พระผงสิงห์เกสรหลวงพ่อเกษม เขมโก ปี 2503 จัดสร้างถวายโดยเจ้าอาวาส วัดหัวข่วง จังหวัดลำปาง นับได้ว่าเป็นพระเครื่องรุ่นแรกๆที่หลวงพ่อเกษมอธิฐานจิตเอาไว้ การจัดสร้างมีเนื้อสีดำ น้าตาลเข้ม และสีขาว มีจำนวนการสร้างที่น้อยมากไม่มีการบันทึกเอาไว้ ส่วนใหญ่เนื้อจะรานและปริ งอตามธรรมชาติ พระเครื่องที่พิมพ์ได้ทั้งหมด ได้นำเข้าพิธีพุทธาภิเษกที่วัดหัวข่วง จังหวัดลำปาง เมื่อปี พ.ศ. 2503 โดยทางวัดหัวข่วงได้นิมนต์หลวงพ่อเกษม มาเป็นประธานในพิธีร่วมกับพระเกจิอาจารย์ทางภาคเหนือีกหลายท่าน เมื่อเสร็จพิธีแล้วทางคณะผู้จัดสร้าง จึงได้นำเอาพระเครื่องออกให้ประชาชนทำบุญ เพื่อนำเอาปัจจัยมาบูรณะซ่อมแซมถาวรวัตถุทางศาสนาในวัดหัวข่วง จนสำเร็จลุล่วงตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ในตอนแรกทุกประการ สมกับที่เป็นพระเครื่องที่จัดสร้างขึ้นโดยมีเจตนาดีที่เป็นการกุศลอย่างแท้จริง
ลักษณะของพระผงสิงห์เกสร ด้านหน้าเป็นรูปจำลองพระพุทธสิหิงค์ แต่เป็นปางนั่งขัดสมาธิเพชรบนฐานบัว มีฐานเป็นขาโต๊ะรองอีกทีหนึ่ง บนพระเศียรมีเส้นรัศมีแผ่กระจาย รายละเอียดส่วนต่างๆของร่างกายติดชัดเจน ส่วนด้านหลังเรียบ ฐานกว้างประมาณ 2 ซม. สูงประมาณ 3.3 ซม. หนาประมาณ 0.3-0.4 ซม. เนื้อหามวลสารออกสีดำ มีคราบไขผุดจากในเนื้อเป็นสีเหลืองอมน้ำตาล พระเครื่องทั่วองค์มีรอยแตกรานเล็กน้อย เพราะความชื้นในเนื้อพระระเหยออกไป
ผู้สร้างพระผงเกสร ได้พยายามที่จะสร้างพระเครื่องชุดนี้ให้ดีที่สุด จึงได้ตระเตรียมจัดหาวัสดุมวลสารที่มีความศักดิ์สิทธิ์ และเป็นมงคลหลายต่อหลายอย่างโดยเริ่มเตรียมการสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ.2500 ซึ่งมวลสารที่นำมาสร้างพระเครื่องนั้น ต้องใช้ความพยายามและอุตสาหะอย่างยิ่งยวดกว่าจะได้มาแต่ละสิ่ง แต่ทางคณะผู้จัดสร้างก็ได้ใช้ความพยายามหามาได้หลายอย่างเช่น ดินจากสังเวชนียสถานทั้งสี่แห่งจากประเทศอินเดีย ใบลานและสมุดข่อยที่จารึกพระธรรม คัมภีร์ พระพุทธมนต์ และตำราต่างๆที่ชำรุดแล้วใช้การไม่ได้ เอามาเผาและป่นให้ละเอียด ดอกไม้ธูปเทียนที่มีผู้นำไปกราบไหว้สักการะหลวงพ่อเกษม เพราะความเลื่อมใสศรัทธา ผงขี้ธูป ก้านธูป และดอกไม้แห้งที่หลวงพ่อเกษมท่านใช้จุดและบูชาขณะบำเพ็ญภาวนา ข้าวแห้งก้นบาตรของหลวงพ่อเกษมที่เหลือจากการฉันเอามาตากแห้งบดให้ละเอียด ผงพุทธคุณจากการนำเข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษกหลายวัด น้ำอ้อยเคี่ยว ยางไม้บางชนิด และที่สำคัญที่สุดก็คือ เส้นผมของหลวงพ่อเกษมที่ท่านได้ปลงผมไว้จำนวนหนึ่ง จะเห็นได้ว่ามวลสารที่เป็นส่วนผสมขององค์พระ ล้วนเป็นสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์และหาได้ยาก ทางคณะผู้สร้างต้องใช้เวลาในการเก็บรวบรวมมวลสารเหล่านี้ ถึงสามปีเต็มๆจึงได้ครบเพียงพอแก่ความต้องการ เมื่อได้มวลสารเพียงพอแล้วจึงได้เอามวลสารเหล่านั้นไปบดตำและร่อนแยกเป็นส่วนๆก่อนที่จะเอาคลุกเคล้าด้วยตัวประสาน เพื่อให้มวลสารยึดเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน จากนั้นจึงได้อาศัยพระภิกษุและสามเณรช่วยกันกดพิมพ์ การกดพิมพ์พระก็เป็นการกระทำกันในวัด อาศัยแรงงานจากพระภิกษุและสามเณร ทุกคนที่มาช่วยงานต่างก็ได้อุทิศทั้งแรงกายและแรงใจ เพื่อให้งานครั้งนี้เสร็จลุล่วงไปด้วยดี และเพื่อให้พระเครื่องที่สร้างมีความศักดิ์สิทธิ์สูง จำนวนพระเครื่องที่กดพิมพ์ได้เข้าใจว่ามีมากพอสมควร แต่ก็ไม่มากจนเกินไป เพราะกดพิมพ์เท่าที่จำนวนมวลสารที่มีอยู่ เมื่อมวลสารหมดก็หยุดพิมพ์ ไม่ได้มีการสร้างเสริมขึ้นมาใหม่ทีหลัง พระเครื่องที่พิมพ์ได้ทั้งหมด ได้นำเข้าพิธีพุทธาภิเษกที่วัดหัวข่วง จังหวัดลำปาง เมื่อปี พ.ศ. 2503 โดยนิมนต์หลวงพ่อเกษม มาเป็นประธานในพิธีร่วมกับพระเกจิอาจารย์ทางภาคเหนืออีกหลายท่าน เมื่อเสร็จพิธีแล้วทางคณะผู้จัดสร้าง จึงได้นำเอาพระเครื่องออกให้ประชาชนทำบุญ เพื่อนำเอาปัจจัยมาบูรณะซ่อมแซมถาวรวัตถุทางศาสนาในวัดหัวข่วง จนสำเร็จลุล่วงตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ในตอนแรกทุกประการ สมกับที่เป็นพระเครื่องที่จัดสร้างขึ้นโดยมีเจตนาดีเป็นการกุศลอย่างแท้จริง
มีเรื่องเล่าขานกันว่า ในขณะพิธีพุทธาภิเษกหลวงพ่อเกษม ร่วมพิธีปลุกเสก หรือสมัยก่อนเรียกว่าสวดเบิก คือเป็นการสวดทั้งวันทั้งคืน ขณะปลุกเสก(สวด) ฝนได้ตกลงมาทำให้บริเวณนั้นน้ำเอ่อท่วมในพิธี แต่หลวงพ่อเกษม ท่านไม่ได้ลุกหนีฝนหรือน้ำที่เอ่อในบริเวณนั้น (นั่งกับพื้น ส่วนพระรูปอื่นลุกหนีน้ำ) แต่หลวงพ่อเกษม ยังคงทำพิธีสวดต่อไปครับ....ถือว่าท่านปลุกเสกให้อย่างดีที่สุดและนานมากๆๆน่ะครับ ส่วนใหญ่ท่าจะปลุกเสกแปบเดียวหรือปลุกเสกแบบเป่าครับ..
|