เหรียญหลวงพ่อดับภัย วัดดับภัย 2518 เชียงใหม่ เนื้อทองแดง
จัดสร้างในปี พศ.2518 เกจิอาจารย์ในพิธีล้วนแล้วแต่มีชื่อเสียงและเป็นที่เลื่อมใสของประชาชนเป็นอย่างมาก เช่น
ครูบาคำแสน วัดป่าดอนมูล
หลวงปู่สิม วัดถ้ำผาปล่อง
อาจารย์เณรวิเศษณ์ สิงห์คำ เป็นต้น
จะเห็นได้ว่า เหรีญญดับภัยนอกจากมีความศักดิ์สิทธิ์ได้ในตัวเองตามองค์หลวงพ่อที่เป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดเชียงใหม่แล้ว ยิ่งผ่านพิธีปลุกเสก พุทธคุณ ยิ่งมากล้นเหลือประมาณ จึงไม่น่าที่จะมองข้าม แถมราคายังพอหาเก็บได้อย่างสบายๆ แบบนี้ไม่น่าสนใจหรือครับ เหรียญพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ คู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่ ครับ จัดสร้างเมื่อปี ๒๕๑๘ โดยมี หลวงปู่ครูบาคำแสน วัดสวนดอก เป็นองค์ประธานในพิธีปลุกเสก พร้อมทั้ง ลป.คำแสน วัดป่าดอนมูล ลป.สิม วัดถ้ำผาปล่อง อ.เณรวิเศษณ์ สิงห์คำ ซึ่งเมื่อเสร็จพิธีพุทธาพิเศกตอนใกล้รุ่งหลังจากที่ ครูบาคำแสน วัดสวนดอกได้ทำพิธีดับเทียนชัยแล้ว อ.เณร ซึ่งได้สั่งให้คณะกรรมการในการจัดสร้างได้ตั้งกระทะใบบัว ต้มน้ำมันมนต์ไว้รออยู่แล้ว ได้นำเอาเหรียญทั้งหมดลงคนในกระทะน้ำมันเดือดๆด้วยมือของท่าน แถมยังไม่พอ อ.เณรวิเศษณ์ สิงห์คำ ยังลงไปนั่งในกระทะน้ำมันเดือดๆอีกด้วย เรื่องนี้เป็นที่เล่าลือไปกันทั่วไปในสมัยนั้นครับ หลังจากนั้นจึงมีการทดสอบพุทธคุณของเหรียญ ลพ.ดับภัย โดยผู้ทดสอบคือ นาย.อุ่นเรือน แสงสว่าง ศิษย์ใกล้ชิดของครูบาคำแสน อินทจักรโก วัดสวนดอกซึ่งนายอุ่นเรือน ผู้นี้เองที่เป็นต้นตำหรับ พระคงองค์หนานเฮือน อันสะท้านทรวง ในการทดสอบหนานเฮือน ได้อมเหรียญไว้ในปากแล้วใช้มีดปลายแหลมแทงไปที่พุงอ้วนๆของแกแต่ปรากฏพุงของแกว่ามีแต่รอยจ้ำๆแดงๆเท่านั้นเองครับ พิธีมหาพุทธาภิเษก เหรียญหลวงพอดับภัย รุ่นแรก ปี ๒๕๑๘ ในปี พ.ศ.๒๕๑๘ พระอธิการบุญชม ปภสฺสโร เจ้าอาวาสวัดดับภัยพร้อมคณะกรรมการวัด ได้จัดสร้างเหรียญพระพุทธวัดดับภัย ขึ้นเพื่อนำรายได้ทั้งหมดสมทบทุนสร้างศาลาการเปรียญ
โดยสร้างเป็นหลายเนื้อจำแนกได้ดังนี้
๑.เนื้อทองคำ ตามสั่งจอง
๒.เนื้อเงิน ตามสั่งจอง
๓.เนื้อนวะโลหะแก่เงิน จำนวน ๙๙๙๙ เหรียญ
๔.เนื้อทองแดง ตามสั่งจอง
๕.เนื้อตะกั่วลองพิมพ์ จำนวน ๙ เหรียญ
ได้จัดพิธีมหาพุทธาภิเษก ในวันที่ ๑ - ๓ พฤษภาคม ๒๕๑๘ มีพระเกจิอาจารย์ร่วมพิธีมากมายเชอาทิ หลวงปู่คำแสน วัดสวนดอก หลวงปู่คำแสน วัดป่าดอนมูล หลวงปู่สิม วัดถ้ำผาปล่อง ครูบาคำปัน วัดหม้อคำตวง หลวงพ่อสนิท วัดช่างฆ้อง ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี อาจารย์เณรวิเศษณ์ สิงห์คำ วัดป่าสัก เป็นต้น
|