พระรอด วัดพระสิงห์ จ.เชียงใหม่ ปี ๒๔๙๖ พิมพ์ใหญ่มือจุด
ประวัติการสร้าง พระรอด วัดพระสิงห์ จ.เชียงใหม่ พ.ศ.๒๔๙๖ ในการสร้างพุทธสถานเชียงใหม่ ซึ่งได้กระทำพิธีวางศิลาฤกษ์ ณ บริเวณวัดอุปคุต เชิงสพานเนาวรัตน์ เมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๙๖ เวลา ๑๑.๔๕น. ตรง และในเดือนเดี่ยวกันนั้นเอง ตรงกับวันขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๗ ปี มะเส็ง จัตวาศก จุลศักราช ๑๓๑๕ วันที่ ๒๓ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๙๖ เริ่ม พิธี ๙.๒๑ น. ๔๑ วินาที และเริ่มจุดเทียนไชย เวลา ๑๙.๒๙ น. พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ ประธานกรรมการจัดสร้างพระรอด พร้อม ด้วยคณะกรรมการพุทธสถานก็ได้รวมกันประกอบพิธีมหามงคลสร้างพระรอด ๘๔,๐๐๐ องค์ เพื่อสมทบทุนสร้างพุทธสถานแห่งนี้ พระรอดรุ่นเก่าสมัยโบราณหรือที่สร้างก่อนพระรอดรุ่นนี้ ได้เนื้อดินมาจากแห่งหนตำบลใดที่เป็นปัญหาแรกที่ต้องคิดเพราะการสร้างพระรอดนั้นจะต้องทำให้ถูกต้องตามหลักวิชาทางไสยศาสตร์ ข้าพเจ้าจึงได้ไปกราบเรียนหารือกับ พล.ร.ต. หลวงสุวิชาญแพทย์ รน. เจ้ากรมเเพทย์ทหารเรือในปัจจุบัน เพื่อได้ตรวจสอบทางทิพยญาณจักษุ ก็ได้รับทราบว่าพระรอดเกือบทุกรุ่นใช้ดินบริเวณทิศเหนือของวัดพระคงจังหวัดลำพูนแต่การที่จะไปขอดิน ณ บริเวณดังกล่าวแล้วจะต้องตั้งศาลเพียงตาอาราธนาขอจากพระพุทธรูปและเทวดาที่รักษา เมื่อขุดลงไปประมาณ ๓ ศอกก็จะพบดินที่ต้องการ ข้าพเจ้าจึงได้เรียนให้คณะกรรมการพุทธสถานรับทราบและดำเนินการจนได้ดินเพียงพอแก่ความต้องการ ซึ่งดินบริเวณนี้เมื่อได้นำมาสร้างพระรอดแล้ว เนื้อองค์ของพระรอดจะแข็งแกร่ง หาอะไรเปรียบมิได้ ดินทั้งหมดที่ได้มานี้ ข้าพเจ้าได้ให้อาจารย์ผู้ทรงคุณละลายดินด้วยน้ำพระพุทธมนต์พุทธาภิเศก น้ำมนต์พระคาถาแสน น้ำมนต์ ร้อยที่และกลั่นกรองด้วยผ้าขาวสะอาดเอาแต่ผงละเอียดอ่อนซึ่งมีลักษณะเหมือนแป้ง แล้วผสมด้วยผงพระธาตุ ผงพระเบิม ผงพระเลี่ยง ผงพระคง ผงพระรอด ผงพระสมเด็จพุฒาจารย์ ประกอบด้วยผงตรีนิสิงเห ผงปัทมัง ผงพุทธคุณ และผงอิทธิเจของคณาจารย์รุ่นเก่า เช่นหลวงพ่อวัดมะขามเฒ่า หลวงพ่อทองคำวัดหนามแตง และสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ผสมเคล้ากันจนเข้าเป็นเนื้อเดียวกันแล้ว จึงปั้นเป็นก้อนกลมขนาดผลส้ม ส่งดินนี้ไปให้อาจารย์ฉลองเมืองแก้วชึ่งท่านทั้งหลายจะทราบกิติศัพท์ว่าอาจารย์ผู้ที่เสกตะกรุดทองลอยน้ำ เสกข้าวสารเป็นกุ้ง เป็นผู้ทำพิธีใส่ธาตุที่กรุงเทพฯ เสร็จพิธีใส่ธาตุแล้ว นำไปจัดพิมพ์ที่จังหวัดลำพูนด้วยแม่พิมพ์ ๑๑ อันได้พระรอด ๑๑ สีพอดี เมื่อได้เวลาฤกษ์ พระมหาราชครูวามมุนี กับท่านพราหมณ์ พระครูศิวาจารย์ แห่งกรุงเทพฯพร้อมด้วยคณะเป็นประธานฝ่ายพราหมณ์มหาปัญจพิธีพร้อมด้วยโอมอ่านศิวะเวทย์ อัญเชิญท้าวเทพยะดา ทั้งหลาย ท่านฤาษีผู้ทรงคุณวุฒิ คือ ฤาษีเทว หรือ ฤาษีวาสุเทพ ซึ่งสิงสถิตย์อยู่อุฉุจบรรพตริมแม่น้ำโรหินี (น้ำแม่ขาน) ฤาษี สุขทันตะเขาสามยอดเมืองละโว้ ฤาษีอนุสิษฎ์สถิตย์อยู่หะสิกะวัลลีนคร (ศรีสัชนาลัย) ฤาษีพุทธะชลิต ซึ่งสถิตอยู่ดอยขุหะระบรรพต แม่น้ำสารนัทที (ดอยมา) ฤาษีสุพรหมสถิตอยู่ ณ ดอยงามใกล้แม่น้ำวัง และฤาษีนารอด ซึ่งเป็นองค์ปฐมแรกในการสร้างพระรอดกับอัญเชิญวิญญาณพระนางจามเทวี กษัตริย์ทุกพระองค์ในกรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยาและกรุงลานนาไทย และกรุงรัตนโกสินทร์ เวลา ๑๙.๒๙ ประกอบพิธีจุดเทียนไชย พระมหาราชครูวามมุนี อ่านโองการชุมนุมเทวดาและสรรเสริญพระรัตนยาธิคุณ เสร็จแล้ว พราหมณ์เป่าสังข์แกว่งปัณเฑาะว์ ครั้นแล้วพระครูวามมุนี อาราธนาพระปริต พระธรรมราชานุวัตร กับคณาจารย์ผู้ทรงคุณวิเศษสวดพระปริต พระสูตรต่างๆ จบแล้วพระคณาจารย์ทั้งหมดนั่งปรกบริกรรมปลุกเศกตลอดคืน พิธีนี้ พล.ร.ต. หลวงสุวิชาแพทย์ รน. ได้มาร่วมในพิธีตลอดเวลา ปรากฏว่าผู้ใดได้พระรอดรุ่นนี้ไปบูชา จะมีโชคชัย ปลอดภัย สวัสดิมงคล และเป็นมหานิยม มหาอำนาจ คงกะพันชาตรี โภคทรัพย์ ซึ่งจะหามิได้ต่อไปอีกแล้ว เพื่อความศักดิ์สิทธิ์ ของพระรอดรุ่นนี้ พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ ได้อาราธนาพระราชาคณะตามอารามต่างๆ คือ 1. เจ้าคุณศรีสมโพธิ์ วัดสุทัศน์ 2. เจ้าคุณสีหสุวรรณวิสุทธิ์ เจ้าคณะจังหวัดลำปาง 3. เจ้าคุณเมธีสมุทเขตต์ วัดเจริญสุขาราม ราชบุรี 4. เจ้าคุณภาวนาภิราม วัดระฆัง 5. เจ้าคุณภาวนาโกศลเถระ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ 6. พระครู ทักษิณานุกิจ (หลวงพ่อเงิน) 7. พระครูบาวัง วัดบ้านเด่น จังหวัดตาก 8. พระครูสุนทรสังฆกิจ อ.แก่งคอย จ.สระบุรี 9. พระครูอาคมสุนทร วัดสุทัศน์ 10.พระครูวิสุทธิรังษี วัดใต้ กาญจนบุรี 11.พระครูโต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี อ.ภาษีเจริญ ธนบุรี 12.พระครูพักตร์ วัดบึงทองหลาง 13.พระครูมหาศรีสุนทร วัดหลวงสุวรรณาราม ลพบุรี 14.พระครูใบฎีกาประหยัด วัดสุทัศน์ 15.พระครูสังข์ วัดสัมพันธวงศ์ 16.พระอาจารย์จัน วัดคลองระนงค์ นครสวรรค์ 17.พระอาจารย์โพธิ์ วัดราชโยธา อ. มินบุรี 18.พระอาจารย์ พี วัดสวนพลู 19.พระธรรมธรหลาย จ.ชลบุรี 20.พระปลัดตังกวย วัดประดู่ฉิมพลี ภาษีเจริญ ธนบุรี 21.ท่านอาจารย์ยัง วัดบางจาก นนทบุรี 22.ท่านอาจารย์ทบ อ.กิ่งชนแดน จ.เพ็ชรบูรณ์ 23.ท่านอาจารย์สำอาง วัดเขาดิน จ.กาญจนบุรี 24.อาจารย์แฉ่ง วัดบางพัง นนทบุรี 25.หลวงพ่อนอ ท่าเรือ จ.อยุธยา 26.หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ จ.นครสวรรค์ 27.หลวงพ่อเผือก วัดกิ่งแก้ว จ.สมุทรปราการ 28.หลวงพ่อสำเนียง วัดเวฬุวัน อ.บางเลน จ.นครปฐม มาร่วมในพิธีสวดปริตและบริกรรมปลุกเศกด้วยยอดคาถาแห่งสูตรต่างๆ พร้อมด้วยกฤตยาคมเวทย์มนต์ศิวเวทย์พระวิษณุเวทย์ สวดชัยมงคลคาถาพุทธลักษณะและพุทธภิเศกตลอด ๓ วัน๓ คืน ในระหว่างที่พระคณาจารย์ต่างๆ นั่งปลุกเศกบริกรรมนี้มีนิมิตรต่างๆ อันเป็นมงคลยิ่งดังที่จะขอกล่าวต่อไปนี้ บริเวณพระที่ ที่ตั้งโต๊ะสังเวย วิญญาณของพระนางจามเทวี อดีตกษัตริย์ทุกพระองค์แห่งกรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงรัตนโกสินทร์ กรุงลานนาไทย ณ บริเวณหน้าพระอุโบสถวัดพระสิงห์ ได้มีหมู่ผีเสื้อบินมาวนเวียนอยู่เหนือเครื่องสังเวย อย่างมากหลายเป็นมหัศจรรย์ ได้เรียนถาม พล.ร.ต. หลวงสุวิชาญเเพทย์ ได้ รับตอบว่าวิญญาณอดีตกษัตริย์ทุกพระองค์ตลอดจนลูกหลานเหลน ได้มาชุมนุมรับเครื่องสังเวยพร้อมเพรียงกัน ทุกพระองค์ทรงชื่นชมยินดีที่ได้มีการสร้างพระรอดรุ่นนี้ พล.ต. เจ้าราชบุตร อดีตเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ถึงกับปลื้มปีติน้ำตาไหลเมื่ออ่านโองการถึงพระนามของกษัตริย์แห่งกรุงลานนาไทย ทุกพระองค์ และโดยเฉพาะเจ้าแก้วนวรัตน์ ซึ่งเป็นพระราชบิดาของท่าน เวลา ๑๗.๐๐ น. พระธรรมธรหลาย ได้นิมิตร เห็นขณะที่นั่งปรกบริกรรม ว่ามีพระแก้วขาวปรากฎ มีผู้หญิงแต่งตัว โบราณเป็นผู้รักษา มีพระอาจารย์แก่ๆ ๒ องค์มาด้วย เวลา ๒๑.๕๐ น. ได้เรียนถาม พล.ร.ต. หลวงสุวิชาแพทย์ ว่าตามที่อัญเชิญดวงวิญญาณต่าง ๆ ให้มาประทับเป็น ประธานในพิธีนั้นมาทุกพระองค์หรือไม่ ก็ได้รับตอบว่าทุกพระองค์รวมทั้งฤาษีที่สำเร็จ-มาหมด (ขอที่บดยา ๑ ที่ด้วย) เวลา ๒๒.๐๐ น. หลวงพ่อสำเนียง นิมิตรเห็นมีพระพุทธรูปทองคำลอยอยู่ในวงสายสิน ๕ องค์ และมีรัศมีพุ่งเป็นรังษี และมีเทพบุตร เทพธิดา อยู่รอบ ๆ ถือดอกไม้ธูปเทียนบูชา เวลา ๒๒.๒๕ น. อาจารย์สำอางค์ วัดเขาดิน นิมิตรเห็นว่าพระรอดรุ่นนี้ชนะทุกทาง เวลา ๒๒.๔๐ น. พระครูวินัยสุนทร มีนิมิตรว่าพระรอดรุ่นนี้มีคงกะพันชาตรี และเป็นมหานิยม เวลา ๒๓.๐๗ น. พระอาจารย์จัน วัดคลองระนง ว่าพระรอดรุ่นนี้มีเมตตาและปลอดภัยดี เวลา ๒๓.๒๕ น. หลวงพ่อเผือก มีนิมิตรว่าพระรอดรุ่นนี้ใช้ได้ ๑๐๘ เวลา ๒๓.๔๓ น. พระครูปลัดมหาเถรานุวัตร เจ้าคณะตำบลวัดพระสิงห์ มีนิมิตรว่าเมตตาดีอยู่ยงคงกะพัน เวลา ๒๔.๓๐ น. เจ้าคุณภาวนาภิรามเถร วัดระฆัง มีนิมิตรว่า เห็นเทวดาลงมามีรูปร่างใหญ่สูงเท่าพระวิหาร เป็นสีขาว เวลา ๒๔.๓๗ น. พระอาจารย์พี วัดสวนพลู มีนิมิตรว่าพระรอดรุ่นนี้ดีมีอิทธิฤทธิ์แรงกล้ามาก เวลา ๒๔.๕๐ น. เจ้าคุณวิสุทธิรังษี มีนิมิตรว่ามีช้างใหญ่เดินผ่านเข้ามาและมิได้ทำอะไรเพราะเกรงกลัวความศักดิ์ สิทธิ์ของพระรอด เวลา ๐๑.๒๐ น. พระครูมหาศรีสุนทร มีนิมิตรว่าพระรอดรุ่นนี้ดีมาก มีพระพุทธรูปมานั่งในพิธี เวลา ๐๑.๔๕ น. หลวงพ่อแฉ่ง มีนิมิตรว่า ดีมีแสงว่าฉายมาปกคลุมพระรอดอยู่ตลอดเวลา เวลา ๐๒.๔๕ น. เจ้าคุณเมธีสุนทรเขตต์ มีนิมิตรว่าเห็นแสงสว่างกระจายอยู่เต็มบริเวณพิธีนี้ตลอดเวลา เวลา ๐๓.๐๐ น. พระครูพักตร์ มีนิมิตรว่า พระรอดรุ่นนี้อยู่ยงคงกะพันดีมาก เวลา ๐๓.๔๕ น. พระครูสมุทรสังฆกิจ มีนิมิตรว่า มีสีขาว-เขียว สลับกัน ปรากฏที่บริเวณที่ตั้งพานพระรอด เวลา ๐๓.๕๕ น. พระอาจารย์ทบ มีนิมิตรว่า พระรอดรุ่นนี้ดีมาก มีคงกะพันชาตรี เวลา ๐๔.๓๐ น. พระอาจารย์โพธิ มีนิมิตรว่า พระรอดรุ่นนี้มีเมตตาคงกะพันชาตรี แคล้วคลาดมากอำนาจ เวลา ๐๔.๔๐ น. พระอาจารย์มิ่ง มีนิมิตรว่ามีรัศมีฉายแสงสว่างรุ่งเรืองดีเป็นประกาย เวลา ๒๑.๔๗ น. พระครูบาวัง วัดบ้านเด่น มีนิมิตรว่า จังหวัดเชียงใหม่ได้อาศัยอานุภาพของพระธาตุดอยสุเทพเป็นที่ คุ้มครองให้ความร่มเย็นเป็นสุข เวลา ๒๓.๓๐ น. พระธรรมธรหลาย ชลบุรี มีนิมิตรว่า ดีมาก แก้เขี้ยวงาและอสรพิษทั้งหลายได้ เวลา ๒๓.๕๐ น. หลวงพ่อนอ วัดท่าเรื่อ มีนิมิตรว่า มียักษ์ มีพรหมสี่หน้ามายืนถือกระบองบริกรรมจนยักษ์และพรหม หายไป และมีพระภิกษุ ตลอดจนชายหญิงจำนวนมากมาเดินวนเวียน ถือดอกไม้ธูปเทียนบูชาตลอด เวลา นอกจากนี้ในขณะที่เริ่มบริกรรมปลุกเศกนั้นนาฬิกาประจำโบสถ์ซึ่งเดินถูกต้อง เวลาได้หยุดนิ่งไปทันที เป็นที่ปลาบปลื้มปีติยินดีแก่ผู้ที่ไปพบเห็นเป็นอย่างมาก หนึ่ง พระรอดรุ่นนี้ มีผู้ที่ได้รับไปบูชามากหลายผู้ที่รับไปมีนิมิตรดีต่าง ๆ และรอดพ้นจากอันตรายอย่างมหัศจรรย์ก็มีมาก เหลือที่ข้าพเจ้าจะพรรณนามาในที่นี้ ทั้งนี้มิได้รวมถึงพลานิสงส์ที่ท่านได้มีส่วนร่วมในการสร้างพุทธสถานครั้งนี้ด้วย เฉพาะตัวข้าพเจ้าเอง นับแต่เมื่อเริ่มเข้ามารับตำแหน่งผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดเชียวใหม่ ในชั้นแรก เมื่อได้มาพบเห็นประชาชนในจังหวัดนี้มีจิตศรัทธา เชื่อมั่นในบวรพระพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัดแล้ว ก็ทำให้เบาใจในการที่จะปฎิบัติหน้าที่ปราบปรามผู้กระทำผิดกฏหมายและเห็นว่าเป็นจังหวัดเดียวเท่านั้นที่ประชาชนมีความเลื่อมใสในท่างพุทธศาสนามากและด้วยน้ำใจอันแท้จริง ไม่เอาพระพุทธศาสนาเป็นเครื่องบังหน้า เช่น ปากบอกว่ามีความเคารพนับถือแต่ใจไม่เอาด้วยอย่างนี้ที่เชียงใหม่ไม่ใคร่มี เมื่อครั้งที่ประชุมพุทธศาสนิกชนที่โรงตองตึง โดยท่านเจ้าคุณปัญญานันทภิกขุเป็นหัวหน้า เป็นกิจวัตรนั้น ข้าพเจ้าได้ไปร่วมฟังพระธรรมคำสอนเกือบทุกครั้งมีความตื้นตันใจที่ได้มาพบเห็นผู้ที่มีใจบุญกุศลอย่างนี้ และเมื่อมีท่านผู้มีใจศรัทธาริเริ่มก่อสร้างพุทธสถานขึ้น ข้าพเจ้าได้ร่วมมือด้วยตลอดมาจนบัดนี้ ไม่เคยลืมแม้จะโยกย้ายไปอยู่แห่งหนตำบลใด งานที่ติดตัวไปและที่ไม่เคยลืมก็คือ พุทสถานแห่งนี้ ใจจดใจจ่ออยู่อย่างนี้แม้ว่าในขณะนี้จะยังไม่แล้วเสร็จบริบูรณ์ ข้าพเจ้าก็มั่นใจว่าจะต้องสำเร็จเรียบร้อยภายในเวลาอันไม่ช้านี้ ทั้งนี้ก็ด้วยความร่วมมือของท่านพี่น้องชาวจังหวัดเชียงใหม่ทั้งหลายและพุทธศาสนิกชนทั่ว ๆ ไป ในอันที่จะให้พุทธสถานนี้เป็นถาวรวัตถุอยู่คู่กับนครเชียงใหม่ หรือ พิงค์นคร ตลอดไปชั่วกัลปวสาน สถานที่แห่งนี้ต่อไปจะเป็นสถานอันศักดิ์สัทธิ์ เพราะคำว่า พุทธะนั้น แปลว่าผู้รู้หรือผู้ตื่น คือไม่หลับ เป็นผู้เบิกบานคือไม่หุบ หรือไม่มืด และเมื่อสรุปแล้ว พุทธศนาก็คือ วิธีปฏิบัติเพื่อเอาตัวรอดจากความทุกข์ โดยการทำให้รู้ความจริงว่าอะไรเป็นอะไร แม้จะกล่าวถึงความจริงที่ลึกซึ้งเร้นลับ นอกเหนือไปกว่าคนธรรมดาจะเห็นได้ เช่นความรู้เรื่อง สุญตา เรื่อง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็เป็นเรื่องที่จะต้องเล่าเรียนศึกษากันมาก และสิ่งที่เรียกว่าพุทธศาสนาตัวแท้นั้นไม่ใช่หนังสือ ไม่ใช่คัมภีร์ ไม่ใช่เรื่องบอกเล่า ไม่ใช่หลักแห่งการคิดไปตามเหตุผล ตัวแท้ของพุทธศาสนา ต้องเป็นตัวการปฏิบัติ ด้วยกาย วาจาใจ ชนิดที่จะทำลายกิเลสให้ร่อยหรอ หรือ สิ้นสุดไปในที่สุด และสถานที่แห่งนี้จะเป็นสถานที่รับรู้สิ่งทั้งปวงดังกล่าวแล้ว และก็คงจะมีสถานอันศักดิ์สิทธิ์เพียงแห่งเดียว คือ ณ บริเวณวัดอุปคุตเชียงใหม่นี้เท่านั้น
|