เนื่องจากผมเป็นคนเขียนเพราะฉะนั้น ขออธิบายความเพิ่มเติมหน่อยนะครับ
ผมเป็นคนชอบคิดต่างครับ(อ่านจากบทความที่เขียนในอมตะล้านนาเดือนมิถุนายน และกรกฏาคม) แต่บางอย่างผมเลือกที่คิดตามมากกว่าเพราะอะไรอ่านต่อครับ
ก่อนอื่นต้องแบ่งระหว่าง กฏเกณฑ์และระเบียบปฏิบัติ กับ แนวคิดเสียก่อน
กฏเกณฑ์และระเบียบปฏิบติคือสิ่งที่ถูกวางเป็นมาตรฐานเพื่อปฏิบัติสืบต่อกัน สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมในอนาคต แต่เมื่อผู้กำหนดกฏเกณฑ์ในแต่ะกลุ่มถือเป็นสิ่งที่ยังเหมาะสมอยู่ก็สามารถคงเอาไว้ได้เช่นกัน ยกตัวอย่างกฏเกณฑ์ทั่วไปที่ทราบกันดี เช่น ห้ามขับรถเร็วเกิน 80 กม./ชั่วโมง อันนี้คิดต่างได้ แต่ผิดระเบียบ สามารถปรับเปลี่ยนได้เช่นกัน แต่ผู้กำหนดคือตำรวจ และรัฐมนตรีกระรวงที่รับผิดชอบ หรือแม้แต่เวลาจะซื้ออาหารต้องหยิบบัตรคิว บางร้านอาจบอกว่าไม่ต้องหยิบแล้วขี้เกียจทำ ยืนรอคิวดีกว่า อันนี้คือถูกกำหนดโดยเจ้าของร้าน
เพราะฉะนั้นหมายถึงระเบียบที่คนส่วนใหญ่เข้าใจ หรือแม้แต่ของวงการพระเอง เช่นมีระเบียบว่าที่ 1 ได้รับหนังสือพระ ที่ 2-4 ได้รับเฉพาะใบประกาศอันนี้เป็นระเบียบเช่นกัน การตัดสินเช่นกัน เพราะการกำหนดเกิดจากการกำหนดของผู้จัดงาน และให้สิทธิกรรมการแต่ละโต๊ะเป็นผู้กำหนดกรอบการตัดสินขึ้น อันนี้คือกฏเกณฑ์ และระเบียบ สามารถเปลี่ยนแปลงได้ แต่ต้องรอผู้กำหนดกฏเกณฑ์ที่ไม่เห็นพ้องเสียก่อนจึงจะทำได้
ผมขอเปรียบเทียบเป็นตัวเลขเพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ เปรียบอายุพระเหมือนตัวเลข สมมุติตั้งหมุดเอาไว้ที่ 350 ปีขึ้นไป เอา50 ปีมาส่ง ต่างกัน 7 เท่า ผมอนุโลมให้ไม่ได้ครับ ผมว่าคนส่วนใหญ่จะคิดแบบนี้ คงมีคนคิดต่างน้อยมาก เพราะ"มันห่างเกินไป" ถ้าปกหมุดไว้ 350 ปี เอา 300 ปีมาส่งอันนี้ให้ได้ไม่ว่ากันเพราะอะไร คำตอบที่ไม่จำเป็นต้องตอบแล้ว อ่านมาถึงตรงนี้คิดกันได้แล้วนะครับ
ส่วนแนวคิด ถือเป็นเรื่องที่ค่อนข้างอิสระ ปรับเปลี่ยนได้ตามแนวคิดตนเอง สามารถคิดนอกกรอบได้ เนื่องจากเราปฏิบัติได้เอง เช่น การเดินทางระหว่างทะเล และภูเขา บางคนไม่ชอบทะเลเพราะร้อน บางคนชอบทะเลเพราะเหงา บางคนไม่ชอบภูเขาเพราะเหนื่อย บางคนชอบภูเขาเพราะมีสีเขียวเยอะ การเลือกตามแนวคิดของเราสามารถกระทำได้ คิดต่างได้เพราะเรากำหนดแนวคิดเอง ไม่ต้องตามใคร ทุกคนมีสิทธิ และอิสระที่จะคิด เพียงแต่สิ่งที่คิดนั้นจะเป็นการคิดตาม หรือคิดต่างจาก
|