รูปหล่อบูชาครูบาพรหมา วัดพระพุทธบาทตากผ้าปี 24 ขนาด 5 นิ้ว ลงบรอนเดิมๆ สวยมากครับ
พระสุพรหมยานเถร (พรหมา พฺรหฺมจกฺโก) หรือที่รู้จักกันดีในนาม “ครูบาพรหมา” หรือบ้างก็เรียก “ครูบาพรหมจักร” ท่านเปรียบดั่ง “เจ้าคุณนรแห่งล้านนา” ด้วยความมั่นคงในพระวินัย จริยาวัตรอันเรียบร้อยสงบเสงี่ยม เมตตาอันล้ำเลิศ ไม่ผิดพลาดไปจากพระธรรมแม้สักนิด อีกทั้งยังมีจิตที่ทรงฤทธิ์ ถึงขนาดเหยียบหินให้เป็นรอยเท้าได้ ถึงขนาดที่ครูบาเจ้าศรีวิชัยนักบุญแห่งล้านนาไท ยังต้องนัดขอดูตัวด้วยความชื่นชม และท่านยังเป็นอาจารย์ของครูบาชัยวงศาพัฒนาผู้มีฤทธิ์ยอดยิ่งอีกต่างหากด้วย
ประวัติ
วัยเด็ก
ท่านมีนามเดิมว่า พรหมา พิมสาร กำเนิดวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2441 ที่บ้านป่าแพ่ง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน เป็นบุตรของ นายเป็งกับนางบัวถา พิมสาร มีพี่น้องร่วมกัน 13 คนท่านครูบาพรหมมาได้เรียนหนังสืออักษรลานนาและไทยกลางที่บ้านจากพี่ชายที่ได้บวชเรียน
บรรพชาและอุปสมบท
ครูบาเจ้าบรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ 15 ปี เมื่อวันจันทร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2455 เวลา 15.00 น. ณ วัดป่าเหียง ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง มีเจ้าอธิการแก้ว ขัตติโย เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านได้หมั่นศึกษาเล่าเรียน ปฎบัติธรรม และประพฤติในศีลาจารวัตรอย่างเคร่งครัด
ท่านอุปสมบทเมื่ออายุได้ 20 ปี ที่วัดเดิมเมื่อวันที่ 16 ม.ค. พ.ศ. 2461 เจ้าอธิการแก้ว ขัตติโย (ครูบาขัตติยะ) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ฮอน โพธิโก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์สม สุวินโท เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “พรหมจักโก” กระทั่งพรรษาที่ 4 ท่านได้เริ่มต้น เข้าสู่วิถีแห่งการปฏิบัติธรรมอย่างเอาจริงเอาจัง ท่านได้ออกธุดงค์ไปตามป่าเขาต่างๆ ทั้งเขตประเทศไทย พม่า และลาว กระทั่งในปีพ.ศ.2491 ท่านจึงได้มาจำพรรษา ณ วัดพระพุทธบาทตากผ้า และได้พัฒนาวัดจนมีชื่อเสียงเป็นศาสนสถานที่มีความสำคัญทางศาสนาแห่งหนึ่งของจังหวัดลำพูน และด้วยการสั่งสมบุญบารมี คุณงามความดีของท่านนี้เองทำให้ ท่านได้รับความเคารพศรัทธาจากพุทธบริษัทโดยทั่วไป
ละสังขาร
ครูบาเจ้าพรหมาได้ดับขันธ์ (มรณภาพ) ในท่านั่งสมาธิภาวนา เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2527 เวลา 06.00 น.อายุ 87 ปี 67 พรรษา คณะศิษยานุศิษย์ได้ตั้งศพบำเพ็ญกุศลเป็นเวลา 3 ปี ได้รับพระราชทานเพลิงศพ วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2531 ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จมาพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงครูบาเจ้าพรหมาด้วยพระองค์เอง หลังจากพระราชทานเพลิงเสร็จสิ้นแล้วได้เก็บอัฐิ ปรากฏว่าอัฐิของครูบาเจ้าพรหมาได้กลายเป็นพระธาตุ มีวรรณะสีต่างๆ หลายสี
คำสอน
ครูบาพรหมาท่านได้แสดงธรรมโอวาทไว้มากมาย
“การทำบาปหรือการทำบุญ จะทำในที่ลับหรือในที่แจ้ง หรือใครไม่รู้ไม่เห็น ก็ตัวของเรา ใจของเรารู้เห็นเอง เมื่อเป็นเช่นนี้ก็กล่าวได้ว่าที่ลับไม่มีในโลกนี้ แม้ว่าจะลับตาลับหูคนอื่น แต่เราก็รู้ เราก็เห็นคนเดียว”
“ทุกๆคน จึงควรรีบขวนขวาย ซึ่งความงามความดี ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เป็นเด็กก็อย่าได้เกียจคร้านในการเรียนหนังสือ จงตั้งจิตตั้งใจศึกษาเล่าเรียน ให้มีความรู้ความเฉลียวฉลาดความสามารถ เป็นผู้ใหญ่แล้วก็จงตั้งตัวตั้งตนให้ดี ให้มีความขยัน มีความประหยัด ให้คบแต่คนดี ให้รู้จักประมาณในการใช้จ่าย ถ้าเป็นผู้เฒ่าผู้แก่แล้ว ก็เตรียมตัวเพื่อคุณงามวามดีให้ยิ่งๆกว่าเด็กและคนหนุ่มทั้งหลาย”
“คนเราทุกคนมีความปรารถนาดี ปรารถนาหาความสุข ความปรารถนาหาที่ผึ่งในวัฏฏะสงสาร ท่านเปรียบเหมือนเราที่ตกอยู่ในกลางทะเลอันเวิ้งว้างกว้างไกลทุกคนก็มีความใฝ่ฝันหาที่ผึ่ง เพื่อที่จะได้อาศัยพักพิงไปยังฝั่งเบื้องหน้า”
คำไหว้บูชาพระธาตุของครูบาพรหมา พรหมจักโก
อะหัง วันทามิ พรหมจักกะธาตุโย อะหัง วันทามิ สัพพะโส ฯ
ลงปรอรชนทองสวยเดิมๆไม่ผ่านการใช้ครับ
สนใจสอบถามได้ครับ0861936900
|