนาพระเถรานุเถระ ผู้ทรงวิทยาคุณมาทำการปลุกเศกทองเหลืองที่จะหลอมเทเป็นองค์พระตามแบบพิมพ์ ที่กำหนดไว้ สถานที่ทำพิธีในพระอุโบสถนั้น พิธีกรรมนั้นใหญ่โตแข็งแรงมาก เมื่อเททองเป็นองค์พระแล้ว จึงเลื่อยออกเป็นกิ่ง ๆ จากแกนชนวน และเลื่อยตัดออกเป็นแท่งๆ ลักษณะของแท่งพระเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ความกว้างประมาณเกือบ 3 เซนติเมตรครึ่ง ความยาวประมาณเกือบ 5 เซนติเมตรครึ่ง ความหนาประมาณครึ่งเซนติเมตร หลังจากเลื่อยตัดจากช่อแล้ว พระแต่ละองค์จะติดกันเป็นแพ ต้องใช้เลื่อยเฉือนบากออกตรงรอยต่อระหว่างองค์ และใช้ฆ้อนเคาะกระแทกให้องค์พระแต่ละองค์แยกออกจากกัน อันเป็นที่มาของชื่อ ระฆังหลังฆ้อน โดยบางองค์อาจจะมีรอยฆ้อนกระแทกยุบลงไปบ้าง บางองค์ก็ไม่มี
|