|
คตแสง แย่งแก้ว ล้านนาโบราณ
มนุษย์เรามีความเชื่อถือในเรื่องพลังของแก้ว แต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ แก้วนิลสีน้ำตาลในพิพิธภัณฑ์ปารีส เคยถือว่าเป็นแก้วอัญมณี เครื่องโชคลางแห่งสก๊อตแลนด์ มีการสืบทอดแก้วที่ถือเป็นโชคลาง ระหว่างพระเจ้าชาร์ล เลอมัง จนถึงพระเจ้านโผเลียน จนถึงพระเจ้าหลุยส์นโปเลียนที่ 3
ความเชื่อเรื่อง คต~แย่ง~แสง~แก้ว อาณาจักรล้านนาโบราณ
จากสภาพทางภูมิศาสตร์ เกี่ยวกับสถานที่ตั้งของอาณาจักรล้านนาโบราณซึ่งถูกโอบล้อมไปด้วยป่าเขา ได้ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวพื้นเมืองเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีอัตราความเสี่ยงต่อภัยอันตรายที่อยู่รอบด้านค่อนข้างสูง ไม่ว่าจะเป็นภัยที่เกิดจากผลกระทบในการทำศึกสงคราม ภัยจากสัตว์ป่าน้อยใหญ่นานาชนิด อีกทั้งภัยที่เชื่อกันว่าเกิดจากอาถรรพ์ของภูติผีปีศาจและอาเพทต่างๆ จนนำไปสู่การแสวงหาสิ่งยึดเหนี่ยวทางใจ ซึ่งเป็นวัตถุที่มีความลี้ลับมหัศจรรย์อยู่ในตัวเอง สามารถคุ้มครองป้องกันภัยจากอาถรรพ์ร้ายและอันตรายต่างๆได้ เพราะเป็นของศักดิ์สิทธิ์ที่เกิดขึ้นมาจากการดลบันดาลของเทพยดาอารักษ์ ซึ่งได้แก่ วัตถุจำพวกเครื่องรางของขลังประเภทที่เป็นหินหรือแร่บางชนิด ที่เกิดขึ้นเองในพืชและสัตว์หรือที่เรียกกันว่า “คต” รวมทั้งแร่ธาตุศักดิ์สิทธิ์บางอย่างที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติซึ่งเรียกกันว่า “เป๊ก” และ “เหล็กไหล” เป็นต้น นอกจากของศักดิ์สิทธิ์ตามที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ คนสมัยโบราณ แก้วชนิดนี้ถือได้ว่าสูงค่ามาก ดั่งที่ว่า “มีค่าแสนคำ” เนื่องจากเป็นแก้วที่กษัตริย์โบราณถวายเป็นสักการะแก่พระบรมสารีริกธาตุในคราวบรรจุพระธาตุเจดีย์ต่าง ๆ
โดยชาวล้านนาโบราณ ได้นำมา บูชาติดบ้านเรือน หรือถักลวดเเขวนติดตัวเป็นเครื่องราง เชื่อถือกันว่า มีอานุภาพมาก สามารถคุ้มครองป้องกันภัยอันตรายให้กับผู้ที่ได้ครอบครองหรือสวมใส่อีกทั้งยังสามารถดลบันดาลให้เกิดโชคลาภ ความสุข ยศฐาบรรดาศักดิ์ เกียรติยศชื่อเสียง ตลอดจนทรัพย์สินเงินทองให้เพิ่มพูนมั่งคั่งยิ่งขึ้น อานุภาพของแก้วจะทำให้ผู้ที่ครอบครองมีเสน่ห์ต่อคนรอบข้าง และยังเชื่อถือกันว่าจะทำให้แคล้วคลาดจากอาถรรพ์เสน่ห์มายาทั้งปวง ของคนผู้นั้นจะถูกคุ้มครองโดยอานุภาพของแก้ว ไม่ให้โดนอำนาจมนต์มายาใดใดสะกดเอาไว้ได้
แสงโบราณล้านนา เครื่องรางสมัยตาทวด "คตแยงแสงแก้ว" เป็นเครื่องรางที่มาจากความเชื่อของชนชาวล้านนา
แก้วกับพิธีกรรม
การล้างแก้ว เชื่อกันว่าการล้างแก้วเป็นการชำระล้างสิ่งไม่ดีที่แก้วได้ซึมซับเอาไปจากตัวเรา โดยการนำแก้วไปล้างกับน้ำที่ไหล ซึ่งอาจจะเป็นลำธาร, ก๊อกน้ำ หรือน้ำที่รินออกจากแก้วก็ได้ (ล้างได้บ่อยเท่าที่มีโอกาส)
การขึ้นพานบูชาแก้ว จะกระทำกันในวันพระ โดยเฉพาะวันพระขึ้น 15 ค่ำ (วันเพ็ญ) โดยการนำเอาน้ำสะอาด 1 แก้ว, ดอกไม้หรือเครื่องหอม (น้ำอบ, แป้งหอม ฯลฯ) ใส่พาน และกำหนดจิตด้วย คาถาบูชาแก้ว (หากเป็น “แก้วเข้าแก้ว” ขอแนะนำให้หาหมากหนึ่งคำใส่พานด้วย)
แก้วอาบแสงจันทร์ การนำแก้วอาบแสงจันทร์ (วันเพ็ญ) เชื่อกันว่า แก้วจะดูดซับพลังจากแสงจันทร์ ซึ่งจะมีผลทำให้แก้วมีพลังอานุภาพมากยิ่งขึ้น และยังเป็นการทำให้แก้วนั้นบริสุทธิ์อีกด้วย (เป็นที่ทราบกันดีว่า ในทางวิทยาศาสตร์ระบุว่าดวงจันทร์มีพลังที่ส่งผลกระทบถึงโลก อันเป็นสาเหตุของน้ำขึ้น น้ำลง และอื่น ๆ)
การเข้าร่วมพิธีกรรม การนำแก้วเข้าร่วมพิธีกรรมต่าง ๆ ของพระภิกษุสงฆ์ เนื่องจากแก้วจะได้ซึมซับพลังจากการแผ่เมตตาจิตของพระภิกษุ
คาถาบูชาแก้ว
แก้วโป่งข่าม ข่ามคง, แคล้วคลาด (แก้วทุกชนิด) นะมะพะทะ นิมิพิทิ นุมุพุทุ
แก้วทุกชนิด นะอุกะอะ นะมะมะอะ มะอุมะนะ อะนะอะมะ อะอุอุมะ อุนะอุอะ
(เจริญด้วยทรัพย์สมบิติ ปราศจากโรคภัย)
พิรุณแสนห่า(หรือแก้วชนิดอื่น) พุทโธโมเธยยัง มุตโตโมเจยยัง ติณโณตาเรยยัง ปะสะหังปะตัง
หมอกมุงเมือง(หรือแก้วชนิดอื่น) เทวะรานะมานะ (ภาวนาให้เกิดความร่มเย็น)
แก้วทราย(หรือแก้วชนิดอื่น) สะมามิมิทธิมามิ (เจริญด้วยสมบัติ ร่ำรวยเงินทอง)
ตัวจริงเสียงจริง เก่าแท้ดูง่าย
สนใจสอบถามได้ครับ 0861936900
|
|