ดสร้างขึ้นเมื่องานฉลอง “๒๕ พุทธศตวรรษ” ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ซึ่งครั้งนั้นรัฐบาลได้จัดตั้งกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง เพื่อดำเนินงานเกี่ยวกับการสร้างพระเครื่อง ๒๕ พุทธศตวรรษ สำหรับเป็นที่ระลึกและแจกจ่ายสมนาคุณให้แก่ประชาชน ผู้ที่มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคเงินสมทบทุนในการสร้าง “พุทธมณฑล” โดย “พระเครื่อง ๒๕ พุทธศตวรรษ” ที่จัดสร้างขึ้นในครั้งนั้นมีรายการและรายละเอียดดังนี้
๑. เนื้อชิน พุทธลักษณะเป็นรูปองค์พระปฏิมากรแบบนูน เป็นพระที่สร้างขึ้นด้วยเครื่องปั๊มขนาดความกว้าง ๑.๘ ซม. สูง ๔.๗ ซม. หนา ๒ มม. วัสดุที่สร้างมีส่วนผสมต่าง ๆ ดังนี้ “พลวง, ดีบุก, ตะกั่วดำ, เนื้อนวโลหะ” และ “แผ่นทองแดง, แผ่นตะกั่ว, แผ่นเงิน” ที่พระอาจารย์ต่าง ๆ ทั่วราชอาณาจักรทำการลงอักขระเลขยันต์ และคาถาต่าง ๆ แล้วนำมาผสมหล่อหลอมเข้าด้วยกันโดยมีจำนวนสร้าง ๒,๔๒๑,๒๕๐ องค์
๒. เนื้อดิน พุทธลักษณะเป็นรูปองค์พระปฏิมากรแบบนูน สร้างขึ้นด้วยเครื่องปั๊มมีด้วยกัน ๒ พิมพ์คือ “พิมพ์เขื่อง” มีขนาดกว้าง ๑.๖ ซม. สูง ๔.๒ ซม. หนา ๖ มม. “พิมพ์ย่อม” มีขนาดกว้าง ๑.๔ ซม. สูง ๓.๙ ซม. หนา ๔ มม. วัสดุที่ใช้สร้างเป็น “เนื้อดิน” ทั้ง ๒ พิมพ์โดยนำดินที่ขุดจาก ทะเลสาบจังหวัดสงขลา ผสมกับ เกสรดอกไม้ ๑๐๘ ชนิด ตลอดทั้งว่านและใบไม้ต่าง ๆ พร้อม ดินจากหน้าพระอุโบสถ ที่มีความสำคัญจากจังหวัดต่าง ๆ อีกทั้งดินที่นำมาจากสังเวชนียสถาน ๔ แห่ง ใน ประเทศอินเดีย นอกจากนี้ยังใช้ผงวิเศษจากพระอาจารย์ต่าง ๆ และพระเครื่องโบราณที่ชำรุดเช่น “พระสมเด็จฯ, พระขุนแผน, พระนางพญา, พระรอด” มาผสมเข้าด้วยกัน จำนวนที่สร้าง ๒,๔๒๑,๒๕๐ องค์ เช่นกันกับเนื้อชินโดยพระเครื่องเนื้อดินเผามีด้วยกันหลายสี อาทิ สีดำ, สีเทา, สีขาวนวล, สีพิกุลแห้ง, สีหม้อใหม่, สีครีม, สีชมพู, สีน้ำตาลไหม้ ฯลฯ เป็นต้น
๓. เนื้อทองคำ พุทธลักษณะเป็นรูปองค์พระพุทธปฏิมากรแบบนูน สร้างด้วยเครื่องปั๊มมีขนาดกว้าง ๑.๘ ซม. สูง ๔.๗ ซม. หนา ๒ มม. ด้านหน้าและด้านหลังพุทธลักษณะโดยทั่วไปเป็นแบบเดียวกันกับพระ “เนื้อชิน” และจำนวนสร้างเท่ากับ พ.ศ. ที่สร้างคือ ๒,๕๐๐ องค์ โดยน้ำหนักทองคำองค์ละ ๖ สลึง ทางด้านพิธีกรรมการ ปลุกเสกครั้งแรกทำการปลุกเสกสรรพวัตถุและมวลสารต่าง ๆ ก่อนที่จะได้นำมาสร้างเป็นพระโดยประกอบพิธีปลุกเสก ณ พระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร เป็นเวลา ๓ วัน ๓ คืนด้วยกัน โดยในวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๐ เวลา ๑๖.๓๐ น. ฯพณฯ จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นเป็นประธานพิธี สมเด็จพระวันรัต (ปลด กิตฺติโสภโณ) สังฆนายก วัดเบญจมบพิตรฯ จุดเทียนชัยและมีพระเกจิอาจารย์ ๑๐๘ รูป นั่งปรกปลุกเสก บรรจุพุทธาคมลงในสรรพวัตถุและมวลสารต่าง ๆ จนตลอดคืน จากนั้นวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๐ เวลา ๑๖.๓๐ น. พลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ ประธานคณะกรรมการฯเป็นประธานพิธี และพระราชาคณะ ๒๕ รูป เจริญพระพุทธมนต์ พระเกจิอาจารย์ ๑๐๘ รูปนั่งปรกปลุกเสกบรรจุ พุทธาคมลงในสรรพวัตถุ และมวลสารต่าง ๆ ตลอดคืน
วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๐ เวลา ๑๖.๓๐ น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินมายังพระวิหารหลวง วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหา วิหาร ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชา พระศรีศากยมุนีเสร็จแล้ว เสด็จพระราชดำเนินไปยังมณฑลพิธีหน้าพระอุโบสถ ทรงเททองหล่อ “พระพุทธรูปทองคำ” จำนวน ๔ องค์ และทรงกดพิมพ์พระเครื่องฯ “๒๕ พุทธศตวรรษ” เนื้อดินจำนวน ๓๐ องค์ เป็นปฐมฤกษ์แล้วเสด็จพระราชดำเนินกลับเข้าสู่พระอุโบสถ สมเด็จพระราชาคณะ และพระราชาคณะ ถวายอดิเรกจบแล้วเสด็จพระราชดำเนินกลับ ส่วนพระเกจิอาจารย์ในจำนวน ๑๐๘ รูป เข้าสู่มณฑลพิธีนั่งปรกปลุกบรรจุพุทธาคมลงในสรรพวัตถุและมวลสารต่อไปจนตลอด คืน
พิธีปลุกเสกครั้งที่สองได้ทำพิธี ณ วัดสุทัศนเทพวรารามฯ หลังจากพระเครื่องทั้งหมดได้สร้างเสร็จสมบูรณ์แล้ว เมื่อวันที่ ๒, ๓, ๔ พฤษภาคม ๒๕๐๐ เป็นเวลา ๓ วัน ๓ คืน ประกอบด้วยเกจิอาจารย์ชั้นนำในยุคนั้นอีก ๑๐๘ องค์ เช่น “หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม หลวงพ่อคล้าย วัดสวนขัน หลวงพ่อเทียน วัดโบสถ์ หลวงพ่อครื้น วัดสังโฆ หลวงพ่อนาค วัดระฆัง หลวงพ่อดี วัดเหนือ หลวงพ่อใจ วัดเสด็จ หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง หลวงพ่อแทน วัดธรรมเสน หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม” เป็นต้น
|