เหรียญหล่อพระพุทธชินราช พิมพ์ห้าเหลี่ยม เนื้อนวะ หลัง "มค.๑" เจ้าคุณศรีฯ (สนธิ์)
วัดสุทัศน์ฯ ปีพ.ศ.2494เทหล่อเมื่อวันที่ 17 กรกฏาคม พ.ศ. 2494 จำนวนการสร้างทั้งหมด 5,000 องค์ (รวมกันระหว่างพระที่ด้านหลังตอกโค้ด และไม่ตอกโค้ด) พระที่ตอกโค้ดย่อมมีน้อยกว่า น่าจะประมาณหนึ่งในสามคือของจำนวนสร้างทั้งหมด ประมาณไม่เกิน 2,000 องค์อย่างแน่นอนเป็นการสร้างโดยกรรมวิธีเททองหล่อแบบขึ้นช่อหล่อโบราณ ด้วยเนื้อชนวนโลหะมงคลเดิมของวัดสุทัศน์ตั้งแต่สังฆราชแพ ลงมาแล้วผสมผสานโลหะทองเหลือง กลายเป็นโลหะผสมทรงมหิทธิฤทธิ์ที่มีพุทธานุภาพ เหรียญหล่อรุ่นนี้นั้นจัดสร้างเป็นมงคลที่ระลึกสมนาคุณแก่ผู้สละปัจจัยบริจาคทรัพย์เมื่อคราวหล่อพระประธานวัดศรีจอมทอง จ.สระบุรี ซึ่งเป็นวัดบ้านเกิดของเจ้าคุณศรีฯ (สนธิ์) แห่งวัดสุทัศน์ฯด้านหน้าเป็นรูปจำลององค์พระพุทธชินราช
ด้านหลังมีทั้งแบบตอกโค้ด "มค๑" และแบบไม่ตอกโค้ดตอด"มค" หมายถึงสมณศักดิ์ของท่านในขณะนั้นคือ "พระมงคลราชมุนี"ตอก"๑" หมายถึงสมณศักดิ์นี้ได้มีการแต่งตั้งเป็นครั้งแรกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์พระพุทธชินราช พิมพ์ห้าเหลี่ยม หลัง "มค๑"
รุ่นนี้สามารถใช้ทดแทนพระกริ่งหรือพระชัยวัฒน์ของท่านเจ้าคุณศรีฯ (สนธิ์) ได้อย่างสนิทใจ เนื่องจากท่านได้ลงสูตรในแผ่นนวโลหะหนัก 45 บาทด้วยสูตรการสร้างพระกริ่งและพระชัยวัฒน์ทุกประการ อันประกอบด้วย "ยันต์ 108" และ "นะ 14 นะ" รวมกับชนวนพระกริ่งและพระชัยวัฒน์ของวัดสุทัศน์รุ่นเก่าๆ ตั้งแต่ครั้งสมัยสมเด็จพระสังฆราชฯ (แพ) เป็นต้นมา
ส่วนพระเกจิอาจารย์ที่มาร่วมปลุกเสกก็ล้วนแต่มีชื่อเสียงโด่งดังในยุคนั้น อันประกอบด้วย
หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา
หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก
หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ
หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง
หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง
หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ ฯลฯ
เนื้อพระเป็นโลหะแบบ "ทองผสม" กระแสวรรณะมี 2 แบบ คือ "เหลืองอมเขียว" หรือ "เหลืองทอง" ด้านหลังตอกโค้ด "ม.ค.๑" ชัดเจน ทำให้การพิจารณาพระแท้แยกออกจากพระเก๊นั้นทำได้ง่ายขึ้น
|