|
ติดรางวัลที่ ๑ งานจังหวัดเชียงใหม่ ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ ๗ รอบ วันที่ ๒๓-๒๔ กย.ูู๖๖, พระยอดขุนพลเชียงใหม่ (กรุศาลเจ้า) เนื้อดิน ขุดพบจากบริเวณกรุศาลเจ้า (ตลาดต้นลำไย) อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ในประมาณปี พ.ศ.2498 นอกจากพระพิมพ์ยอดขุนพลแล้วยังพบพระพิมพ์ปรกโพธิ์ (เรียกพิมพ์ ขุนไกร)อีกด้วย พระที่พบส่วนใหญ่จะเป็นพระเนื้อดินเผา โดยจะพบทั้งที่มีการลงรักปิดทองและส่วนที่ไม่ได้ลงรักปิดทองก็มี นอกจากนี้ยังพบที่เป็นเนื้อว่านอีกด้วย ศิลปะที่เห็นเป็นศิลปะแบบเดียวกับพระปรกโพธิ์เชียงแสน ซึ่งเป็นสกุลช่างลานนา พุทธลักษณะของพระยอดขุนพลนั้นจะเป็นพระนั่งปางมารวิชัย ปรากฏรายละเอียดของพระพักตร์ชัดเจน การวางพระกรแบบแขนอ่อนวางพระหัตถ์อยู่นอกเข่า ซึ่งมักจะเรียกว่าเข่าใน นอกจากนี้ยังมีรายละเอียดของเครื่องประกอบเป็นฉัตร และบังสูรย์ ประกอบด้านซ้ายและด้านขวา ล้วนเป็นเครื่องสูงของเจ้าพระยามหากษัตริย์ทั้งสิ้น ส่วนพระพิมพ์ปรกโพธิ์นั้น รูปทรงกรอบนอกคล้ายๆ กัน รายละเอียดขององค์พระก็คล้ายคลึงกัน เพียงแต่เครื่องประกอบนั้น เป็นต้นโพธิ์ แบบซุ้มโพธิ์ พระทั้งสองชนิดมีขนาดค่อนข้างเขื่องคือ มีความกว้างประมาณ 4-4.3 ซ.ม. สูงประมาณ 5.5-6.2 ซ.ม. พระทั้งสองพิมพ์นี้ถือเป็นพระเครื่องยอดนิยมของภาคเหนือ จนได้รับการขนานนามว่า “พระยอดขุนพล” ซึ่งปัจจุบันก็หาชมองค์แท้ๆ ยากเช่นกัน พุทธคุณนั้นว่ากันว่าเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพัน รวมถึงด้านโชคลาภ /มหาเสน่ห์ ก็มีปรากฎ และพระเครื่องทั้งสองพิมพ์นี้ นับเป็นพระเครื่องศิลปะลานนาที่สวยงามมาก ควรค่าแก่การเก็บรักษาเพื่อเป็นมรดกทางวัฒนธรรมแก่ลูกหลานสืบต่อไป พระเครื่องที่เป็นพระกรุพระเก่าของแต่ละจังหวัดนั้น มีคุณค่าในทางโบราณคดี และยังมีพุทธคุณในด้านคุ้มครองให้อยู่เย็นเป็นสุข ถึงแม้บางองค์อาจมีขนาดใหญ่หรือค่อนข้างเขื่อง ปัจจุบันอาจจะไม่ค่อยนิยมนำมาห้อยคอก็ตาม แต่เก็บไว้บูชาที่บ้านก็คุ้มครองบ้านเรือนและคนในบ้านให้อยู่เย็นเป็นสุข อีกทั้งศิลปะของแต่ละยุคสมัยก็สวยงามและมีคุณค่าในตัวเองในแต่ละยุคแต่ละท้องถิ่น เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติเรา Cr. https://www.khaosod.co.th/newspaper-column/amulets/news_2707947 แทน ท่าพระจันทร์
|
|