พระกริ่งอวโลกิเตศวร(กริ่งพระโพธิสัตว์) ครูบากฤษดา สุเมโธ เนื้อชนวน จำนวนสร้าง 300 องค์ ในปี พ.ศ. 2546 สภาพสวยตอกโค๊ดพร้อมรอยจารครูบากฤษดา เป็นพระยุคต้นๆของท่านที่หายากสุดๆและได้รับความนิยมจากชาวต่างชาติเป็นจำนวนมาก ทำให้ราคาสูงมากในตลาดพระ ณ ปัจจุบัน
พระอวโลกิเตศวร (Avalokiteśvara) หรือ พระปัทมปาณี (Padmapani) เป็นพระโพธิสัตว์ในรูปความกรุณาของบรรดาพระพุทธเจ้าทั้งปวง ปรากฏการสร้างรูปเคารพของพระองค์แตกต่างหลากหลายไปตามความเชื่อ ปรากฏทั้งในรูปสตรีเพศและบุรุษเพศในทิเบต นับถือในพระนามเจนเรอซิก (Chenrezig) ในศาสนาพุทธแบบจีน แนวคิดของพระอวโลกิเตศวรได้พัฒนาเป็นเทพเจ้าสตรี พระแม่กวนอิม หรือ กานนอน ในเนปาลมณฑลรู้จักในนามชนะพหะทยา (Jana Baha Dyah), การุณามานา (Karunamaya), เสฌต มจิรทรนาถ
คำว่า อวโลกิเตศวร เป็นการรวมคำว่า อว- แปลว่า "ล่าง", โลกิต- รูปอดีตของคำกิริยา โลก ซึ่งแปลว่า "รับรู้" และ อีศวร, "จ้าว", "ผู้ครอง", "เทวะ" หรือ "ผู้ยิ่งใหญ่" เมื่อนำมารวมกันด้วยการสนธิ (การรวมคำแบบสันสกฤต) เสียง อะ+อีศวร กลายเป็น เอศวร เมื่อรวมกันจึงมีความหมายว่า "เทวะผู้มองลงมา (ยังโลก)" คำว่า โลกะ ("โลก") อาจไม่ปรากฏในชื่อ แต่สามารถรับรู้ได้อย่างชัดเจนเช่นในพระนามในภาษาเขมรว่า โลเกสวรัก (Lokesvarak)นอกจากนี้ในภาษาสันสกฤตยังปรากฏพระนาม ปัทมปาณี (Padmapāṇi; "ผู้ซึ่งถือดอกบัว") หรือ โลเกศวร (Lokeśvara; "จ้าวแห่งโลก")
พระกริ่งอวโลกิเตศวรนั้น เป็นวัตถุมงคลที่โบราณาจารย์ได้สร้างขึ้นมา เพื่อเป็นที่ระลึก และเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจให้คนมีความเสียสละ อุทิศตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม เพื่อความเป็นสิริมงคล และความเจริญรุ่งเรือง
เข้าชมรายการพระร้านกร สารภี เพิ่มเติมได้..คลิก กร สารภี ด้านล่างครับ
|