เหรียญอนุสรณ์มหาราช รัชกาลที่ ๙ เฉลิมพระชนม์พรรษาครบ ๓ รอบ ปี ๒๕๐๖ เหรียญอนุสรณ์มหาราชรัชการที่ 9 ครบ 3 รอบ ปี 2506 หรือที่คนชอบเรียกว่า เหรียญเสมา 3 รอบ รัชกาลที่ 9 เหรียญนี้เป็นเหรียญที่ระลึก ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระชนมายุครบ 3 รอบเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2506 เป็นเหรียญที่ได้ผ่านพิธีการปลุกเสกอย่างยิ่งใหญ่ ณ อุโบสถวัดราชบพิธ ถึง 2 วาระด้วยกัน โดยพระคณาจารย์ที่โด่งดังในยุคนั้น เช่น
-อาจารย์ทิม วัดช้างไห้
-หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม
-หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม
-พ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์
-หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก
-พระสุนทรศีลสมาจาร (หลวงพ่อผล) วัดหนัง
-หลวงพ่อทบ วัดสว่างอรุณ ชนแดนฯลฯ
พิธีปลุกเสกใหญ่ ณ อุโบสถวัดราชบพิธ 2 วาระด้วยกันคือ 1. ครั้งแรกวันที่ 29-30 พ.ย.2506
2. ระหว่างวันที่ 5-6-7 เมษายน 2507
พิธีครั้งที่ 1
-รายนามพระคณาจารย์ที่มาปลุกเสก วันที่ 29-30 พฤศจิกายน 2506 ณ พระอุโบสถวัดราชบพิธ
1. หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก อยุธยา
2. หลวงพ่อพระครูโพธิสารประสาธน์ วัดโพธิสัมพันธ์ บางละมุง ชลบุรี
3. หลวงพ่อพระวรพจรน์ปัญญาจารย์ วัดอรัญญิกาวาส ชลบุรี
4. หลวงพ่อเมือง วัดท่าแหน แม่ทะ ลำปาง
5. หลวงพ่อพระราชหระสิทธิคุณ วัดราชธานี สุโขทัย
6. หลวงพ่อเงิน (พระราชธรรมาภรณ์ )วัดดอนยายหอม นครปฐม
7. หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม นครปฐม
8. พ่อท่านคล้าย วัดสวนขวัญ ฉวาง นครศรีธรรมราช
9. พระครูวิสัยโสภณ (อาจารย์ทิม) วัดช้างไห้ ปัตตานี
พิธีครั้งที่ 2
-รายนามพระคณาจารย์ที่ปลุกเสกวันที่ 5 เมษายน 2507
1. พระสุเมธมุนี เจ้าคณะวัดบางหลวง ปทุมธานี
2. พระสุนทรศีลสมาจาร (หลวงพ่อผล) วัดหนัง ธนบุรี
3. พระครูปลัดบุญรอด วัดประดู่พัฒนาราม นครศรีธรรมราช
4. หลวงพ่อทบ วัดสว่างอรุณ ชนแดน เพชรบูรณ์
5. พระครูนนทกิจวิมล ( หลวงพ่อชื่น) วัดตำหนักเหนือ นนทบุรี
6. หลวงพ่อบัว วัดป่าบ้านตาด อุดรธานี
7. พระครูพุทธมนต์วราจารย์ (พระปลัดสุพจน์) วัดสุทัศน์ พระนคร
8. พระครูบวรธรรมกิจ (หลวงปู่เทียน) วัดโบสถ์เชียงราก ปทุมธานี
9. หลวงพ่อหอม วัดขากหมาก ระยอง -รายนามพระคณาจารย์ที่ปลุกเสกวันที่
6 เมษายน 2507 มีดังนี้
1. พระครูพิทักษ์วิการกิจ (หลวงพ่อสา) วัดราชนัดดา พระนคร
2. พระครูสถาพรพุทธมนต์(หลวงพ่อสำเนียง) วัดเวฬุวนาราม บางเลน นครปฐม
3. พระครูธรรมิตรนุรักษ์ วัดเขาหลัก ท่าศาลา นครศรีธรรมราช
4. พระครูรักขิตวันมุนี (หลวงพ่อถีร์) วัดป่าเลไลย์ สุพรรณบุรี
5. พระเทพสังวรวิมล (หลวงพ่อเจียง) วัดเจริญสุขาราม สมุทรสงคราม
6. หลวงพ่อสำเภา วัดหงส์รัตนาราม บางกอกใหญ่ ธนบุรี
7. พระครูบาวัง วัดบ้านเด่น จ.ตาก
8. พระมุจรินทร์โมลี (หลวงปู่ดำ) วัดมุจรินทร์ หนองจิก ปัตตานี
-รายนามพระคณาจารย์ที่อาราถนามาปลุกเสกวันที่ 7 เมษายน 2507
1. หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก บางไทร อยุธยา
2. พระครูโพธิสารประสาธน์ (อาจารย์บุญมี) วัดโพธิสัมพันธ์ ชลบุรี
3. พระวราพจน์ปัญญาจารย์ (หลวงพ่อวัดป่า) วัดอรัญญิกาวาส ชลบุรี
4. หลวงพ่อเมือง วัดท่าแหน แม่ทะ ลำปาง
5. พระราชประสิทธิคุณ (หลวงพ่อทิม) วัดราชธานี สุโขทัย
6. พระราชธรรมาภรณ์ (หลวงพ่อเงิน) วัดดอนยายหอม นครปฐม
7. หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม นครปฐม
8. พระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อเมี้ยน) วัดพระเชตุพน พระนคร
9. พระครูวิสัยโสภณ (อาจารย์ทิม) วัดช้างไห้ โคกโพธิ์ ปัตตานี
การเริ่มพิธีนั้น พระเจริญคาถาภารวาณจะ ตั้งแต่เวลา 15.00 น.ของแต่ละวัน พระคณาจารย์ทุกรูปจะผลัดเปลี่ยนกันนั่งปรกบริกรรมกันตลอดเวลา จนตลอดรุ่งของทุกวัน จนถึงเช้าตรู่วันที่ 8 เมษายน 2507 เวลา 6.00 น. พระอาจารย์ที่นั่งปรกวันที่สามทั้งหมดทุกรูปประชุมพร้อมกันปลุกเสกเงียบเป็น เวลา 30 นาทีพอครบเวลาตามที่กำหนด เจ้าหน้าที่ลั่นฆ้องชัย พราหมณ์ เป่าสังข์แกว่งบัณเฑาะว์ ปี่พาทย์ทำเพลง 3 ลา พระคณาจารย์ทุกรูปประพรมน้ำพุทธมนต์เหรียญเสมาทั้งหมดที่เข้าพิธีเสร็จแล้ว เจิม พระพิธีธรรมเจริญคาถาดับเทียนชัย สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ดับเทียนชัย พราหมณ์เริ่มพิธีเบิกแว่นเวียนเทียนสมโภชเป็นเสร็จการพิธี
นอกจากนี้ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี(สมเด็จย่า) ยังได้นำเหรียญมหาราชนี้ส่วนหนึ่งพระราชทานแก่ ตำรวจตระเวนชายแดนและคณะแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ใน พอ.สว.(แพทย์อาสาสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์) โดยด้านหลังเหรียญจะตอกอักษรพระปรมาภิไธยย่อว่า "สว"ไว้ด้วย ส่วนใหญ่จะอยู่ทางขวามือด้านหลัง
เหรียญที่สมเด็จย่า นำไปพระราชทานนี้ ได้ผ่านการอธิษฐานจิตจากพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร แห่งวัดอุดมสมพร อีกครั้งหนึ่ง ทำให้การเล่นหาแพงกว่าเหรียญที่ไม่มีคำว่า "สว"
เหรียญอนุสรณ์มหาราชนี้ ได้ผ่านพิธีพุทธาภิเษกมาแล้วที่วัดพระศรีศาสดาราม(วัดพระแก้ว)จากพระสงฆ์ผู้ทรงสมณศักดิ์ทำให้เหรียญมหาราชนี้ ปรากฏกฤษดาภินิหารด้านแคล้วคลาดจากภยันตรายอยู่เสมอๆ
|