วัตถุมงคลที่ครูบาน้อย เตชปญฺโญ จัดสร้างขึ้นเป็นครั้งแรกตามประวัติของวัดศรีดอนมูลระบุไว้ว่าในปี พ. ศ. ๒๕๔๓ ได้มีการจัดสร้างวัตถุมงคลของครูบาน้อย รุ่น ๑ เป็นที่ระลึกในการอธิษฐานจิตเข้านิโรธกรรมปีที่ ๗ ระหว่างวันที่ ๑๑ – ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓ รวม ๙ วัน ๙ คืน วัตถุมงคลที่จัดสร้างในครั้งนี้ประกอบด้วยเหรียญรูปเหมือนครูบาน้อย รุ่น ๑ เป็นเหรียญกลมขนาดใหญ่และขนาดเล็ก จำนวนการจัดสร้างเนื้อทองคำ (น้ำหนัก ๒๒.๘ กรัม) สร้างจำนวน ๑๐๘ องค์ เนื้อเงินลงยาสีน้ำเงิน ลงยาสีแดง (กรรมการ) สร้างจำนวน ๔๙๙ เหรียญ เนื้อเงิน สร้างจำนวน ๔๙๙ เหรียญ เนื้อนวโลหะ สร้าง จำนวน ๑,๙๙๙ เหรียญ และเหรียญเนื้อทองแดงชุบทองไม่ผ่านนิกเกิล สร้างจำนวน ๙,๙๙๙ เหรียญเหรียญครูบาน้อยรุ่น ๑ มีลักษณะเป็นทรงกลม ด้านหน้าเป็นรูปครูบาน้อยครึ่งองค์ห่มจีวรคลุมไหล่สองข้างตามแบบพระสงฆ์ล้านนาไทย ด้านล่างของเหรียญเป็นอักษรภาษาไทยสองบรรทัด บรรทัดแรกเขียนว่า “พระครูสิริศีลสัววร” เป็นตัวหนังสือเขียนแบบลายมือชื่อหรือลายเซ็น บรรทัดต่อมาเป็นตัวหนังสือไทยอยู่ภายในวงเล็บ เขียนว่า (ครูบาน้อย) ด้านหลังเหรียญวงกลมรอบนอกล้อมรอบด้วยอักขระล้านนาหัวใจพระคาถาต่างๆ ประกอบด้วยหัวใจนวหรคุณ หัวใจพระไตรปิฎก หัวใจธาตุพระกรณี หัวใจพระเจ้าห้าพระองค์ หัวใจธาตุสี่ หัวใจพระสิวลี หัวใจคงกระพันชาตรีและพระคาถากระทู้เจ็ดแบก ต่อมาภายในวงกลมรอบในเป็นตัวหนังสืออักษรไทยอ่านว่า “วัดศรีดอนมูล ต.ชมภู อ.สารภี จงเชียงใหม่ ๒๕๔๓” แถวต่อมาเขียนว่า”ออกนิโรธกรรม ปีที่ ๗๑” ถัดไปเขียนว่า “รุ่น ๑” มีสัญลักษณ์เป็นรูปเครื่องอัฐบริขารและศาสนสถาน คือกุฎิสงฆ์ล้านนา ต่อด้วยตัวหนังสือไทยว่า “ร่มเย็นเป็นสุข” จุดที่สำคัญคือการตอกโค้ดด้านหน้าและจารอักขระทุกเหรียญ เฉพาะเหรียญทองคำและเหรียญเงินจะตอกเรียงหมายเลขไว้ทุกเหรียญ สำหรับเหรียญกลมเล็กจะมีองค์ประกอบด้านหน้าและด้านหลังเหมือนเหรียญกลมใหญ่ มีข้อแตกต่างตรงด้านหลังของเหรียญกลมเล็กจะมีตัวหนังสืออักษรภาษาไทยเขียนว่า “ทอดผ้าป่า ซื้อที่ดิน” ไม่มีคำว่า รุ่น ๑ เหรียญกลมเล็กสร้างเป็นเนื้อทองทองแดงชุบทองและเหรียญเนื้อทองแดง สำหรับแจกให้ผู้ร่วมทำบุญซื้อที่ดินขยายบริเวณหน้าวัดศรีดอนมูลใน พ. ศ.๑๕๔๓
วัตถุมงคลรุ่น ๑ พ. ศ.๒๕๔๓ อีกรายการหนึ่งได้แก่พระขุนแผนพระปรไมย์ไอยศวรสร้างด้วยผงพุทธคุณและผงไม้แก่นจันทร์โบราณที่มีความศักดิ์สิทธิ์ในตนเอง รูปแบบของพระขุนแผนพระปรไมย์ไอยศวร เป็นแบบขุนแผนทรง ๕ เหลี่ยม ด้านหน้าเป็นรูปพระปรไมย์ไอยศวรมหาเทพผู้ทรงฤทธิ์ยิ่งใหญ่ ประทับนั่งพระหัตถ์ถือบันได เหนือพระเศียรขึ้นไปบนพระเมาลีเป็นรูปพระพุทธองค์ประทับนั่งสมาธิ
โบราณาจารย์จะเรียกพระรูปแบบนี้ว่าพระพุทธเจ้าปางเล่นซ่อนหา เป็นตำนานมหาบารมีอันสุดยอดขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้ากับพระปรไมย์ไอยศวรเทพผู้ยิ่งใหญ่แห่งเขาไกรลาศ มีฤทธิ์อำนาจอันมหาศาล
ในจักรวาล ครูบาผัด ผุดสิตธมฺโม อดีตเจ้าอาวาสวัดศรีดอนมูล ผู้เป็นบูรพาจารย์ของครูบาน้อย เตชปญฺโญ
พบตำราโบราณเรื่องราวของพระปรไมย์ไอยศวร จึงได้สร้างรูปหล่อพระปรไมย์ไอยศวรขึ้นมาและทำมณฑปสำหรับประดิษฐานไว้บริเวณหน้าวัดศรีดอนมูล เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีผู้ไปกราบไหว้บูชาขอโชคลาภ และเมตตามหานิยม คุ้มครองป้องกันภยันตราย ด้านหลังของพระขุนแผนพระปรไมย์ศวร เป็นยันต์ครู จารึกด้วยพระคาถาเมตตามหานิยมอักขระล้านนา ประกอบด้วยยันต์พระอะระหัง หัวใจคงกระพันชาตรี หัวใจพระสิวลี หัวใจพระเจ้า ๕ พระองค์ หัวใจพระไตรปิฎก และหัวใจเมตตามหาเสน่ห์ ด้านล่างบรรจุตะกรุดทองคำ ๓ ดอก ตะกรุดเงิน ๓ ดอก ตะกรุดทองแดง ๓ ดอก จารด้วยลายมือเป็นหัวใจขุนแผน คือ สุ นะ โม โล จำนวนการจัดสร้างพระขุนแผนพระปรไมย์ไอยศวร บรรจุตะกรุดทองคำ ๓ ดอก จัดสร้างจำนวน ๑,๙๙๙ องค์ บรรจุตะกรุดเงิน ๓ ดอก จัดสร้างจำนวน ๔,๙๙๙ องค์ และบรรจุตะกรุดทองแดง ๓ ดอกจัดสร้างจำนวน๔,๙๙๙ องค์ อานุภาพของพระผงขุนแผนพระปรไมย์ไอยศวร มีประสบการณ์โดดเด่นด้วยฤทธิ์อำนาจศักดิ์สิทธิ์ของพระรัตนตรัยและมหาเทพผู้เรืองฤทธิ์ ตลอดทั้งพลังจิตตานุภาพ บุญฤทธิ์ อิทธิฤทธิ์ ของผู้อธิษฐานจิตปลุกเสกได้แก่ ครูบาผัด ผุสสิตธมฺโม และครูบาน้อย เตชปญฺโญ โดยครูบาน้อยได้นำเหรียญ รุ่น ๑ และพระขุนแผนพระปรไมย์ไอยศวร รุ่น ๑ เข้าปลุกเสกเดี่ยวในสถานปฏิบัติธรรมระหว่างเข้านิโรธกรรมปี ๒๕๔๓ ตลอดทั้ง ๙ วัน ๙ คืน หลังจากอธิษฐานจิตออกจากนิโรธกรรมแล้ว พระเกจิอาจารย์ พระเถระผู้ใหญ่ และพระสงฆ์จำนวน ๑๐๘ รูปได้เจริญจิตภาวนา เจริญพุทธมนต์ ประกอบพิธีสืบชะตาหลวงที่ถือว่าเป็นพิธีใหญ่มีความศักดิ์สิทธิ์มากเป็นที่เจริญศรัทธาของผู้เคารพนับถือ