พระกริ่งรุ่นแรกหลวงพ่อดาบส สุมโน เนื้อนวะก้นจารตอกโค๊ตกล่องเดิม พระกริ่งอริยะดาบส สุมโน รุ่นสร้างพระเจดีย์ ดอยขุมเงิน อ.เมือง จ.ลำพูน เป็นครั้งแรกที่พระอริยะดาบส สุมโน อนุญาตให้ศิษย์จัดสร้างพระเครื่องรุ่นแรก อธิฐานจิตโดยหลวงพ่อดาบส สุมโน อาศรมเวฬุวัน เมื่อปี2531 เนื้อนวะสร้าง 2000 องค์ เนื้อเงิน สร้างไม่ถึง 100 องค์ แจกจ่ายแก่ผู้ร่วมทำบุญ บริจาคสร้างเจดีย์ดอยขุมเงิน อ.เมือง จ.ลำพูน ปัจจุบันพระกริ่งรุ่นแรกนี้หายากมาก ลูกศิษย์เขาเก็บกันหมด สำหรับองค์นี้เป็นพระกริ่งเนื้อนวะโลหะ ตอกโค๊ตลงจารย์ สภาพสวยมากผิวเดิม ๆพร้อมกล่อง หลวงพ่อดาบส สุมโน ท่านเป็นพระอริยะเจ้า เป็นพระบุญฤทธิ์ และ อิทธิฤทธิ์ เป็นพระสุปฏิปันโนที่ควรแก่การสักการะ กราบไหว้ เมื่อท่านมรณภาพแล้วขนาดหัวใจของท่าน ยังเผาไม่ไหม้ แถมยังแปรสภาพเป็นพระธาตุ สีเขียวมรกตครูบาอาจารย์หลายท่าน ให้ความยกย่อง บางท่านให้ศิษย์ไปกราบไว้ ไปทำบุญ ไปเรียนวิชากับท่าน “หลวงพ่อดาบส สุมโน ” เดิมชื่อ “สง่า” นามสกุล “เจริญจิตต์” เกิดเมื่อวันที่ ๑๒ กัน ยายน ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ พ.ศ.๒๔๖๗ ปีชวด ตำบลบางกระไชย อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี เป็นลูกคนที่ ๖ ในจำนวนทั้งหมด ๘ คน บิดาชื่อ “นายเถียน” มารดาชื่อ “นางเวียง” ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๗๔ ขณะอายุได้ ๗ ปี มารดาก็ถึงแก่กรรมและต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๗๘ อายุได้ ๑๑ ปี “เด็กชายสง่า” ก็ต้องสูญเสียบิดาบังเกิดเกล้าไปอีกคน จึงอยู่ภายใต้การดูแลของ “คุณป้า” และเริ่มเรียนหนังสือชั้นประถมศึกษาที่ ๑ โรงเรียนวัดบางกระไชย จบชั้นประถมปีที่ ๔ เมื่อ พ.ศ.๒๔๑๘ ครั้นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๕ อายุได้ ๑๘ ปี “คุณป้า” ได้นำ “เด็กชายสง่า” ไปบรรพชาที่ “วัดจันทนาราม จังหวัดจันทบุรี” เพื่อเรียนปริยัติธรรมซึ่งต่อมาสามารถ สอบได้ทั้ง “นักธรรมตรี” และ “นักธรรมโท” ในปี พ.ศ.๒๔๘๗ อายุครบ ๒๐ ปี “สามเณรสง่า” จึงอุปสมบทเป็น “พระภิกษุ” โดยมีท่าน “เจ้าคุณอมรโมลี” เป็นอุปัชฌาย์ได้ฉายาว่า “สุมโน” กระทั่งปี พ.ศ.๒๔๘๙ อันเป็นพรรษาที่ ๔ “พระภิกษุสง่า สุมโน” ได้กราบลา “พระอุปัชฌาย์” เพื่อเดินทางไปศึกษา “ภาษาบาลี” กับท่าน “เจ้าคุณรัชมงคลมุณี” วัดหนองบัว จังหวัดระยอง ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๙๐ ด้วยจิตที่มุ่งมั่นจะปฏิบัติธรรม แสวงหาธรรม จึงออกเดินธุดงค์ไป “จังหวัดเชียงใหม่” ตามเส้นทาง “อำเภอดอยสะเก็ด” สู่ “ถ้ำเชียงดาว” อำเภอเชียงดาวได้ธุดงค์พลัดเข้ามาสู่เขตพื้นที่ของ “อำเภอพร้าว” ในปี ๒๔๙๐ ถึง ๒๔๙๔ จึงพำนักและปฏิบัติธรรมใน “ป่าช้า” ของตำบลเวียง อำเภอพร้าว หรือ “วัดป่าเลไลย์” เป็นเวลาถึง ๔ ปี ปี พ.ศ.๒๔๙๔ “พระภิกษุสง่า สุมโน” เดินทางมาพำนักที่ “วัดเจดีย์หลวง” จัง หวัดเชียงใหม่ โดยปฏิบัติธรรมกับ “เจ้าคุณวินัยโกศล” (จันทร์ กุสโล) หรือ “พระพุทธพจนวราภรณ์” แล้วจึงออกจาก “วัดเจดีย์หลวง” ธุดงค์ไปตามเส้นทางสู่ “อำเภอดอยสะเก็ด” อีกครั้งพร้อมลัดเลาะไปตามป่าเขาถึง “ดอยพระเจ้าหล่าย” วันนั้นเป็น วันอาทิตย์ที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ.๒๔๙๔ ตรงกับแรม ๖ ค่ำ เดือนยี่เวลา ๑๗.๐๐ น. “พระภิกษุสง่า สุมโน” จึงตั้งสัจจะอธิษฐาน ณ ดอยพระเจ้าหล่าย ขอสละเพศบรรพชิตขอลาสิกขาบทจากการเป็น “พระภิกษุสงฆ์” โดยหันมาถือการครองเพศเป็น “ดาบส” ที่มีเพียง ผ้าอังสะและผ้าสบง เพียงสองผืนหุ้มห่อร่างกายไว้จากนั้นจึงครองเพศเป็น “ดาบส” และปฏิบัติธรรมอยู่บน “ดอยพระเจ้าหล่าย” โดยมิได้ฉันทั้งอาหาร และน้ำถึง “๓ วัน ๓ คืน” จากนั้นจึงเดินทางลงจากดอยเพื่อธุดงค์ไปจังหวัด ต่างๆ ทั้ง แพร่ ลำปาง น่าน ยะลา ชุมพร และท้ายสุดปฏิบัติธรรมที่ “อาศรมไผ่มรกต” ต.ป่าอ้อดอนชัย อ.เมือง จ.เชียงราย จนมรณภาพ เมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๓๔ สิริอายุได้ ๗๖ ปี “หลวงพ่อดาบส สุมโน” นับเป็น “ผู้บำเพ็ญเพียร” ด้วยศีลาจารวัตร บริสุทธิ์ผุดผ่องจนได้พบแสงสว่างแห่งธรรมเจิดจ้า และธรรม ที่ท่านแสดงให้บรรดาศิษย์ได้ยังความสุข ความสงบ ความร่มเย็น ให้เกิดขึ้นในจิตใจของผู้ที่เคยฟังธรรมจากท่านจึงนับได้ว่าท่านเป็น “ประทีปธรรม” แห่งภาคเหนือที่ยังคงอยู่ในความทรงจำ และในจิตใจ ของประชาชนตลอดไป สนใจสอบถามได้ครับ 0861936900